จุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technoogy)

จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)

เมื่อมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองต่างก็มีจุดเด่นของตนเอง  ในกรณีของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) นั้น  จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถที่จะแบ่งได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้

o         การไม่ต้องสัมผัส (Contactless)

ลักษณะพื้นฐานอันหนึ่งของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) คือการที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลได้  ด้วยจุดเด่นนี้   ทำให้เทคโนโลยีนี้มีข้อได้เปรียบหลายประการ  ได้แก่

oเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่มีการสึกหรอ  เนื่องจากไม่มีการสัมผัสระหว่างระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ดังนั้นการสึกหรอของอุปกรณ์ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสจะไม่เกิดขึ้น

oความเร็วในการทำงานไม่ลดลง  ในการทำงานปัจจุบันจะเห็นได้ว่า  หากใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการสัมผัส  บ่อยครั้งที่ทำให้กระบวนการทำงานช้าลง   ตัวอย่างเช่น การทำงานบนสายพาน  ซึ่งอุปกรณ์  หรือสินค้ามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด  การอ่านหรือบันทึกข้อมูลโดยการสัมผัสไม่สามารถที่จะเป็นไปได้

oความสามารถในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พร้อมกันหลายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในเวลาเดียวกัน  ทำให้การทำงานในลักษณะที่เป็นอัตโนมัติสามารถที่จะปฏิบัติได้ง่าย  ในทางตรงกันข้ามหากใช้เทคโนโลยีแบบสัมผัสในการอ่านและบันทึกข้อมูล  การที่จะต้องอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หลายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พร้อมกันไม่สามารถที่จะเป็นไปได้

o         ความสามารถในการบันทึกข้อมูล (Writable)

ในปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  100,000  ครั้งหรือมากกว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงของตัวเอง  เช่น  การใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้  ได้แก่ ระบบบัตรอาหาร  ในบางกรณีจะเลือกใช้การบันทึกข้อมูลแทนที่จะใช้ระบบเดินสายสัญญาณ ทุกครั้งที่นำบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card)  ไปซื้ออาหาร  มูลค่าล่าสุดที่เหลืออยู่ก็จะถูกบันทึกลงไปในบัตร  อย่างไรก็ตาม  ในการใช้งานที่ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลลงไปในบัตรก็มีข้อจำกัดอยู่ในหลายประเด็น  ได้แก่

oความคุ้มทุนในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่  เนื่องจากการนำกลับมาใช้ใหม่  จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการเพิ่มเติมขึ้นมา  นั้นคือ การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่   ในการจัดเก็บอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เหล่านี้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่  อาจจะต้องใช้กำลังคนมาก  ซึ่งอาจจะทำให้ไม่คุ้มทุน

oความปลอดภัย  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบมาควบคุมการบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เพื่อที่จะเป็นการป้องกันว่า  ไม่ได้มีการลักลอบการเขียนข้อมูลใหม่ทับลงไปใน  โดยเฉพาะการนำมาใช้ในลักษณะ  E Payment  นอกเหนือจากนั้นทางบริษัทยังจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีข้อมูลสำคัญ  ถูกส่งออกไปนอกหน่วยงานของตน

oการทำงานที่ใช้เวลามากขึ้น  การบันทึกข้อมูลลงในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะใช้เวลามากกว่าการอ่านข้อมูล  ดังนั้นเมื่อการทำงานจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag)  การทำงานต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการทำงานที่อาศัยการอ่านเพียงอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม  ในการทำงานบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการบันทึกข้อมูล  ตัวอย่างเช่น  การตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการบรรจุยาลงไปในขวด  ในขั้นแรกขวดเหล่านั้นจะติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ สามารถบันทึกข้อมูลได้  ก่อนที่จะนำขวดเหล่านี้มาใช้งาน  ขวดเหล่านี้  ก็จะต้องทำการทำความสะอาดก่อน  ในการทำความสะอาด  ขวดดังกล่าวก็จะทำการล้างด้วยน้ำร้อน  ต่อจากนั้นผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ  และทำให้แห้ง  นอกจากนั้นยังจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก่อนที่จะนำขวดดังกล่าวไปบรรจุยา  จากกระบวนข้างต้นที่ระบุมา ดังนั้นทุกขั้นตอนที่ขวดเหล่านั้นมาใช้บรรจุยา  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เพื่อเป็นการควบคุมกระบวนการทำงานว่า  ขวดหรือบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดครบทุกขั้นตอน   

o         ความสามารถในการอ่านโดยไม่ต้องเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก  RFID Tag

ความสามารถนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้ถึงแม้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะติดอยู่ภายในตัวสินค้า  (หากสินค้าไม่ประกอบด้วยวัสดุที่ดูดซับคลื่นวิทยุ)  ตัวอย่างเช่น  หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   อยู่ในกล่องกระดาษ  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านทะลุกล่องเข้าไปได้   ด้วยความสามารถนี้  ทำให้ การตรวจสอบสินค้าทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดกล่องสินค้า   

จากความสามารถประการนี้  ทำให้มีการกังวลว่า  ความลับส่วนบุคคล  ในกรณีที่บุคคลนั้น  มีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ในตัว  และถูกอ่านโดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบไม่รู้ตัว  อย่างไรก็ตามจากการที่กล่าวในขั้นต้น  การที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีข้อจำกัดมีทางด้านเทคโนโลยีอยู่หลายประการ  ตัวอย่างเช่น  การอ่านบางครั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จำเป็นต้องเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หรือ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ต้องอยู่ในมุมที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านได้  สภาพแวดล้อมที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เหมาะสมต่อการใช้งาน ไม่อยู่บนพื้นผิวที่ดูดซับคลื่นวิทยุ   เช่น โลหะ  จากข้อจำกัดที่กล่าวมาข้างต้น  ดังนั้น  ข้อกังวลที่ว่า  จะถูกอ่านโดยไม่รู้ตัวนั้น  จึงเป็นไปได้ยาก

นอกจากนั้น  ในปัจจุบัน  มีการพัฒนาเครื่องอ่านอาร์เอฟอดี (RFID Reader) ที่จะส่งคำสั่งลงไปเพื่อให้อาร์เอฟอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้นไม่สามารถที่จะใช้งานได้อีก  เรียกว่า   Kill Command  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกอ่านโดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เหล่านั้นจะไม่สามารถนำกลับใช้ได้อีก  วิธีการนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะแก้ปัญหาเรื่องความลับส่วนบุคคล

o         ความหลากหลายในระยะการอ่าน

จากที่กล่าวมาข้างต้น  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มีคลื่นความถี่อยู่หลายช่วง  และแต่ละช่วงความถี่ก็มีระยะการอ่านที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คลื่นความถี่ต่ำ (LF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะไม่กี่เซนติเมตร  ในขณะที่คลื่นความถี่สูง (HF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะ 3 ฟุต  หากกล่าวถึงคลื่น UHF ระยะการอ่านก็ยิ่งไกลมากขึ้น  คือ สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ไกลถึง 300 ฟุต  ยิ่งไปกว่านั้นหากกล่าวถึง  Active RFID Tag ระยะการอ่านยิ่งไกลไปกว่านั้น

จากการที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) นี้มีระยะการอ่านที่หลากหลาย  ทำให้สามารถนำนำไปใช้ได้หลากหลาย  ตัวอย่างเช่น คลื่นความถี่ LF เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะการระบุบุคคล (Personnel identification)  หรือในกิจกรรมปศุสัตว์  หากเป็นคลื่นความถี่  HF ก็จะมีการนำมาใช้ในด้านการชำระเงินอัตโนมัติ (Electronic payment)   หรือลักษณะ Smart Shelf   ถ้าเป็นคลื่นความถี่  UHF ก็นำมาใช้งานในลักษณะการบริหารคลังสินค้า  เป็นต้น

o         ความสามารถในการบรรจุข้อมูลที่หลากหลาย

โดยปกติ  Passive RFID Tag  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้จำนวนหนึ่ง  ซึ่งเริ่มจากไม่กี่ตัวอักษรจนไปถึงจำนวนหลายพันตัวอักษร  อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน  มี Passive Tag  บางประเภทสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่านั้น   เช่น  Passive Tag  ของ  Maxell สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้มากถึง  4K bytes

เมื่อกล่าวถึงระบบการจัดการบรรจุข้อมูล   ในทางปฏิบัตินั้นมีสองลักษณะคือ 

1.                ลักษณะแรกคือการบันทึกข้อมูลเฉพาะรหัสไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ซึ่งรหัสนี้จะมีหน้าที่เฉพาะการชี้เฉพาะสำหรับวัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้น 

2.                ลักษณะที่สองคือการบันทึกทั้งรหัส  และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของวัสดุนั้น ๆ  ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

วิธีการจัดสรรระบบความจำของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการทำงานที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  การจัดการแบบสองที่เลือกบันทึกข้อมูลบางส่วนไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะเป็นประโยชน์เมื่อโครงสร้างการทำงานทั้งระบบนั้นมิได้เป็นระบบ  On line  ทั้งหมด  ทำให้การใช้งานในบางส่วนนั้น  ไม่สามารถที่จะเข้าถึงฐานข้อมูลได้  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบันทึกข้อมูลบางส่วนไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในทางตรงกันข้าม  เช่น  การใช้งานในระบบ  E-payment  ในบางกรณี  หากโครงสร้างของระบบเครือข่าย  สามารถที่จะเข้าถึงกันได้อย่างทั่วถึง  การเชื่อมโยงข้อมูลโดยการอาศัยรหัสของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ก็มีความเหมาะสมมากกว่า

นอกเหนือความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งานแล้ว  ข้อดีและข้อด้อยของระบบการจัดการหน่วยความจำในแต่ละประเภทก็แตกต่างกัน   ในกรณีที่จะบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบความปลอดภัย  เพื่อจะเป็นการป้องกันมิให้มีการบันทึกอื่น ๆ ทับลงไปในข้อมูลเดิมที่บันทึกไว้ก่อนหน้านั้น  ซึ่งอาจจะเป็นการบันทึกซ้ำโดยมิได้ตั้งใจก็ได้

o         ความสามารถในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้พร้อมกัน

จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์เอฟไอดี  (RFID) คือ  ความสามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้มากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน  เมื่อมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มากกว่าหนึ่งเข้ามาอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่าน (RFID Reader) อ่านข้อมูลได้  ตัวอย่างเช่น  ในการชำระเงินค่าซื้อสินค้าต่าง ๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตยังจำเป็นต้องอ่านบาร์โค้ดทีละรายการ  หากมีการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้  การชำระเงินในลักษณะในการซื้อในลักษณะนี้จะหายไป  เพียงแค่นำสินค้าที่มีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เข้ามาอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อ่านข้อมูลได้  รายการสินค้าทั้งหมดก็จะปรากฏขึ้นมาทันที  นอกเหนือจากการนำมาใช้ในการชำระเงิน   หากนำความสามารถนี้มาใช้ในการนำสินค้าเข้าหรือออกโกดัง   จะทำให้การตรวจรับสินค้าเข้าและออกโกดังได้รวดเร็วมากขึ้น  ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องอ่านบาร์เโค้ดมาอ่านสินค้าทีละกล่อง

o         ความทนทาน

โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะมีความทนทานต่อความชื้น  และความร้อนมากกว่าบาร์โค้ด  จึงมีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มาใช้งานแทนบาร์โค้ดในงานบางส่วน  ตัวอย่างเช่น  การใช้ในห้องเย็น  เป็นต้น  นอกจากนั้น  Passive RFID tag  บางประเภทยังสามารถที่จะทนต่อสารเคมี และอุณหภูมิสูงได้อีกด้วย  จากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น  ทำให้ Passive RFID Tag  สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บาร์โค้ดไม่สามารถทำงานได้  เช่น  การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในห้องอบสีรถยนต์  เป็นต้น

o         ความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น

คุณสมบัตินี้จะเป็นจุดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Active RFID Tag เนื่องจากว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้มีระบบวงจรอิเลทรอนิคส์ และแบตตอรี่อยู่ในตัว  ทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้สามารถที่จะทำงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น  ตัวอย่างเช่น  การบันทึกความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้   จึงมีการนำ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้มาใช้ในการขนส่งอาหาร  เพื่อดูว่า อุณหภูมิระหว่างการขนส่งมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่   หากมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่อคุณภาพของอาหารระหว่างการขนส่ง  หรือการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้ไปติดกับสินค้าราคาแพง  หากมีใครต้องการขโมย  และทำการถอดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นี้ออก  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อมูลไปเตือนที่ระบบส่วนกลางได้  อีกตัวอย่างที่มีการใช้งานกันอยู่  คือการนำ  Active RFID Tag  มาพัฒนาเป็น  Electronic Seal  เพื่อใช้ในการขนส่ง  เพื่อป้องกันการโจรกรรมตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างการขนส่ง  หากมีการแอบเปิดตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างขนส่ง  ก็จะมีการบันทึกเวลาที่มีการแอบเปิดไว้ในระบบ   ทำให้ทราบว่า  ระหว่างขนส่งนั้นมีการแอบเปิดตู้คอนเทนเนอร์เวลาใด 

จากคุณสมบัติเหล่านี้จะเห็นได้ว่า  บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำงานได้  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก  ในการทำงานที่ซับซ้อนเหล่านี้  ที่เทคโนโลยีบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้

o         ความแม่นยำในการอ่าน

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จัดได้ว่า  เป็นเทคโนโลยีที่สามารถอ่านข้อมูลได้แม่นยำที่สุด  ซึ่งอาจจะไม่สามารถอ่านได้ถึง 100% เหมือนเช่นที่มีการคาดการณ์ไว้อย่างแพร่หลาย  ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านได้แก่

·         ประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะของคลื่นวิทยุที่ใช้  และขนาดของเสาอากาศมีผลต่อการอ่านทั้งสิ้น

·         กาารติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ตำแหน่งที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และวัสดุที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปติดนั้น  มีผลต่อความแม่นยำในการอ่านทั้งสิ้น 

·         สภาพแวดล้อมในการทำงาน  ในการทำงานสภาพแวดล้อมที่มีอุปกรณ์ที่มีผลต่อคลื่นวิทยุ  ย่อมมีผลในการอ่านทั้งสิ้น  เช่นหากนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ย่อมมีผลการอ่าน  ซึ่งจะมีผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หากใช้คลื่นความถี่สูง  เช่น UHF  ย่อมมีผลมาก

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *