ประเภทอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สำหรับรถยนต์

เนื่องจากรถยนต์มีลักษณะการใช้งานที่เฉพาะตัว  ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่นำมาใช้กับรถยนต์ จำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพการใช้งานของรถยนต์ด้วย เช่น  ต้องทนต่อแสงแดด  ทนความร้อน เป็นต้น   จากประสบการณ์ของบริษัทไอเดนทิไฟจำกัด  พบว่า ปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ที่ใช้สำหรับรถยนต์ มีรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • อาร์เอฟไอดีแท๊กสำหรับกระจกมองหลัง (RFID Windshield Tag)  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะติดอยู่ที่ด้านในหรือด้านนอกของตัวรถยนต์ก็ได้  แต่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จำเป็นต้องออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษสำหรับการอ่านบนวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นกระจก  นอกเหนือจากความสามารถในการอ่านแล้ว  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวจำเป็นต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวติดนอกรถ  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ต้องทนต่อความร้อน และรังสียูวีจากแสงแดด  รวมทั้งความชื้น  นอกจากนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวจำเป็นระบบความปลอดภัย  เช่นป้องกันไม่ให้ลอกหรือแกะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เพื่อไปติดกับรถคนอื่น   โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดี (RFID Tag) ประเภทนี้ จะระบบความปลอดภัย  เช่น อาร์เอฟไอดีแท็กจะฉีกขาด  ทำให้ไม่สามารถที่จะใช้งานต่อไปได้  หากมีการแกะอาร์เอฟไอดีแท๊กออก   เป็นการป้องกันไม่ให้นำอาร์เอฟไอดีแท็ก (RFID Tag) ดังกล่าวไปติดกับรถคันอื่น  เป็นต้น  

ในบางกรณี อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ติดตั้งที่กระจกมองหลัง ก็เป็นอาร์เอฟไอดีแท๊กแบบแขวน (RFID Hang Tag) ที่กระจกมองหลัง  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานภายใน  และเป็นการใช้แท๊กแบบหมุนเวียน  เช่น การใช้งานในสายการผลิตรถยนต์เป็นต้น

  • อาร์เอฟไอดีแท๊กสำหรับกระจกมองข้าง (Sideview Mirror RFID Tag)  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะติดอยู่กระจกมองข้างรถ ในบางกรณีหากผู้ใช้งานไม่ต้องการให้มองเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ก็อาจจะติดที่ด้านใต้ของกระจกมองข้าง  ในการใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้  จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ให้สอดคล้องกับตำแหน่งของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เช่น ความสูงของรถแต่ละประเภท  ย่อมมีผลต่อตำแหน่งของกระจกมองหลัง  ตำแหน่งของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และตำแหน่งของเครื่องอ่านตามไปด้วย
  • อาร์เอฟไอดีแท๊กสำหรับไฟหน้ารถ (RFID Headlamp Tag) อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะเป็นลักษณะใส  เพื่อติดที่ไฟหน้ารถ  ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อการส่องสว่างของไฟหน้า   อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะมีความคงทนต่อการใช้งานภายนอก  ได้แก่ทนต่อการความร้อนทั้งจากไฟหน้า และความร้อนจากแดด  รวมทั้งทนต่อความเปียกชื้นและสารเคมีในการทำความสะอาดรถ

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) กับระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)

แนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS) จะให้ความสำคัญในการลดทรัพยากร  รวมทั้งเวลาที่ใช้ในกิจกรรมการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดพฤติกรรมใดใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต (non value added activities) หรือก่อให้เกิดความสูญเสีย (waste)  และกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต  ในแนวคิดของการผลิตแบบลีนนั้น กิจกรรมดังกล่าวได้แก่

  1. การผลิตสินค้ามากเกินไป (overproduction)  การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการจะก่อให้เกิดความสูญเสียในทุกกิจกรรมของการผลิต  รวมถึงเวลาที่ต้องจัดเก็บสินค้าเหล่านั้น
  2. การหยุดรอ  (waiting) การที่จะต้องหยุดรอชิ้นส่วน หรืองานต่าง ๆ จากการกระบวนการผลิตขั้นก่อนหน้า  จะทำให้เกิดความสูญเสียในด้านเวลาที่เสียไป
  3. การขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า (transport)  การที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น  ทำให้เกิดความสูญเสียในกิจกรรมการขนย้าน   
  4. กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)  กระบวนการทำงานในลักษณะนี้จะเกิดจากขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อนเกินความจำเป็น  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งในด้านการขนส่ง และแรงงานที่ต้องทำงานในกระบวนการดังกล่าว
  5. สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  ประกอบด้วยองค์ประกอบการผลิตที่ไม่ได้ใช้งาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในหลายด้าน ได้แก่  ต้นทุนในการจัดเก็บ คุณภาพของสินค้าที่เสียไปตามระยะเวลาในการจัดเก็บ
  6. กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)   การที่คนทำงานจำเป็นตัองเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต
  7. สินค้ามีตำหนิ (defect) การผลิตสินค้าที่มีตำหนิมีผลโดยตรงต่อความสูญเสีย ในด้านต้นทุนการผลิต และต่อเนื่องไปถึงรายได้ที่จะได้รับ

จากแนวคิดข้างต้น จะเห็นได้ว่า  กระบวนกการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลนั้น จะก่อให้เกิดความสูญเสียในหลายส่วนตามตารางด้านล่าง

ชนิดของความสูญเสียลักษณะของความสูญเสียหน่วยนับของความสูญเสีย
การผลิตมากเกินไป (Over production)เกิดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ  ซึ่งกรณีนี้สามารถทำให้เกิดการผลิตมากเกินไป  เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในระบบ และปริมาณสินค้าที่มีอยู่จริงไม่ตรงกัน ปริมาณสินค้าที่ผลิตเกิน
การหยุดรอ (Waiting)การเก็บข้อมูลด้วยบาร์โค้ดต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาทำการอ่านบาร์โค้ด  จะใช้เวลามากกว่าในการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติเวลา
การเคลื่อนย้ายของสินค้า (Transport)ในกรณีที่มีการอ่านบาร์โค้ดผิด อาจจะมีผลทำให้สินค้าดังกล่าวต้องถูกเคลื่อนย้ายมาให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำการอ่านได้เวลา
กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้เสียเวลาในการทำงาน  เพราะเจ้าหน้าที่ต้องหยุดงานในการผลิตมาทำการอ่านบาร์โค้ดเวลา
สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะลดน้อยลง ปริมาณสินค้าที่ผลิต
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)กระบวนการทำงานที่เจ้าหน้าที่ต้องหยุดการทำงานในการผลิต เพื่อทำการอ่านบาร์โค้ดเพื่อทำการบันทึกข้อมูลเวลา
สินค้ามีตำหนิ (defects)สินค้าที่ผลิตแล้วมีตำหนิ ไม่สามารถใช้งานได้  ทำให้เกิดความสูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปริมาณสินค้าที่เสียหาย

จากข้อจำกัดของเทคโนโลยีบาร์โค้ดที่ใช้ในการผลิตในปัจจุบัน  ทำให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เข้ามีบทบาทในการลดความสูญเสีย และช่วยให้ระบบการผลิตสามารถปรับตัวเป็นระบบการผลิตแบบลีน  (Lean Production, LPS)  ประโยชน์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ในการผลิตแบบลีน (Lean Production System LPS)  สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสามประเด็น ได้แก่

  • การเก็บข้อมูล (Data collection)  จากที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถอ่านข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยคนมาทำงานอ่านเหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ทำให้การเก็บข้อมูลในขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ สามารถทำการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติได้  ซึ่งมีผลโดยตรงทำให้ลดการสูญเสีย (waste) ในการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)  เจ้าหน้าที่ไม่ต้องมาหยุดการผลิตสินค้า  เพื่อทำการอ่านแถบบาร์โค้ด และทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นอกจากนั้นยังช่วยในการลดการเคลื่อนย้ายของสินค้าที่ไม่จำเป็น (transport waste) เจ้าหน้าที่ไม่ต้องยก (เคลื่อนย้าย) สินค้ามาทำการอ่านด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด  เมื่อสินค้าหรือวัสดุ มาถึงจุดที่ติดตั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะทำการข้อมูลจาก RFID Tag ที่ติดมากับสินค้าอย่างอัตโนมัติ  โดยที่เจ้าหน้าที่ต้องมีการเคลื่อนไหวใดใด
  • การเชื่อมโยงของข้อมูล (Data Dependency)  หากการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างสินค้า และข้อมูลการผลิตมีความผิดพลาด มีผลให้เกิดความสูญเสียได้หลายประการ เช่น ความสูญเสียในการรอคอย (waiting) หากมีการอ่านบาร์โค้ดผิดพลาด  เจ้าหน้าที่อาจจะต้องเสียเวลาในการรอ  เพื่อทำการแก้ไขระบบ  หากมีการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดเข้าสู่ระบบ  เช่น การอ่านบาร์โค้ดผิด  หรือการรายงานจำนวนสินค้าที่กำลังผลิตแตกต่างไปจากความเป็นจริง  จะทำให้เกิดความสูญเสียในหลายด้าน  ได้แก่  ความสูญเสียในการเกิดสินค้าเสียหาย (defects) ความสูญเสียด้านการผลิตเกินจำนวน (overproduction) หรือความสูญเสียที่เกิดจากจำนวนสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ทำการอ่านข้อมูลเป็นอัตโนมัติ  ซึ่งผลให้ความผิดพลาดต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น  ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ให้คนทำการอ่านและบันทึกข้อมูลลดหายไป
  • เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) จะมีส่วนช่วยในการลดความสูญเสียในกระบวนการทำงาน  จากเดิมที่ใช้การเก็บข้อมูลแบบโดยอาศัยเจ้าหน้าที่จดลงในเอกสาร  แล้วนำมาบันทึกเข้าสู่ระบบส่วนกลางเพื่อประมวล  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ทำให้การเก็บข้อมูลทั้งระบบมีลักษณะอัตโนมัติ 
  • ความสามารถที่จะได้รับข้อมูลที่ทันเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการตัดสินใจในการผลิต  หากได้รับข้อมูลไม่ทันเวลา  อาจจะทำให้ความสูญเสียในการผลิตได้สองประการ  คือ การผลิตสินค้ามากเกินไป  (overproduction) หรือการมีสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ของข้อมูลได้  ทำให้สามารถที่จะรับรู้ถึงข้อมูลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น  โดยสามารถที่จะรับทราบสถานะของสินค้าที่ทำการผลิต  ได้ตั้งแต่ระดับล๊อตการผลิต จนถึงระดับสินค้าหลายชิ้น และสามารถที่จะติดตามสถานะได้ไปตลอดทุกขั้นตอนการผลิต  นอกจากนั้นระบบยังสามารถที่ให้ข้อมูลในทันทีทันใดได้  การให้ข้อมูลในลักษณะนี้  ทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่พร้อมในการตัดสินใจใดใด  เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในสองลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

สรุป

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS) โดยประโยชน์ที่จะได้รับสามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่าง

การบริหารสินค้าระหว่างการผลิต (WIP)การบริหารสินค้าคงคลังการบำรุงรักษาเครื่องจักรในการผลิตการควบคุมการผลิต
การผลิตมากเกินไป (Overproduction)ทราบถึงปริมาณสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตแต่ละขั้นรับทราบถึงปริมาณสินค้า/วัตถุดิบคงคลังส่งเสริมการบริหารการผลิตแบบ Just in Time
การรอคอย (Waiting)ทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหนทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหนทราบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอยู่ที่ใด และมีสภาพอย่างไรเพิ่มความสามารถสินค้า หรือวัตถุดิบให้ตอบสนองต่อการผลิตได้มากยิ่งขึ้น
การขนส่ง (Transport)ทราบว่าสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตควรจะเคลื่อนย้ายไปที่ใดทราบว่าสินค้าที่ผลิตเสร็จที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใดทราบว่าตำแหน่งของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่อยู่ใกล้ที่สุดสามารถทำการปรับสายการผลิตได้อ้ตโนมัติ
กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate processing)ทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใดทราบว่าวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใดลดการผลิตที่ผิดพลาด จากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ผิดพลาดทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใด
การเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary inventory)ลดข้อผิดพลาดในการจัดเก็บสินค้าระหว่างการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary motion)ลดขั้นตอนการทำงานแบบ Manualลดการนับแบบ Manualลดการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาแบบ Manual
เสียหาย (Defects)ลดความเสียหาย เนื่องจากสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทราบว่า  สินค้าหรือวัตถุดิบใดใกล้วัดหมดอายุ

แหล่งที่มา

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Report: Methodology for manufacturing process analysis for RFID implementation, BRIDGE Project, March 2008

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Definition of RFID Decision Support System for Manufacturing Applications, BRIDGE Project, June 2008

การวิเคราะห์การลงทุนระบบอาร์เอฟไอดี (Cost and Benefit Analysis – RFID Implementation)

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขได้ (Quantiafiable cost and benefits)

  • ค่าใช้จ่าย
    • ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost)  ในการติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในด้านซอฟท์แวร์ ซึ่งรวมถึง Middleware และค่าใช้จ่ายในด้านฮาร์ดแวร์  ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นประกอบด้วย  อุปกรณ์ในระบบอาร์เอฟไอดีได้แก่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในกรณีของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น จะครอบคลุมเฉพาะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ใช้หมุนเวียนเท่านั้น (Reusable RFID Tag)  เนื่องจากว่าเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว   นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ทางด้านไอทีอื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ที่ต้องต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นต้น  และในท้ายที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ
    • ค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable cost) ค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  คือ ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งการที่จะสรุปว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้ค่าใช้จ่ายแปรผันหรือไม่นั้น  จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน  เป็นการใช้งานแบบระบบปิด (Close Loop)  หรือระบบเปิด (Open Loop)   ในกรณีของระบบปิด หมายความว่า  จำนวนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   จะคงที่เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถนำกลับมาใช้อีกได้   ดังนั้นในลักษณะนี้ ค่าใช้จ่ายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในระบบปิดจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่  แต่ค่าใช้จ่ายผันแปรผันสำหรับระบบปิด  ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่  ค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับวัสดุที่จะนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติด  เพราะว่าการนำกลับมาใช้หมายถึงว่า  การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เดิมไปติดกับวัสดุหรือชิ้นงานใหม่  จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลใหม่ทุกครั้งในการใช้งาน   สำหรับการใช้งานแบบระบบเปิด (Open Loop)  ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   และค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายแปรผัน   เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะติดไปกลับสินค้าหรือวัสดุดังกล่าว  ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกได้    ในส่วนนี้ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้
  • ประโยชน์ที่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้
    • ขั้นตอนการสแกนมีความเร็วขึ้น  เหตุผลพื้นฐานในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้คือ  เพิ่มความรวดเร็วการสแกน/การอ่านสิ่งของต่าง  ๆ  หรือต้องการให้การทำงานในขั้นตอนนี้เป็นอัตโนมัติ  เนื่องจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้อัตโนมัติ  ซึ่งในส่วนนี้อาร์เอฟไอดี (RFID) ช่วยลดเวลาการทำงาน  และค่าใช้จ่ายแรงงานที่ต้องสแกนวัสดุต่าง ๆ   การประเมินเป็นตัวเลขสามารถที่จะทำได้  โดยการคำนวนจากแรงงานและเวลาที่ลดไปเป็นเงินเท่าไร
    • ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาดจากการทำงาน จากการที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ทำงานอย่างอัตโนมัติ  ทำให้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยคน เช่น  การสแกนสินค้าผิด  การลืมบันทึกข้อมูล  หรือการส่งสินค้าผิดเป็นต้น  ทำให้สามารถที่จะประเมินได้ว่า  ข้อผิดพลาดที่ลดไปเป็นมูลค่าเงินเท่าไร  ซึ่งจะรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่ทำให้ถูกต้องด้วย  เช่นการส่งสินค้าไปใหม่ ในกรณีส่งสินค้าผิด  หรือการหาสินค้าเพื่อมาทำการสแกนย้อนหลัง  เป็นต้น
    • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสาร  เนื่องจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติไม่มีการใช้เอกสารในการจดบันทึก ทำการการทำงานทั้งหมดเป็นลักษณะไร้เอกสาร (Paperless)  ทำให้ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการจ้างเจ้าหน้าที่มาทำการบันทึกข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเอกสาร
    • ค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบข้อมูล  เนื่องจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้  โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลส่วนกลางตลอดเวลาเหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด   การที่การทำงานสามารถที่จะดึงข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊กได้โดยตรง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ (Non quantifiable cost and benefits)

  • ความเสี่ยง
    • ตามที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ประกอบด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์  โดยฮาร์ดแวร์นั้นจะประกอบด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถประเมินได้  เช่น  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่สามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ครบตามที่ต้องการ  เพราะว่าสภาพแวดล้อมการทำงานมีวัสดุที่มีผลต่อการอ่านเช่น โลหะหรือความชื้น  เป็นต้น  ในส่วนของซอฟท์แวร์  เพื่อให้การใช้อาร์เอฟไอดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซอฟท์แวร์อาร์เอฟไอดีจำเป็นต้องต่อเชื่อมกับซอฟท์แวร์อื่น ๆ เช่น ERP เป็นต้น  ประเด็นสำคัญในส่วนชองซอฟท์แวร์คือคุณภาพของข้อมูล  จากการที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อัตโนมัติ  ดังนั้นข้อมูลที่เข้ามาในระบบจะมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง  จึงเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  จะต้องประมวลผลและส่งเฉพาะข้อมูลถูกต้องเข้าสู่ระบบเท่านั้น  มิฉะนั้นข้อมูลที่ส่งเข้าไปสู่ระบบอื่น ๆ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้  
    • ความปลอดภัยของข้อมูลในอาร์เอฟไอดี  เนื่องจาก UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะอ่านได้ด้วยเครื่องอ่าน (RFID Reader) ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   ดังนั้นจึงเกิดความเสี่ยงที่ว่า  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ใดใดก็สามารถอ่าน UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ของเราได้
    • ความเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี   ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสาร   ดังนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรฐานคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   นอกเหนือจากมาตรฐานในด้านคลื่นความถี่แล้ว   มาตรฐานอีกด้านที่ต้องพิจารณาถึงคือ  มาตรฐานในการสื่อสารระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   จำเป็นต้องอย่างยิ่งต้องให้สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้อาร์เอฟไอดีได้อย่างทั่วถึง    
  • ประโยชน์
    • การวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ   ในกรณีที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาช่วยในกระบวนการผลิต   จะทำให้ได้ข้อมูลของกระบวนการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็ว    จากที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขึ้น  ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งในส่วนนี้อาจทำให้ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตได้
    • ปรับปรุงกระบวนการทำงาน การนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาใช้งาน  จะควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน  กระบวนการทำงานใหม่ที่เกิดจากการนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ไม่จำเป็นต้องเกิดจากความสามารถในการเก็บข้อมูลอย่างอัตโนมัติ  แต่สามารถเกิดจาการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน   ทำให้ลดการทำงานบางขั้นตอน หรือทำงานบางขั้นตอนได้มีประสิทธิภาพมากขั้น
    • ปรับปรุงคุณภาพในการบริการ  จากประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีในขั้นต้น  ได้แก่ความรวดเร็วในการทำงานและการผิดพลาดน้อยลง  ย่อมมีผลทำให้การบริการดีขึ้นตามไปด้วย  ตัวอย่างเช่นการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาช่วยในการจัดส่งสินค้า มีผลทำให้ส่งสินค้าที่ผิดพลาดน้อยลง   เป็นต้น   ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น
    • เพิ่มชื่อเสียงให้แก่บริษัท  ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ในปัจจุบันถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีของอนาคต  ทำให้หน่วยงานที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้ก็จะถูกมองว่าเป็นบริษัทที่นำสมัยไปพร้อมกันด้วย
    • เพิ่มความร่วมมือกันระหว่างบริษัท  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจะมีการใช้ทั้งห่วงโซ่การผลิต  ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงปลายทาง  จะเห็นได้ว่า  มีหลายบริษัทที่ให้ผู้ผลิตของตนติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตั้งแต่โรงงานที่ผลิตสินค้า  เพื่อให้แต่ละบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน  สามารถที่จะใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ร่วมกันได้    

การประเมินการลงทุน

หลังจากที่ได้ทำการแจกแจงรายละเอียดทั้งหมด  ผู้ใช้งานจำเป็นต้องการประเมินค่าใช้จ่าย  และผลประโยชน์ที่ได้รับ  อย่างไรก็ตามประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ ย่อมมีความสำคัญที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร  ในการประเมินค่าปัจจัยเหล่านี้ อันดับแรกต้องทำการจัดอันดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยก่อน  หลังจากนั้นให้ทำการให้คะแนนในแต่ละปัจจัย  โดยปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงทำการให้คะแนนเป็นลบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น   ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นประโยชน์ให้ทำการให้คะแนนเป็นบวกถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ  หลังจากนั้นให้ทำการคำนวนค่าทั้งหมด โดยการนำคะแนนที่ได้รับคูณอันดับความสำคัญ  และทำการรวมผลทั้งหมด  จะทำให้ทราบว่า การลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดีให้ผลเช่นไร  เมื่อได้คะแนนทั้งหมดให้นำมาเปรียบเทียบกับการประเมินทางด้านการเงิน (ในส่วนของปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถประเมินเป็นเงินได้)   เพื่อนำมาตัดสินใจในการลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดี  อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจนั้น  สามารถที่จำดำเนินการในลักษณะเปรียบเทียบได้  โดยการนำแนวทางการคำนวนดังกล่าวไปใช้กับเทคโนโลยีอื่น เช่น เทคโนโลยีบาร์โค้ด  หรือ OCR  เพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นว่า  การลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันอย่างไร

Source: RFID and Internet of Things: Technology, Applications and Security Challenges (Jan 2010), Benjamin Fabian, Oliver Gunther and Holger Ziekow,