จุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technoogy)

จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)

เมื่อมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองต่างก็มีจุดเด่นของตนเอง  ในกรณีของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) นั้น  จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถที่จะแบ่งได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้

o         การไม่ต้องสัมผัส (Contactless)

ลักษณะพื้นฐานอันหนึ่งของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) คือการที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลได้  ด้วยจุดเด่นนี้   ทำให้เทคโนโลยีนี้มีข้อได้เปรียบหลายประการ  ได้แก่

oเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่มีการสึกหรอ  เนื่องจากไม่มีการสัมผัสระหว่างระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ดังนั้นการสึกหรอของอุปกรณ์ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสจะไม่เกิดขึ้น

oความเร็วในการทำงานไม่ลดลง  ในการทำงานปัจจุบันจะเห็นได้ว่า  หากใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการสัมผัส  บ่อยครั้งที่ทำให้กระบวนการทำงานช้าลง   ตัวอย่างเช่น การทำงานบนสายพาน  ซึ่งอุปกรณ์  หรือสินค้ามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด  การอ่านหรือบันทึกข้อมูลโดยการสัมผัสไม่สามารถที่จะเป็นไปได้

oความสามารถในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พร้อมกันหลายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในเวลาเดียวกัน  ทำให้การทำงานในลักษณะที่เป็นอัตโนมัติสามารถที่จะปฏิบัติได้ง่าย  ในทางตรงกันข้ามหากใช้เทคโนโลยีแบบสัมผัสในการอ่านและบันทึกข้อมูล  การที่จะต้องอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หลายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พร้อมกันไม่สามารถที่จะเป็นไปได้

o         ความสามารถในการบันทึกข้อมูล (Writable)

ในปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  100,000  ครั้งหรือมากกว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้มีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงของตัวเอง  เช่น  การใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลได้  ได้แก่ ระบบบัตรอาหาร  ในบางกรณีจะเลือกใช้การบันทึกข้อมูลแทนที่จะใช้ระบบเดินสายสัญญาณ ทุกครั้งที่นำบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card)  ไปซื้ออาหาร  มูลค่าล่าสุดที่เหลืออยู่ก็จะถูกบันทึกลงไปในบัตร  อย่างไรก็ตาม  ในการใช้งานที่ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลลงไปในบัตรก็มีข้อจำกัดอยู่ในหลายประเด็น  ได้แก่

oความคุ้มทุนในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่  เนื่องจากการนำกลับมาใช้ใหม่  จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการเพิ่มเติมขึ้นมา  นั้นคือ การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่   ในการจัดเก็บอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เหล่านี้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่  อาจจะต้องใช้กำลังคนมาก  ซึ่งอาจจะทำให้ไม่คุ้มทุน

oความปลอดภัย  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบมาควบคุมการบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เพื่อที่จะเป็นการป้องกันว่า  ไม่ได้มีการลักลอบการเขียนข้อมูลใหม่ทับลงไปใน  โดยเฉพาะการนำมาใช้ในลักษณะ  E Payment  นอกเหนือจากนั้นทางบริษัทยังจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีข้อมูลสำคัญ  ถูกส่งออกไปนอกหน่วยงานของตน

oการทำงานที่ใช้เวลามากขึ้น  การบันทึกข้อมูลลงในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะใช้เวลามากกว่าการอ่านข้อมูล  ดังนั้นเมื่อการทำงานจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag)  การทำงานต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าการทำงานที่อาศัยการอ่านเพียงอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม  ในการทำงานบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการบันทึกข้อมูล  ตัวอย่างเช่น  การตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการบรรจุยาลงไปในขวด  ในขั้นแรกขวดเหล่านั้นจะติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ สามารถบันทึกข้อมูลได้  ก่อนที่จะนำขวดเหล่านี้มาใช้งาน  ขวดเหล่านี้  ก็จะต้องทำการทำความสะอาดก่อน  ในการทำความสะอาด  ขวดดังกล่าวก็จะทำการล้างด้วยน้ำร้อน  ต่อจากนั้นผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ  และทำให้แห้ง  นอกจากนั้นยังจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก่อนที่จะนำขวดดังกล่าวไปบรรจุยา  จากกระบวนข้างต้นที่ระบุมา ดังนั้นทุกขั้นตอนที่ขวดเหล่านั้นมาใช้บรรจุยา  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เพื่อเป็นการควบคุมกระบวนการทำงานว่า  ขวดหรือบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดครบทุกขั้นตอน   

o         ความสามารถในการอ่านโดยไม่ต้องเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก  RFID Tag

ความสามารถนี้เป็นจุดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้ถึงแม้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะติดอยู่ภายในตัวสินค้า  (หากสินค้าไม่ประกอบด้วยวัสดุที่ดูดซับคลื่นวิทยุ)  ตัวอย่างเช่น  หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   อยู่ในกล่องกระดาษ  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านทะลุกล่องเข้าไปได้   ด้วยความสามารถนี้  ทำให้ การตรวจสอบสินค้าทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดกล่องสินค้า   

จากความสามารถประการนี้  ทำให้มีการกังวลว่า  ความลับส่วนบุคคล  ในกรณีที่บุคคลนั้น  มีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ในตัว  และถูกอ่านโดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบไม่รู้ตัว  อย่างไรก็ตามจากการที่กล่าวในขั้นต้น  การที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีข้อจำกัดมีทางด้านเทคโนโลยีอยู่หลายประการ  ตัวอย่างเช่น  การอ่านบางครั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จำเป็นต้องเห็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หรือ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ต้องอยู่ในมุมที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านได้  สภาพแวดล้อมที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เหมาะสมต่อการใช้งาน ไม่อยู่บนพื้นผิวที่ดูดซับคลื่นวิทยุ   เช่น โลหะ  จากข้อจำกัดที่กล่าวมาข้างต้น  ดังนั้น  ข้อกังวลที่ว่า  จะถูกอ่านโดยไม่รู้ตัวนั้น  จึงเป็นไปได้ยาก

นอกจากนั้น  ในปัจจุบัน  มีการพัฒนาเครื่องอ่านอาร์เอฟอดี (RFID Reader) ที่จะส่งคำสั่งลงไปเพื่อให้อาร์เอฟอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้นไม่สามารถที่จะใช้งานได้อีก  เรียกว่า   Kill Command  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกอ่านโดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เหล่านั้นจะไม่สามารถนำกลับใช้ได้อีก  วิธีการนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะแก้ปัญหาเรื่องความลับส่วนบุคคล

o         ความหลากหลายในระยะการอ่าน

จากที่กล่าวมาข้างต้น  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มีคลื่นความถี่อยู่หลายช่วง  และแต่ละช่วงความถี่ก็มีระยะการอ่านที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คลื่นความถี่ต่ำ (LF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะไม่กี่เซนติเมตร  ในขณะที่คลื่นความถี่สูง (HF) สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ในระยะ 3 ฟุต  หากกล่าวถึงคลื่น UHF ระยะการอ่านก็ยิ่งไกลมากขึ้น  คือ สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ไกลถึง 300 ฟุต  ยิ่งไปกว่านั้นหากกล่าวถึง  Active RFID Tag ระยะการอ่านยิ่งไกลไปกว่านั้น

จากการที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) นี้มีระยะการอ่านที่หลากหลาย  ทำให้สามารถนำนำไปใช้ได้หลากหลาย  ตัวอย่างเช่น คลื่นความถี่ LF เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะการระบุบุคคล (Personnel identification)  หรือในกิจกรรมปศุสัตว์  หากเป็นคลื่นความถี่  HF ก็จะมีการนำมาใช้ในด้านการชำระเงินอัตโนมัติ (Electronic payment)   หรือลักษณะ Smart Shelf   ถ้าเป็นคลื่นความถี่  UHF ก็นำมาใช้งานในลักษณะการบริหารคลังสินค้า  เป็นต้น

o         ความสามารถในการบรรจุข้อมูลที่หลากหลาย

โดยปกติ  Passive RFID Tag  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้จำนวนหนึ่ง  ซึ่งเริ่มจากไม่กี่ตัวอักษรจนไปถึงจำนวนหลายพันตัวอักษร  อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน  มี Passive Tag  บางประเภทสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่านั้น   เช่น  Passive Tag  ของ  Maxell สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้มากถึง  4K bytes

เมื่อกล่าวถึงระบบการจัดการบรรจุข้อมูล   ในทางปฏิบัตินั้นมีสองลักษณะคือ 

1.                ลักษณะแรกคือการบันทึกข้อมูลเฉพาะรหัสไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ซึ่งรหัสนี้จะมีหน้าที่เฉพาะการชี้เฉพาะสำหรับวัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้น 

2.                ลักษณะที่สองคือการบันทึกทั้งรหัส  และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของวัสดุนั้น ๆ  ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

วิธีการจัดสรรระบบความจำของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับการทำงานที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  การจัดการแบบสองที่เลือกบันทึกข้อมูลบางส่วนไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะเป็นประโยชน์เมื่อโครงสร้างการทำงานทั้งระบบนั้นมิได้เป็นระบบ  On line  ทั้งหมด  ทำให้การใช้งานในบางส่วนนั้น  ไม่สามารถที่จะเข้าถึงฐานข้อมูลได้  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบันทึกข้อมูลบางส่วนไว้ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในทางตรงกันข้าม  เช่น  การใช้งานในระบบ  E-payment  ในบางกรณี  หากโครงสร้างของระบบเครือข่าย  สามารถที่จะเข้าถึงกันได้อย่างทั่วถึง  การเชื่อมโยงข้อมูลโดยการอาศัยรหัสของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ก็มีความเหมาะสมมากกว่า

นอกเหนือความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งานแล้ว  ข้อดีและข้อด้อยของระบบการจัดการหน่วยความจำในแต่ละประเภทก็แตกต่างกัน   ในกรณีที่จะบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบความปลอดภัย  เพื่อจะเป็นการป้องกันมิให้มีการบันทึกอื่น ๆ ทับลงไปในข้อมูลเดิมที่บันทึกไว้ก่อนหน้านั้น  ซึ่งอาจจะเป็นการบันทึกซ้ำโดยมิได้ตั้งใจก็ได้

o         ความสามารถในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้พร้อมกัน

จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์เอฟไอดี  (RFID) คือ  ความสามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้มากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน  เมื่อมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มากกว่าหนึ่งเข้ามาอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่าน (RFID Reader) อ่านข้อมูลได้  ตัวอย่างเช่น  ในการชำระเงินค่าซื้อสินค้าต่าง ๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตยังจำเป็นต้องอ่านบาร์โค้ดทีละรายการ  หากมีการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้  การชำระเงินในลักษณะในการซื้อในลักษณะนี้จะหายไป  เพียงแค่นำสินค้าที่มีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เข้ามาอยู่ในบริเวณที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อ่านข้อมูลได้  รายการสินค้าทั้งหมดก็จะปรากฏขึ้นมาทันที  นอกเหนือจากการนำมาใช้ในการชำระเงิน   หากนำความสามารถนี้มาใช้ในการนำสินค้าเข้าหรือออกโกดัง   จะทำให้การตรวจรับสินค้าเข้าและออกโกดังได้รวดเร็วมากขึ้น  ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องอ่านบาร์เโค้ดมาอ่านสินค้าทีละกล่อง

o         ความทนทาน

โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะมีความทนทานต่อความชื้น  และความร้อนมากกว่าบาร์โค้ด  จึงมีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มาใช้งานแทนบาร์โค้ดในงานบางส่วน  ตัวอย่างเช่น  การใช้ในห้องเย็น  เป็นต้น  นอกจากนั้น  Passive RFID tag  บางประเภทยังสามารถที่จะทนต่อสารเคมี และอุณหภูมิสูงได้อีกด้วย  จากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้น  ทำให้ Passive RFID Tag  สามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บาร์โค้ดไม่สามารถทำงานได้  เช่น  การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในห้องอบสีรถยนต์  เป็นต้น

o         ความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น

คุณสมบัตินี้จะเป็นจุดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Active RFID Tag เนื่องจากว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้มีระบบวงจรอิเลทรอนิคส์ และแบตตอรี่อยู่ในตัว  ทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้สามารถที่จะทำงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น  ตัวอย่างเช่น  การบันทึกความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้   จึงมีการนำ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้มาใช้ในการขนส่งอาหาร  เพื่อดูว่า อุณหภูมิระหว่างการขนส่งมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่   หากมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่อคุณภาพของอาหารระหว่างการขนส่ง  หรือการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้ไปติดกับสินค้าราคาแพง  หากมีใครต้องการขโมย  และทำการถอดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นี้ออก  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ดังกล่าวสามารถที่จะส่งข้อมูลไปเตือนที่ระบบส่วนกลางได้  อีกตัวอย่างที่มีการใช้งานกันอยู่  คือการนำ  Active RFID Tag  มาพัฒนาเป็น  Electronic Seal  เพื่อใช้ในการขนส่ง  เพื่อป้องกันการโจรกรรมตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างการขนส่ง  หากมีการแอบเปิดตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างขนส่ง  ก็จะมีการบันทึกเวลาที่มีการแอบเปิดไว้ในระบบ   ทำให้ทราบว่า  ระหว่างขนส่งนั้นมีการแอบเปิดตู้คอนเทนเนอร์เวลาใด 

จากคุณสมบัติเหล่านี้จะเห็นได้ว่า  บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำงานได้  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก  ในการทำงานที่ซับซ้อนเหล่านี้  ที่เทคโนโลยีบาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้

o         ความแม่นยำในการอ่าน

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จัดได้ว่า  เป็นเทคโนโลยีที่สามารถอ่านข้อมูลได้แม่นยำที่สุด  ซึ่งอาจจะไม่สามารถอ่านได้ถึง 100% เหมือนเช่นที่มีการคาดการณ์ไว้อย่างแพร่หลาย  ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านได้แก่

·         ประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะของคลื่นวิทยุที่ใช้  และขนาดของเสาอากาศมีผลต่อการอ่านทั้งสิ้น

·         กาารติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ตำแหน่งที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และวัสดุที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปติดนั้น  มีผลต่อความแม่นยำในการอ่านทั้งสิ้น 

·         สภาพแวดล้อมในการทำงาน  ในการทำงานสภาพแวดล้อมที่มีอุปกรณ์ที่มีผลต่อคลื่นวิทยุ  ย่อมมีผลในการอ่านทั้งสิ้น  เช่นหากนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ย่อมมีผลการอ่าน  ซึ่งจะมีผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หากใช้คลื่นความถี่สูง  เช่น UHF  ย่อมมีผลมาก

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  ก่อนที่กล่าวถึงรายละเอียดของการสื่อสารในแต่ละแบบ  อาณาเขตระหว่างเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถส่งสัญญาณคลื่นวิทยุได้ระยะสั้นเรียกว่า Near Field  ส่วนบริเวณที่ไกลออกไปเรียกว่า   Far Field  โดยปกติ Passive RFID ที่ใช้คลื่นความถี่  LF และ  HF จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณที่เรียกว่า  Near Field   ในขณะที่คลื่นความถี่  UHF หรือสูงกว่า  จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณ  Far Field   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สื่อสารในบริเวณ  Far Field สามารถที่จะติดต่อสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า

ลักษณะการสื่อสารข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีสามลักษณะคือ  Modulated backscatter, Transmitter type และ Transponder type

·         Modulated Backscatter  การสื่อสารลักษณะนี้  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะส่งคลื่นวิทยุในลักษณะต่อเนื่อง   (Continuous wave) ซึ่งจะส่งออกมาในลักษณะกระแส  AC  ผ่านเสาอากาศที่อยู่ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้รับกระแสจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เสาอากาศก็จะส่งพลังงานให้กับไมโครชิปที่อยู่ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   เพื่อให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มีกำลังไฟในการทำงาน  ซึ่งใช้กำลังไฟประมาณ  1.2 โวลท์  แต่ในกรณีของการเขียนข้อมูลจำเป็นต้องใช้กำลังไฟมากถึง  2.2  โวลท์จากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไมโครชิบเมื่อได้รับสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็จะทำการส่งข้อมูลกลับไปให้แก่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เมื่อเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้รับข้อมูลนี้  ก็จะทำการแปลค่าเหล่านั้น  การสื่อสารแบบนี้จะใช้สำหรับ  Passive และ  Semi-active

ในลักษณะการสื่อสารแบบนี้  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มต้นในการส่งข้อมูล  และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  จะส่งข้อมูลกลับมา  ในลักษณะนี้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไม่สามารถสื่อสารได้  หากไม่มีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เพราะว่าการทำงานในลักษณะนี้จะขึ้นอยู่กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นสำคัญ

·         Transmitter  การสื่อสารลักษณะนี้จะใช้กับ  Active RFID Tag  เท่านั้น  การสื่อสารในลักษณะนี้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะส่งข้อมูลเป็นช่วงเวลาที่กำหนดไว้  โดยไม่สนใจว่ามีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อยู่หรือไม่  ดังนั้นการสื่อสารแบบนี้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  จะเป็นอุปกรณ์ที่เริ่มการสื่อสารก่อนเสมอ

·         Transponder  การสื่อสารแบบนี้เช่นกับ  Active RFID Tag  บางประเภทเป็นพิเศษ  การสื่อสารแบบนี้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะไม่ทำงาน  หรืออยู่ใน  Sleep  mode เมื่อไม่มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   ในช่วงที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ใน Sleep Mode   อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อาจจะส่งข้อมูลออกมาเป็นระยะเพื่อตรวจดูว่า มีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือไม่  เมื่อเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้รับสัญญาณดังกล่าว  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็ส่งคำสั่งไปปลุก (wake up) ให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ทำงาน  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้รับสัญญาณนี้จากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็จะเริ่มทำการส่งข้อมูล   ในการสื่อสารแบบนี้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ส่งข้อมูลเมื่อได้รับสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เท่านั้น

ในการสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านอาร (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้นจะมีอยู่สองลักษณะคือ  การอ่าน  และการบันทึกข้อมูล

·         การอ่านสามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) พร้อมกันในเวลาเดียวกัน  หรือที่เรียกว่า  Tag collision  เมื่อมี  Tag มากกว่าหนึ่ง  Tag  ส่งสัญญาณกลับมาพร้อมกันให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จำเป็นต้องมี Protocol  เพื่อใช้ในการสื่อสารกับสัญญาณเหล่านั้น  เพื่อมิให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร  Protocol  ที่ใช้ในการสื่อสารเรียกว่า   Anti-Collision  ปัจจุบันมีอยู่สอง  Protocol  ที่มีการใช้การอย่างแพร่หลาย  คือ

o    ALOHA สำหรับคลื่นวิทยุ HF

o    Tree Walking สำหรับคลื่นวิทยุ UHF

นอกเหนือจากประเด็นที่กล่าวมา  การสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่ดีควรจะทำให้เกิด ความแม่นยำในการอ่าน (Read Robustness) สูง  ความแม่นยำในการอ่าน  หมายถึงจำนวนครั้งที่สามารถการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้นอยู่ในบริเวณการอ่าน  (Read Zone)   ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) ที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้ตลอดเวลา  ปัจจัยที่มีผลอย่างยิ่งต่อการอ่าน  คือ

·         ระยะเวลาที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ในบริเวณการอ่าน (Read Zone) ยิ่ง อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ในบริเวณการอ่านน้อยแค่ไหน  ความสามารถในการอ่านก็สั้นลงตามไปด้วย  

·          จำนวนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่อยู่ในบริเวณการอ่านก็มีผลต่อ เนื่องจากว่า  จำนวนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีมาก  ก็มีผลให้สามารถให้อ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้น้อยลง

·         ในกรณีของการบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นั้น การบันทึกข้อมูลจะใช้เวลานานกว่าการอ่าน  เพราะว่าการเขียนจะมีกระบวนการทำงานที่มากกว่า  ได้แก่  การยืนยันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  การลบข้อมูลเดิม  การบันทึกข้อมูลใหม่  และการยืนยันอีกครั้ง  ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลที่บันทึกลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะมีลักษณะเป็นบล๊อก  ซึ่งมีผลทำให้การทำงานมีขั้นตอนเพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นการบันทึกข้อมูลหนึ่งลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะใช้เวลามากกว่าการอ่านข้อมูล  นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลยังต้องการระยะเวลาที่มากกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกับการอ่าน   ระยะเวลาที่มากขึ้นมานั้นเป็นการยืนยันได้ว่า  การบันทึกข้อมูลนั้นต้องมีพลังงานมากพอ   และในท้ายที่สุด  การบันทึกข้อมูลลงใน อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เพียง  Tag  เดียวอยู่ในบริเวณที่บันทึกข้อมูล  มิฉะนั้น  การบันทึกข้อมูลอาจจะผิดพลาดได้  เพราะอาจจะบันทึกข้อมูลลงในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ผิด Tag ได้

เสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ติดต่อสื่อสารกับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) โดยผ่านทางเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ที่แยกออกจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยผ่านทางสายเคเบิล   หรือเป็นลักษณะที่รวมเข้ากับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เป็นอุปกรณ์เดียวกัน  ในกรณีที่เสาอากาศเชื่อมต่อกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยสายเคเบิล   ระยะห่างจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับเสาอากาศจะมีจำกัด อยู่แค่ 6 ถึง 25  ฟุต   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) หนึ่งเครื่องสามารถที่จะต่อเชื่อมกับเสาอากาศได้ถึง 4 เสาอากาศ

ขอบข่ายของเสาอากาศเครื่องอ่าน  (Antenna Footprint)

ขอบข่ายของเสาอากาศจะเป็นตัวกำหนดอาณาเขตการอ่าน   (Read Zone)  โดยทั่วไปขอบข่ายของเสาอากาศมีรูปทรงเป็นสามมิติ  คล้ายกับลักษณะของบอลลูน  ที่พุ่งตรงออกจากเสาอากาศ (เหมือนรูปด้านล่าง)  บริเวณในส่วนที่พุ่งออกมานั้น  จะเป็นบริเวณที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านได้ดีที่สุด

แต่ในความเป็นจริง ขอบข่ายการอ่านนั้นมิได้เป็นรูปแบบที่กล่าวไว้ข้างต้น  การอ่านของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) บ่อยครั้งที่จะมีรูปแบบที่มิได้เป็นมาตรฐานเช่นนั้นทำให้เกิดบริเวณที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่สามารถอ่านได้เรียกว่า   Dead Zone  ดังเช่นตัวอย่างด้านล่าง

ดังนั้น  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อยู่ในบริเวณที่คลื่นวิทยุของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ครอบคลุมถึง  แต่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มีการเคลื่อนไปสู่บริเวณ  Dead Zone   Tag  ดังกล่าวก็จะไม่สามารถที่จะอ่านได้  จะเห็นได้ว่า  ความสามารถในการอ่านในลักษณะนี้จะมีความแน่นอนที่ต่ำ  เพราะฉะนั้นในการติดตั้งเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  จำเป็นอย่างยิ่งต้องให้บริเวณการอ่านอยู่ในบริเวณที่อ่านดีที่สุด  ถึงแม้ว่าระยะทางระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะสั้นบ้างเล็กน้อยก็ตาม   จากลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาถึงขอบเขตการอ่านของเสาอากาศ  ก่อนที่จะมีติดตั้งเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

การตั้งเสาอากาศให้มีแนวทางเดียวกัน (Antenna Polarization)

จากที่กล่าวมาข้างต้น  เสาอากาศจะส่งคลื่นออกไปในบริเวณรอบ ๆ ทางที่คลื่นวิทยุนี้ส่งออกไปเรียกว่า  Antenna Polarization  ในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ระยะการอ่าน  ความแม่นยำในการอ่าน  จะขึ้นต่อ  Antenna Polarization  และมุมในการอ่านของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นอย่างมาก  ลักษณะของเสาอากาศ สำหรับคลื่น  UHF  จะมีสองลักษณะคือ 

·         Linear polarized

·         Circular polarized

การอ่านสำหรับเสาอากาศทั้งสองประเภทจะมีลักษณะเหมือนดังแผนภาพด้านล่าง

เสาอากาศแบบ Linear Polarized Antenna

เสาอากาศลักษณะนี้จะส่งคลื่นวิทยุออกมาในแนวเส้นตรง  ตามตัวอย่างด้านล่าง

เสาอากาศลักษณะนี้จะมีมุมในการอ่านที่แคบ แต่จะอ่านได้ในระยะไกลกว่า  ถ้าเปรียบเทียบ  เสาอากาศแบบ circular polarized   ซึ่งเสาอากาศแบบนี้จะง่ายในการกำหนดขอบเขตในการอ่าน  เพราะการอ่านเป็นเส้นตรง  เสาอากาศแบบนี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับการใช้งานที่  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อยู่ในตำแหน่งคงที่ ตำแหน่งของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สำหรับเสาอากาศลักษณะนี้มีลักษณะเหมือนตัวอย่างด้านล่าง

เสาอากาศแบบ Circular Polarized Antenna

เสาอากาศแบบนี้จะส่งคลื่นวิทยุออกมาในลักษณะเป็นวงกลมเหมือนดังภาพด้านล่าง  ดังนั้นคลื่นที่ออกมาจะมีจุดที่สูงที่สุด  และจุดที่ต่ำสุด                                

เนื่องจากลักษณะของคลื่นที่ออกมา  จะเห็นได้ว่า  เสาอากาศแบบนี้จะมีผลต่อตำแหน่งของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) น้อยกว่าเสาอากาศแบบแรก ดังนั้นเสาอากาศแบบนี้จึงเหมาะกับการใช้งานในลักษณะที่ตำแหน่งจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่สามารถที่จะคาดเดาได้  เสาอากาศแบบ circular polarized antenna จะมีมุมอ่านที่กว้างกว่า  ดังนั้นทำให้สามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้กว้างกว่า  ตำแหน่งของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สำหรับเสาอากาศประเภทนี้จะมีลักษณะเหมือนดังแผนภาพด้านล่างนี้

Reader collision

Reader collision จะเกิดขึ้นเมื่อมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มากกว่าหนึ่งเครื่องอยู่ในบริเวณการอ่าน (Read zone)   สภาพลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มากกว่าหนึ่งเครื่องส่งสัญญาณรบกวนกันเอง  เพื่อที่จะป้องกันปัญหาเหล่านี้  การติดตั้งเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่ควรที่จะติดตั้งในลักษณะหันหน้าเข้าหากันโดยตรง  หากจำเป็นต้องหันเสาอากาศเข้าหากัน  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งเสาอากาศทั้งสองให้ห่างกันพอสมควร   เพื่อที่จะให้คลื่นวิทยุของเสาทั้งสองไม่รบกวนกัน

นอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  สามารถเลือกใช้วิธี  Division Multiple Access (TDMA)  ด้วยวิธีนี้เสาอากาศทั้งสองจะทำงานไม่พร้อมกัน  แต่วิธีนี้อาจจะเกิดปัญหาที่ว่า  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หนึ่งตัวอาจจะถูกอ่านมากกว่าหนึ่งครั้ง  ด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) คนละตัว  ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องระบบซอฟท์แวร์ที่ทำการกรองเฉพาะ Tagที่สนใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอ่านซ้ำ

คอนโทรลเลอร์ (Controller)

คอนโทรลเลอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ภายนอกกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ยกตัวอย่างเช่น  การพิมพ์เอกสารผ่านเครื่องพิมพ์  คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีระบบซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อการพิมพ์เอกสาร  ลักษณะเดียวกัน  หากต้องการนำข้อมูลออกจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  คอมพิวเตอร์ก็จำเป็นต้องมีระบบ Controller

ระบบเซ็นเซอร์ (Annunciator หรือ Actuator)

จากที่กล่าวมาในข้างต้น  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่จำเป็นต้องเปิดทำงานตลอดเวลา  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะถูกตั้งให้เปิดและปิดทำงานได้ตามที่ต้องการ  การที่จะเปิดหรือปิดทำงานนั้น  อุปกรณ์ที่เรียกว่า  เซ็นเซอร์จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้  เซ็นเซอร์จะทำหน้าที่เปิดและปิดเครื่องอ่านเมื่อได้รับสัญญาณจากภายนอก  สัญญาณที่เข้ามานั้นมีสองลักษณะ คือ  Annunciator  และ  Actuator   สัญญาณที่เป็น Annunciator จะเป็นสัญญานที่เป็นระบบอิเลกทรอนิคส์  เช่น  เสียงเตือน  สัญญาณไฟ  เป็นต้น  สำหรับสัญญานที่เป็น Actuator นั้นเป็นสัญญานที่เป็นสัญญานด้านกลไกต่าง ๆ เช่น  ประตูเปิดหรือปิด  หรือสัญญานจากระบบ PLC

ระบบ Host และระบบซอฟท์แวร์

ระบบ  Host  และระบบซอฟท์แวร์จะรวมถึงระบบต่าง ๆ ทั้งฮาร์ดแวร์  และซอฟท์แวร์ที่แยกออกจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของอาร์เอฟไอดี (RFID) ระบบส่วนนี้จะประกอบด้วย

·         ระบบ Edge interface  ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ต่อเชื่อมระบบทั้งหมดเข้ากับฮาร์ดแวร์อาร์เอฟไอดี (RFID)   หน้าที่หลักของส่วนนี้คือ  รับข้อมูลจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   และเชื่อมโยงเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอุปกรณ์ภายนอก หรือการต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ภายนอกโดยตรงไม่ต้องผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เช่น เซนเซอร์ ต่าง ๆ  ระบบนี้จะใกล้ชิดกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นอย่างมาก  นอกเหนือจากหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  ระบบนี้อาจมีหน้าที่เพิ่มเติมอีกด้วย  ได้แก่

·         กรองข้อมูลสำหรือการอ่านซ้ำจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีหลายเครื่อง

·         จัดให้มีการตั้งระบบอัตโนมัติเมื่อได้รับข้อมูลจากเซนเซอร์ภายนอก

·         จัดระบบงานที่ซับซ้อนเช่น  การรวบรวม  หรือการเลือกส่งข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปสู่ระบบทั้งหลาย

·         การบริหารและจัดการเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

·         ระบบ Middleware  ระบบ Middleware เป็นระบบที่ต่อเชื่อมระหว่าง  Edge interface  และ ระบบซอฟท์แวร์ Back-end interface.  หน้าที่ของระบบ  Middlewareจะประกอบด้วย

·         การจัดแบ่งข้อมูลระหว่างจากภายในและภายนอกระบบ

·         การบริหารข้อมูลของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) อย่างมีประสิทธิภาพ

·         ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติการ

·         จัดการระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับระบบซอฟท์แวร์ในการใช้งาน

·         ระบบการต่อเชื่อมกับซอฟท์แวร์ Enterpriseback-end  เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบ middleware กับซอฟท์แวร์ enterprise back-end.  ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญในการปรับระบบเชื่อมกับกระบวนการจัดการ (Business process)  สาเหตุที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ  Middle ware  กับซอฟท์แวร์สำเร็จรูปได้  เนื่องจาก  ระบบ middleware ส่วนใหญ่เป็นซอฟท์แวร์ที่สำเร็จรูป  ดังนั้นการนำไปใช้งานจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข   เพื่อที่จะให้การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบ Middleware กับซอฟท์แวร์ enterprise back endเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ในปัจจุบันมีระบบซอฟท์แวร์ในการปฏิบัติการจำนวนมากที่มีการพัฒนาระบบเชื่อมต่อนี้ไว้ในโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น 

·         ระบบซอฟท์แวร์ Enterprise  Back End  ประกอบด้วยระบบซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติการทั้งหมด   ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เก็บข้อมูล  และกระบวนการในการปฏิบัติงานทั้งหมด  ในแง่ของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) ระบบซอฟท์แวร์ส่วนนี้  จะเป็นส่วนที่ฐานข้อมูลสำหรับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แต่ละอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่ระบบ  Middleware  ได้รับข้อมูล  และเพื่อปฏิบัติการต่าง ๆ

ระบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสาร

ระบบนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ในการต่อเชื่อมองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) เข้าด้วยกัน  ซึ่งการเชื่อมต่ออาจจะเป็นระบบสายหรือไร้สายก็ได้  ในแง่ของระบบสายอาจจะเป็นการเชื่อมต่อด้วย  Serial ระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) และคอมพิวเตอร์    ในกรณีของการเชื่อมต่อด้วยระบบไร้สาย  อาจจะเป็นระบบง่าย ๆ เช่นระบบ  Bluetooth  หรือ ระบบไร้สายอย่างกว้างขึ้นเช่น  ระบบ  WAN   หรือระบบดาวเทียม  เป็นต้น

สรุป

ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วน  โดยเริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) โดยเฉพาะ ได้แก่  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แต่องค์ประกอบสองส่วนนี้มิได้ทำให้ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในการนำไปใช้จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีอุปกรณ์  ได้แก่  อุปกรณ์ด้าน Networkต่าง ๆ  รวมถึงระบบซอฟท์แวร์ต่าง ๆ  เช่น   Middle ware   ERP software  เป็นต้น  ในการนำระบบทั้งหมดสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สอดคล้องกันอย่างดี 

โครงสร้างของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ในการเขียนข้อมูลนั้นสามารถเรียกว่า  เป็นกระบวนการเริ่มตั้งค่าในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เรียกว่า  Commissioning Tag  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันการเขียนก็สามารถใช้เป็นการลบค่าได้เหมือนกัน  หรือการบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งเรียกว่า   Decommissioning tag  

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี (RFID)  และในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีประกอบด้วย

·         ส่วนการส่งข้อมูล  ส่วนนี้จะรับผิดชอบในการส่งสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และรับสัญญาณจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ส่งกลับให้กับเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

·         ส่วนการรับข้อมูล  ส่วนนี้จะรับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้แล้ว  ส่วนนี้จะส่งข้อมูลต่อไปให้แก่ส่วนไมโครโปรเซสเซอร์

·         ไมโครโปรเซสเซอร์  รับผิดชอบในการสื่อสารกันระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ส่วนนี้จะเป็นตัวแปลงโปรโตคอล  แปลงข้อมูล และทำการตรวจสอบหลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)    ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แปลงข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลดิจิตอลสัญญาณอะนาล๊อก  (Analog)  ยิ่งไปกว่านั้นไมโครโปรเซสเซอร์นี้ยังประกอบด้วย Logic ต่าง ๆ ในการกรองข้อมูลและอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

·         ส่วนความจำ  ส่วนนี้ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)    ในการทำงานบางครั้ง  เมื่อส่วนที่ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และคอนโทรลเลอร์ (Controller)  หรือส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์  มีปัญหาในการทำงาน  ส่วนที่ทำหน้าที่ในการเก็บความจำนี้จะทำให้ข้อมูลที่อ่านจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่สูญหาย   การเก็บความจำนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำ   อย่างไรก็ตามหน่วยความจำในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็มีขนาดจำกัด  หากระบบในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) หยุดการทำงานเป็นเวลานาน  หน่วยความจำในเครื่องจำอาจจะไม่มากพอ  ทำให้ข้อมูลบางส่วนหายไปได้

·         ส่วนการรับและส่งออกข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก  เช่น  การรับข้อมูลจากเซนเซอร์  เป็นต้น  ในความเป็นจริง  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่จำเป็นต้องเปิดทำงานตลอดเวลา  เนื่องจากว่า อาร์เอฟไอดี (RFID Tag)  อาจจะเข้ามาในบริเวณเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่บ่อยเท่าที่ควร  ซึ่งลักษณะนี้หากเปิดเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไว้ตลอดเวลา  อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  ดังนั้นการทำงานส่วนนี้ จะเป็นการเปิด/ปิดเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เมื่อมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เข้ามาในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   ส่วนที่เป็นเซนเซอร์จะส่งข้อมูลไปกระตุ้นให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทำงาน  นอกจากนี้  ส่วนนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งออกข้อมูลด้วย  การส่งออกข้อมูลสามารถที่จะกำหนดได้ให้ส่งข้อมูลออกตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น  การเปิดและปิดประตู เป็นต้น

·         อุปกรณ์คอนโทรลเลอร์  คอนโทรลเลอร์นี้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสาร  ระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับคอมพิวเตอร์  หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่น  นอกจากนั้น  ยังเป็นส่วนควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

·         ส่วนการสื่อสาร  ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ส่วนนี้จะต่อเชื่อมระหว่างคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอก   อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารนั้น อาจจะทำได้หลายรูปแบบเช่น  การสื่อสารแบบ  Serial  หรือ แบบ  Network เป็นต้น  ในการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้  จะทำงานโดยผ่านการสั่งงานของคอนโทรลเลอร์  ซึ่งการติดต่อสื่อสารนั้น อาจจะเป็นการเก็บข้อมูล  การรับคำสั่ง  และส่งข้อมูลกลับ

·         ส่วนแหล่งพลังงาน  ส่วนนี้ทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยปกติส่วนนี้จะรับพลังงานจากภายนอก  และส่งผ่านเข้ามาเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยผ่านส่วนแหล่งพลังงานนี้

ประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

ในการจำแนกประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถแยกได้ตามการต่อเชื่อม   และการใช้งาน  หากแยกประเภทเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ตามลักษณะการต่อเชื่อมสามารถแบ่งได้เป็น  2 แบบ คือ การต่อเชื่อมแบบ  Serial   และ Network  หากแยกประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ตามการใช้งาน  สามารถแยกเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบติดตั้งอยู่กับที่  และเครื่องอ่านแบบมือถือ

1. การแบ่งแยกตามลักษณะการต่อเชื่อม

1.1. เครื่องอ่านอาร์เอฟไดี (RFID Reader) แบบ  Serial   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ  Serial  นั้นติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกโดยผ่านทาง   Serial  ซึ่งปกติแล้วจะต่อเชื่อมโดยผ่าน  RS232 หรือ RS485  โดย   RS485 จะสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า   จุดดีของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้คือ การสื่อสารสามารถเชื่อถือไว้มากกว่าเครื่องอ่านแบบ  Network    ทำให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะนำมาใช้งานพื่อทีจะลดปัญหาในการสื่อสาร  แต่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้ก็มีจุดเสีย  คือ  ความยาวของสายเคเบิล  นอกเหนือจากนั้น   Serial Port มีค่อนข้างจำกัด  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่อเชื่อมมากตามไปด้วย   ปัญหาต่อมาคือปัญหาการบำรุงรักษา  การบำรุงรักษาเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทีละเครื่อง  นอกเหนือจากปัญหาเหล่านี้แล้ว  ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูและรักษาสูงขึ้น

1.2. เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Network  นั้นติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบสาย  หรือไร้สาย  จุดเด่นของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้  คือ ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับความยาวของสายเคเบิ้ล  ที่ใช้ในการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์  ในการ  Update  firmware  สามารถทำได้ง่าย  ไม่จำเป็นต้องไปตรวจที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เหมือนเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ  Serial  ประเด็นนี้ทำให้การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ  ข้อเสียของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้  คือ  การต่อเชื่อมมีความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Serial  แต่อย่างไรก็ตามหากระบบโครงสร้างเครือข่ายมีปัญหา  ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีปัญหาไปด้วย อย่างไรก็ตาม  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะมีหน่วยความจำในตัว  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาของเครือข่ายได้ในบางส่วน

2.   การแบ่งแยกตามลักษณะการใช้งาน

2.1. เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบติดตั้งอยู่กับที่  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะติดตั้งไว้ที่ใดที่หนึ่ง  เช่นติดไว้ที่กำแพง หรือติดอยู่บนรถ  ในบริเวณที่กำหนดไว้ให้เป็นอาณาเขตของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   ราคาของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะถูกกว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบมือถือ  ทำให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบนี้มีการใช้งานที่แพร่หลายกว่า   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้มีหลากหลายชนิด  ตัวอย่างเช่น   Agile Reader  ซึ่งเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่สามารถใช้ได้หลายคลื่น  และสามารถใช้ได้กับอาร์เอฟไอดี (RFID Tag) หลายประเภท  นอกจากนี้ยังมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่สามารถพิมพ์บาร์โค้ด  และบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ในขณะเดียวกัน   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้สามารถทำงานได้ในสองลักษณะคือ   Autonomous  และ    Interactive

ในการทำงานแบบ   Autonomous  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ตลอดเวลา  ทุก ๆ ครั้งที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกอ่านจะเก็บข้อมูลไว้ในรายการที่เรียกว่า  Tag List   รายการที่อยู่ใน  Tag List  จะสอดคล้องกับเวลาในการอ่าน  หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่กำหนดไว้ไม่ถูกอ่านในเวลาที่  ก็จะถูกลบออกไปจากรายการ  ในรายการ  Tag list  จะประกอบด้วย

o    รหัสของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

o    เวลาในการอ่าน

o    อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกอ่านบ่อยแค่ไหน

o    เสาอาการที่ใช้ในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

o    ชื่อของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

สำหรับการทำงานแบบ   Interactive  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง  หรือจากผู้ใช้  หลังจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทำงานตามคำสั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะหยุดรอคำสั่งต่อไป

2.2  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบมือถือ  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะมีเสาอากาศฝังอยู่ในตัว  ทำให้ระยะการอ่านค่อนข้างสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบแรกที่กล่าวมา เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูง