ข้อคิดการตัดสินใจเลือกซื้ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

ตามที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีผู้ผลิตและจำหน่ายป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) อยู่มากมาย แต่มิได้หมายความว่า ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น จะมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้งานหลายรายจะพบปัญหาว่า ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) แต่ละอัน ได้ระยะการอ่านที่ไม่เท่ากัน ปัญหาข้างต้นทำให้ผู้ใช้งานไม่มีความมั่นใจในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID System) ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้รายละเอียดและความเข้าใจเกี่ยวกับป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)

การผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) จะประกอบด้วบริษัทดังต่อไปนี้ คือ

1) ผู้ผลิต IC (Integrated Circuit)
2) ผู้ผลิต RFID Inlay
3) ผู้ผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)
4) ตัวจำหน่ายป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)

ต้นทุนของการทำแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดี ในขั้นตอนสามารถแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้

ICราคาประมาณ USD 0.029-0.04
แผ่นฟิล์มราคาประมาณ USD 0.01
ขั้นตอนการติด IC ลงบนแผ่นฟิล์มราคาประมาณ USD 0.012
เสาอากาศราคาประมาณ USD 0.01-0.052 (ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำเสาอากาศ)
กาวราคาประมาณ USD 0.25
การทำเคลือบ (Coating)ราคาประมาณ USD 0.01
การตรวจสอบคุณภาพราคาประมาณ USD 0.01-0.02
ค่าเครื่องจักรและแรงงานโดย ปกติค่าใช้จ่ายนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ และจ่ายครั้งเดียวเช่น การซื้อเครื่องจักร หรือการจ้างงาน เมื่อทำการประมาณต่อ Tag จะประมาณ USD 0.01-0.02
ต้นทุนของแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดีUSD 0.07-0.1875 ขึ้นอยู่กับปริมาณในการซื้อ

           · ผู้ผลิต IC ชิป

ปัจจัยหลักของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) คือ IC ชิป ที่มีขนาดเล็กอยู่บริเวณตรงกลางของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) IC ชิปนี้ทำมาจากแผ่นซิลิคอน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 นิ้ว โดยแผ่นซิลิคอนหนึ่งแผ่นจะมีราคาประมาณ USD 1200 – USD 1500 ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำ และส่วนต่อเชื่อมกับเสาอากาศ เป็นต้น

จาก แผ่นซิลิคอนหนึ่งแผ่น จะต้องตัดเป็น IC ขนาดเล็ก ๆ เนื่องจากแผ่นซิลิคอนจะมีขนาดเท่ากัน ดังนั้นราคาของ IC ชิป จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิต IC ชิป ว่าสามารถตัดแผ่นซิลิคอนหนึ่งแผ่นได้จำนวน IC ชิปจำนวนเท่าไร โดยปกติหลังจากที่ตัดแผ่นซิลิคอนเป็น IC ชิปขนาดเล็ก ๆ ราคาของ IC แต่ละชิ้นจะมีราคาประมาณ 0.029-0.04

          · ผู้ผลิต RFID Inlay

ขั้นตอนต่อไปคือ การทำ RFID Inlay โดยการต่อเชื่อม IC ชิปดังกล่าว กับเสาอากาศ เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมาก หาก IC อยู่ห่างจากเสาอากาศเพียง 1 มิลลิเมตร ก็มีผลทำให้การอ่านไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขั้นแรก ผู้ผลิตจะทำการเตรียมแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ติด IC และเสาอากาศ แผ่นฟิล์มดังกล่าวต้องมีความทนทานเพียงพอ ต่อการนำ RFID Inlay ดังกล่าวไปทำการขึ้นรูปเป็นป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ในอันดับต่อไป นอกเหนือจากความคงทน ในการเลือกวัสดุเพื่อทำเป็นแผ่นฟิล์มนั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากวัสดุบางประเภทเช่น โพลีเอสเตอร์บางชนิด จะมีผลต่อไฟฟ้าสถิตซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้งาน

นอกเหนือจากวัสดุที่ ใช้ทำแผ่นฟิล์มดังกล่าว ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) คือ เสาอากาศ องค์ประกอบของเสาอากาศที่มีผลต่อการอ่านมีได้แก่ การออกแบบเสาอากาศ และวัสดุที่ใช้ทำเสาอากาศ การออกแบบเสาอากาศนั้นเป็นความสามารถเฉพาะของบริษัท ดังนั้นเสาอากาศแต่ละแบบย่อมให้ผลการอ่านที่แตกต่างกัน สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำเสาอากาศก็ให้ผลในการอ่านที่แตกต่างกันเช่นกัน วัสดุหลักที่ใช้ในการทำป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ได้แก่

1) อลูมิเนียม มีราคาถูกที่สุด แต่คุณภาพการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง
2) ทองแดง มีราคาแพงที่สุด แต่อาจจะเกิดปัญหาออกไซด์บนลวดทองแดงได้
3) หมึกซิลเวอร์ มีราคาในระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับวัสดุทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้น

ต้นทุนของการทำแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดี ในขั้นตอนสามารถแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้

 ผู้ผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)

ผู้ผลิตในขั้นนี้ จะเป็นผู้นำแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดีที่ได้รับในขั้นต่อก่อนหน้านั้น มาทำการแปรรูปเป็นป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ที่พร้อมใช้งาน ซึ่งสามารถเป็นได้หลายรูปแบบ ได้แก่

o ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Smart Label) โดยปกติจะมาเป็นม้วน ราคาซื้อขายของป้ายอาร์เอฟไอดีประเภทนี้จะประมาณ USD 0.095 – USD 0.255
o อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีลักษณะทนทาน อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้ จะใช้งานภายนอกที่ต้องการความทนทาน เช่น ใช้งานติดกับคอนเทนเนอร์ หรือต้องติดกับพื้นผิวที่เป็นโลหะ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงประมาณ USD 0.75-3.50 ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ทำ และความทนทานที่ต้องการใช้งาน
o บัตรอาร์เอฟไอดี (RFID card) โดยปกติแล้วบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card) ประเภทจะใช้เพื่อการชำระเงิน เช่นการชำระค่าเดินทาง เป็นต้น ราคาของบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card) ประเภทนี้ ประมาณ USD 0.35-1.50
o รูปแบบพิเศษอื่น ๆ เช่น การนำฟิล์มอาร์เอฟไอดีรวมเข้าไปในหนังสือเดินทาง ต่างประเทศ

ขั้น ตอนการทำป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ประเภทนี้ จะนำแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดี (RFID Inlay) จากม้วนมาอยู่ตรงกลางของวัสดุที่เราต้องจะขึ้นรูป เช่นบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID card) แผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดี (RFID Inlay) จะอยู่ตรงกลางโดยจะเคลือบด้วยพลาสติก PVC ทำขึ้นรูปเป็นบัตรอาร์เอฟไอดี ที่เป็น PVC Card


ต้นทุนของการทำป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Tag)สามารถแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้

ต้นทุนของแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดีUSD 0.07-0.1875
Backing หรือ Linerแผ่นฟิล์มที่ได้รับจะวางบน Liner โดยต้นทุนในขั้นตอนนี้ประมาณ USD 0.01
Facestockพื้นผิวป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Tag) อาจจะเป็นกระดาษขาว แผ่นโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น โดยราคาจะประมาณ USD 0.005-0.02
กาว (Adhesive)ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ USD 0.025
การตรวจสอบคุณภาพค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้ประมาณ USD 0.005-0.03
แกนกลางของม้วนโดยปกติป้ายอาร์เอฟไอดีจะทำการบรรจุเป็นม้วน โดยจะมีกระดาษแข็งเป็นแกนกลางของม้วน ปกติค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ USD 0.05-0.01
ค่าแรงและเครื่องจักรค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้ประมาณ USD 0.005-0.02
ต้นทุนของป้ายอาร์เอฟไอดีUSD 0.095-0.255 รวมถึง margin ของผู้ผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะทำการซื้อป้ายอาร์เอฟไอดี
คำถามหลักที่ควรจะทราบก่อนที่จะทำการสั่งซื้อป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ได้แก่

· ขนาดของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ที่ต้องการ
· ระยะการอ่านที่ต้องการ
· จำนวนป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ที่ต้องการอ่านในแต่ละครั้งมีจำนวนเท่าใด และต้องอ่านนานแค่ไหน
· พื้นผิวที่จะติดป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) เป็นวัสดุอะไร เช่น โลหะ หรือไม้
· พื้นผิวที่จะติดป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) มีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวเรียบ หรือโค้ง
· ลักษณะการติดจะเป็นการติดแบบชั่วคราว หรือถาวร
· จำเป็นต้องมีประเด็นระบบความปลอดภัย (security) เช่น เมื่อ Tag ถูกถอดออก จะต้องมีลบข้อมูลหรือทำให้ Tag หยุดทำงานหรือไม่
· จำเป็นต้องมีการพิมพ์ข้อความใดใดบน Tag หรือไม่
· สภาพแวดล้อมการใช้งาน อุณหภูมิ ความชื้น เป็นอย่างไร

สรุป

บท ความข้างต้น จะช่วยให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในการผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ควรคำนึงถึงในการตัดสินใจซื้อป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) การตัดสินใจซื้อป้ายอาร์เอฟไอดี ด้วยปัจจัยด้านราคาเพียงอย่างเดียว อาจจะแนวทางที่ถูกต้องนัก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย ปัจจัยดังกล่าวได้แก่

· การออกแบบเสาอากาศ
· วัสดุที่ใช้ทำเสาอากาศ
· การต่อเชื่อมเสาอากาศกับ IC ชิป
· ความสนองในการสนองของ IC ชิป
· คุณภาพของกาวที่ใช้ในการป้ายอาร์เอฟไอดี

Source: 2011 Passive UHF RFID Tags & Smart Label Buyer’s Guide by Louis Sirico & Mark Daveport

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *