เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และบาร์โค๊ด

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) และบาร์โค้ด

ในปัจจุบันมีการกล่าวกันอย่างแพร่หลายว่า   เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาแทนที่บาร์โค้ดในอนาคตอันใกล้  เนื่องจากว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มีจุดดีกว่าบาร์โค้ดอยู่หลายประการ  แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีบาร์โค้ดก็มีจุดดีอยู่มากมายที่อาร์เอฟไอดี (RFID) ไม่สามารถที่จะทำได้  ดังนั้นความคิดว่าอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาแทนที่บาร์โค้ด  จึงเป็นไปได้ยาก  บทนี้จะอธิบายให้เห็นถึงจุดดีและจุดเสียของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  และบาร์โค้ด  เพื่อชี้ให้เห็นว่า  เทคโนโลยีทั้งสองต่างมีจุดดีของตนเอง  และความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละประเภท  แตกต่างกัน

เทคโนโลยีบาร์โค้ด

บาร์โค้ดคือ การพิมพ์สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงข้อความต่าง ๆ   โดยปกติการพิมพ์จะพิมพ์สัญลักษณ์เป็นเส้นตรง สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือจุด  โดยระยะห่างของแต่ละจุดจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง  เทคนิคในการแปลสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นข้อความต่าง ๆ เรียกว่า  Symbology   ซึ่งจะมีลักษณะหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

·         การถอดรหัส  เทคนิคที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องสามารถถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และไม่มีข้อผิดพลาดในการถอดรหัส

·          ความเข้มของตัวอักษร  ถ้าตัวอักษรแต่ละตัวมีความเข้มมาก  ก็สามารถที่จะแสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย

·         ความสามารถในการตรวจสอบข้อผิดพลาด  ระบบ  Symbology ที่ดีจะต้องสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้อง  เพื่อเป็นการยืนยันว่า  ข้อมูลที่อ่านขึ้นมานั้นมีความถูกต้องแม่นยำ

o         กระบวนการอ่านบาร์โค้ด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านบาร์โค้ดเรียกว่า  เครื่องอ่านบาร์โค้ด  (Bar Code Scanner)  เครื่องอ่านบาร์โค้ดอาศัยคลื่นแสงโดยการส่งคลื่นแสงไปยังแถบบาร์โค้ด  ในระหว่างการอ่านแถบบาร์โค้ด คลื่นแสงไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายออกจากแถบบาร์โค้ดได้  ดังนั้นเมื่อมีการเพิ่มความยาวของบาร์โค้ด  ขนาดความสูงของเครื่องอ่านบาร์โค้ดก็จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อที่จะให้คลื่นแสงสามารถที่จะครอบคลุมแถบบาร์โค้ดทั้งหมดได้

ระหว่างการอ่าน  เครื่องอ่านจะทำการวัดลำแสงที่สะท้อนกลับมาจากแถบสีดำ  และบริเวณสีขาวของแถบบาร์โค้ด  โดยที่แถบสีดำจะดูดซับคลื่นแสง  ในขณะที่บริเวณสีขาวจะทำการสะท้อนคลื่นแสง  อุปกรณ์อิเลกทรอนิคที่เรียกว่า   Photodiode  หรือ Photocell  จะทำการแปลงคลื่นแสงที่ได้รับเป็นคลื่นไฟฟ้า  หลังจากนั้นก็จะทำการแปลงคลื่นไฟฟ้าเป็นข้อมูล  Digital  ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นรูปรหัส   ASCII  

o         เครื่องอ่านบาร์โค้ด

ในปัจจุบันนี้  เครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถแบ่งได้เป็นสี่ประเภท

·         เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา  เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายปากกโดยมีแสงอยู่ที่ปลาย  ในช่วงการอ่านแถบบาร์โค้ดต้องถูกคลื่นแสงส่องตลอดเวลา  จุดดีของเครื่องอ่านแบบนี้ คือราคาไม่แพงและมีน้ำหนักเบา   แต่จุดเสียของเครื่องอ่านแบบนี้คือ หากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบ  ทำให้เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านได้อย่างถูกต้อง

·         เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์  เครื่องอ่านแบบนี้เป็นเครื่องอ่านที่มีการใช้แพร่หลายมากที่สุด  จุดดีของเครื่องอ่านแบบนี้  คือสามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้  ถึงแม้ว่าจะติดอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบ  เนื่องจากว่า  เครื่องอ่านแบบนี้จะประกอบด้วยลำแสงเลเซอร์จำนวนมาก  เลเซอร์แต่ละลำแสงสามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้ด้วยความเร็ว  40 – 800 ครั้งต่อวินาที  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว  ลำแสงบาร็โค้ดเพียงลำแสงเดียวเท่านั้น  ก็สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้  จากการที่เครื่องอ่านแบบนี้สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดได้รวดเร็ว  เครื่องอ่านแบบนี้จะนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม   เครื่องอ่านแบบนี้สามารถที่จะทำเป็นเครื่องอ่านแบบติดตั้งอยู่กับที่  สำหรับการอ่านวัตถุที่มีการเคลื่อนที่  เช่น บนสายพานลำเลียงสินค้า เป็นต้น  ด้วยเครื่องอ่านแบบนี้ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายวัตถุ  ในบางกรณีาเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้สามารถอ่านแถบบาร์โค้ดที่อยู่ในระยะไกลถึง 9เมตรได้

·         เครื่องอ่านแบบ CCD  เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้ใช้วิธีการจับภาพแถบบาร์โค้ด  หลังจากการจับภาพของแถบบาร์โค้ด  เครื่องอ่านก็จะทำการปรับภาพดังกล่าว  เป็นข้อมูลที่เป็นแบบดิจิตอลเหมือนเช่นบาร์โค้ดแบบเลเซอร์  จุดเสียของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้ คือ เครื่องอ่านแบบนี้ไม่สามารถอ่านแถบบาร์โค้ดที่มีความยาวมากได้  เนื่องจากข้อจำกัดในการจับภาพ

·         เครื่องอ่านแบบกล้อง  กล้องขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ในเครื่องอ่าน  กล้องขนาดเล็กนี้จะทำการจับภาพบาร์โค้ด  และทำการประมวลผล  แต่เครื่องอ่านแบบนี้จะอ่อนไหวต่อคุณภาพของแถบบาร์โค้ดอย่างมาก  เช่น  แถบบาร์โค้ดควรจะมีความแตกต่างสีขาวและดำอย่างชัดเจน  ห้ามมีจุดดำอื่นใดบนแถบบาร์โค้ด   

o         ประโยชน์ของเทคโนโลยีบาร์โค้ด

·         รวดเร็วและแม่นยำในการเก็บข้อมูล  เทคโนโลยีบาร์โค้ดทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติ   การอ่านข้อมูลโดยเครื่องอ่านบาร์โค้ดทำให้มีความแม่นยำ  จากการศึกษาพบว่า  ข้อผิดพลาดมีเพียงหนึ่งในสามล้านครั้ง 

  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดสามารถส่งต่อให้กับระบบการทำงาน  เพื่อให้กระบวนการทำงานสามารถดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติ   เช่นระบบเข้า-ออกสำนักงานของพนักงาน

·         ลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน   การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ดทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล  เนื่องจาการเก็บข้อมูลที่ผิดพลาด  เป็นต้น

o         ข้อจำกัดของเทคโนโลยีบาร์โค้ด

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีบาร์โค้ดก็มีข้อจำกัดของตนเองอยู่  ข้อจำกัดหลัก ๆ ได้แก่

·         เสียหายง่าย  แถบบาร์โค้ดเสียหายได้ง่าย  เพียงแค่มีรอยเปื้อนสกปรก  แถบสี  หรือสีจางไปเมื่อถูกแสงแดด หรือความชื้น

·         เครื่องอ่านบาร์โค้ดมีข้อจำกัดในการทำงาน   เมื่อนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น  คลื่นแสงที่ใช้ในการอ่านจะถูกหักเหง่าย  เมื่อแถบบาร์โค้ดมีการเปียกชื้น  ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้การอ่านข้อมูลในแถบบาร์โค้ดผิดพลาดได้

·         ขณะการอ่านแถบบาร์โค้ด  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นแถบบาร์โค้ด   หากแถบบาร์โค้ดถูกปิดบัง  ทำให้ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้

·         ความเร็ว  เครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะอ่านแถบบาร์โค้ดที่เคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว  ดังนั้นหากแถบบาร์โค้ดติดอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว  จะมีผลทำให้ความแม่นยำในการอ่านต่ำลง

o         ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีบาร์โค้ด

จากที่มีการกล่าวกันอย่างแพร่หลาย  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้แทนบาร์โค้ด   จุดเด่นหลัก ๆ ที่ทำให้มีการคาดการณ์ว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาทดแทนบาร์โค้ด สามารถสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

·         สามารถอ่านข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ข้อมูลที่บันทึกในอาร์เอฟไอดี  Tag   (RFID Tag) สามารถที่จะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปได้  ในขณะที่แถบบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำการปรับเปลี่ยนข้อมูลได้   โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้มากถึง 100,000  ครั้ง  ซึ่งความสามารถนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อมีการใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (  RFID Tag)  เพื่อบันทึกข้อมูลบางอย่างที่มิได้บันทึกไว้ในครั้งแรก  ตัวอย่างเช่น การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มาใช้ในส่วนของสายงานผลิต  เมื่อสินค้าเคลื่อนย้ายไปทีละขั้นตอนการผลิต  ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เพื่อที่จะทราบว่า  วัตถุหรือสินค้าดังกล่าวผ่านกระบวนการผลิตขั้นใดมาบ้าง  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิตสามารถที่จะนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ดังกล่าวมาวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า  แต่ละขั้นตอนการผลิตใช้เวลามากน้อยเพียงใด  และขั้นตอนใดที่ใช้เวลามากเกินไป   หรือเป็นการยืนยันว่า  วัตถุดังกล่าวผ่านมาทุกกระบวนการผลิตหรือไม่

·         การอ่านโดยไม่จำเป็นต้องมองเห็น  โดยทั่วไปแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่จำเป็นต้องมองเห็นก็สามารถที่จะส่งข้อมูล  ซึ่งแตกต่างจากบาร์โค้ดอย่างชัดเจน  ที่จำเป็นต้องมองเห็นเท่านั้นเพื่อทำให้สามารถส่งข้อมูลได้  ตัวอย่างเช่น  หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ติดอยู่กับสินค้าที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มิได้ดูดซับ  หรือสะท้อนคลื่นวิทยุ  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็สามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) นั้นได้  โดยมิจำเป็นต้องมองเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   แต่อย่างไรก็ตาม  ในบางสถานการณ์คุณลักษณะนี้ก็ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่  หากมีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดอยู่บนวัสดุที่ดูดซับ หรือสะท้อนคลื่นวิทยุ  เช่น โลหะ เป็นต้น   

·         ระยะการอ่านที่ไกล  โดยปกติแล้วเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RF ID Tag)  ได้ในระยะที่ไกลกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด  ตัวอย่างเช่น  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) คลื่นความถี่  UHF  จะสามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ไกลถึง  4-5 เมตรในสภาพแวดล้อมปกติ  หากพูดถึงอาร์เอฟไอดีแบบ  Active (Active RFID) ระยะการอ่านก็จะไกลยิ่งขึ้นไปอีก  ซึ่งในบางกรณีสามารถอ่านได้ไกลถึง  30  เมตร แต่เทคโนโลยีบาร์โค้ดนั้น จะอ่านข้อมูลโดยคลื่นแสง  ดังนั้นระยะการอ่านจึงจำกัดอยู่ในระยะที่คลื่นแสงไปถึง 

·         ความสามารถในการบันทึกมีมากกว่าบาร์โค้ด  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  Active Tag  สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหลายเท่าตัว

·         ความสามารถในการอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลาย Tag  พร้อมกัน  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  มากกว่าหนึ่ง  Tag  ในขณะเดียวกัน  ซึ่งความสามารถนี้เรียกว่า  Anti-Collision ซึ่งความสามารถนี้บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้

·         ความคงทนมากกว่า  โดยปกติแล้ว  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะทนทานมากกว่าบาร์โค้ด  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถทำงานได้ในสภาพที่เปียกชื้น หรือการทำงานที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  ในสภาพการทำงานลักษณะนี้  บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และบาร์โค้ดก็มีโอกาสที่จะเสียหายง่าย  เช่นการนำไปใช้งานในสภาพเปียกชื้น เป็นต้น

·         อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถนำมาใช้งานในลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้น  ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้มิใช่เพียงแค่การเก็บข้อมูล แต่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ยังสามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้อีกด้วย  ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้ ตัวอย่างเช่นการใช้งานของ  Active RFID Tag  ที่ต้องมีการบันทึกหมายเลขเอกสารในขนส่ง  เพื่อให้ระบบการทำงานเป็นไร้เอกสาร  ในส่วนนี้บาร์โค้ดจะทำไม่ได้อย่างแน่นอน  เพราะบาร์โค้ดทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

จากข้อดีที่กล่าวมาข้างต้น  มีการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ในกิจกรรมหลายส่วน  เมื่อมีการเปรียบเทียบการทำงานของเทคโนโลยีบาร์โค้ด  จะเห็นว่า  การนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID System) สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์หลายประการ ดังเช่นตารางด้านล่าง  จากผลการศึกษาของ FKI Logistex

ข้อดีของบาร์โค้ดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)

ถึงแม้ว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมีจุดเด่นมากกว่าบาร์โค้ดในหลายประการ  แต่เทคโนโลยีบาร์โค้ดก็มีจุดเด่นเป็นของตนเอง  จุดเด่นของเทคโนโลยีบาร์โค้ด  สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

·         ราคาถูก  เป็นที่ทราบกันดีว่า ราคาของบาร์โค้ดถูกกว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มาก  นอกเหนือจากราคาอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แล้ว ราคาเครื่องอ่านบาร์โค้ดก็ถูกกว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี   (RFID Reader)

·         ในบางกรณีความสามารถในการอ่านของบาร์โค้ดก็มีความใกล้เคียงกับอาร์เอฟไอดี (RFID) ในการใช้งานบางครั้งบาร์โค้ดสามารถให้ความแม่นยำได้ถึง 90 – 98%  จากความแม่นยำในระดับนี้  ทำให้เกิดความคุ้มทุนค่อนยาก  เนื่องจากหากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไม่สามารถให้ความแม่นยำได้มากขึ้นอีก 10% ความคุ้มทุนก็จะไม่เกิดขึ้นได้

·         ไม่มีผลต่อวัสดุที่ใช้งาน  บาร์โค้ดใช้งานได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด  ซึ่งต่างจากอาร์เอฟไอดี (RFID) ที่ไม่สามารถใช้งานได้ในวัสดุบางประเภท

·         ไม่มีข้อจำกัดทางด้านกฏหมาย  บาร์โค้ดทำงานโดยการใช้คลื่นแสง  ซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางด้านกฏหมาย  ต่างจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ที่ใช้คลื่นวิทยุ  การใช้คลื่นวิทยุในแต่ละประเทศยังมีข้อจำกัดทางด้านกฏหมายที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอยู่อย่างมาก  คลื่นความถี่ที่ใช้ได้ในประเทศหนึ่ง  อาจไม่สามารถที่จะใช้งานได้ในบางประเทศก็เป็นไปได้  แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็มีความพยายามในหลายประเทศที่จะทำให้การใช้คลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์ด้านอาร์เอฟไอดี (RFID) มีความเป็นมาตรฐานมากขึ้น

·         บาร์โค้ดเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย   บาร์โค้ดมีการใช้งานมาอย่างน้อย  30 ปี 

ความเป็นไปได้ที่อาร์เอฟไอดี (RFID) จะทดแทนบาร์โค้ด

จากที่มีการกล่าวจุดดี  และข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) และบาร์โค้ด   ทำให้โอกาสที่จะนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาทดแทนบาร์โค้ดนั้นเป็นไปได้ยากมาก  สาเหตุหลักที่ทำให้การทดแทนนี้ไม่สามารถที่จะเป็นไปได้  ได้แก่

·         หากจะมีการนำอาร์เอฟไอดี (RFID) มาแทนบาร์โค้ดได้  จำเป็นอย่างยิ่งที่อาร์เอฟไอดี (RFID) ต้องสามารถใช้งานได้กับวัสดุทุกประเภทเหมือนกับที่บาร์โค้ดทำได้  การที่จะทำให้อาร์เอฟไอดี (RFID) ใช้งานได้กับวัสดุทุกประเภทนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีต้องมีความเป็นไปได้ในแง่เศรษฐกิจ  และในแง่สังคม

·         มีการคาดการณ์ว่า  หากจะทำให้อาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถทดแทนบาร์โค้ดได้จำเป็นอย่างยิ่งที่ราคาของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ต้องต่ำกว่า 2 บาท หรือต่ำกว่านั้น   นอกเหนือจากราคาอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แล้ว ราคาของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็ต้องถูกลงด้วย   แต่อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้ราคาอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกลง  ด้วยกระบวนการผลิตในปัจจุบันคงเป็นไปได้ยาก  กระบวนการผลิตต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ หรือจำเป็นต้องตัดกระบวนการผลิตออกบางขั้นตอน  มีการคาดการณ์ว่า  การที่จะทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) ราคาถูกได้ในระดับที่ต้องการ  อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ  5 ถึง 10ปีข้างหน้า

·         การกำหนดมาตรฐานการใช้คลื่นวิทยุเพื่อเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จากที่ทราบกันว่า  อาร์เอฟไอดี (RFID) ใช้คลื่นวิทยุในการทำงาน  ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ทุกประเทศมีมาตรฐานการใช้คลื่นวิทยุเพื่อเทคโนโลยีเหมือนกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นความถี่ในช่วง  UHF   ซึ่งแต่ละประเทศมีการใช้งานที่ในช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน

สรุป 

จากข้อจำกัดและข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  และเทคโนโลยีบาร์โค้ด  จะเห็นว่า  ในระยะแรกการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้จะเป็นใสรูปแบบ  Dual Technology  กล่าวคือ  เป็นการนำสองเทคโนโลยีคือบาร์โค้ด  และอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้ควบคู่กัน ตามการศึกษาตารางด้านล่าง  จะเห็นว่า  ในช่วงแรกที่ทำการทดสอบ  และความคุ้มทุนยังคงใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) เพียงอย่างเดียว  แต่เมื่อนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาสู่ปฏิบัติจริง  จะเป็นการใช้สองเทคโนโลยี  แต่เมื่อเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไปสู่การใช้จริง  ในช่วงแรกยังเป็นการใช้สองเทคโนโลยีควบคู่กันไป   จนเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีการพัฒนาในด้านต่าง  ๆ 

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *