คลื่นวิทยุมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. Low Frequency (LF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 30 Khz  ถึง 300 Khz.  ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะใช้คลื่น 125 KHz ถึง 134 KHz  ความสามารถในการส่งข้อมูลในคลื่นนี้ค่อนข้างช้า  แต่สามารถใช้งานได้ดีในวัสดุที่เป็นของเหลว  หรือโลหะ  จะเห็นได้จากตารางข้างต้น  วัสดุที่เป็นโลหะ หรือน้ำจะมีลักษณะเป็น   RF-friendly ต่อคลื่นความถี่นี้

2. High Frequency (HF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  ความถี่  13.56 Mhzจะเป็นความถี่ที่มีการใช้งานมากทีสุดในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)   เหมือนเช่นกับความถี่ LF ความถี่นี้จะใช้กับ  Passive tag  เป็นส่วนมาก  ความถี่นี้ใช้งานได้ปานกลางในวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว  และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล  เพราะความถี่นี้ไม่รบกวนอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

3. Ultra High Frequency (UHF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  300 MHz ถึง 1 GHz.  โดยปกตินี้ความถี่ที่นิยมจะใช้ในความถี่ช่วงนี้คือ 915 MHz ในอเมริกา  และ 868 MHz ในยุโรป  ส่วนประเทศไทยความถี่ที่อนุญาตให้ใช้คือ  920-925 Mhz  

ความถี่ในช่วงนี้สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ค่อนข้างเร็ว  แต่จะใช้งานไม่ดีในวัสดุที่เป็นโลหะ และของเหลว  (ยกเว้น Active RFID)  อย่างไรก็ตาม  ความถี่นี้ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย  เพราะว่ามีหลายหน่วยงานนำคลื่นความถี่มาใช้  หรือบังคับให้นำความถี่นี้มาใช้งาน   เช่น  กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา

4. Microwave Frequency

ความถี่นี้คือความถี่ที่สูงกว่า 1 GHzขึ้นไป  ช่วงความถี่ที่นิยมนำมาใช้ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) คือ 2.45 GHz และ 5.8 GHz  แต่ความถี่ 2.45 GHzจะได้รับความนิยมมากว่า  ความถี่นี้สามารถนำมาใช้ทั้ง   Passive RFID Tag และ Active RFID Tagความถี่นี้สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว  แต่ทำงานได้แย่มากเมื่อไปใช้กับวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว

โดยสรุป  ลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติของคลื่นความถี่แต่ละประเภทสามารถที่จะสรุปได้ดังตารางด้านล้างนี้

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *