Posts

การเปรียบเทียบเทคโนโลยี RFID และเทคโนโลยีการอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้ในการบริหารรถเป็นอย่างมาก  เทคโนโลยีการอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic Number Plate Recognition, ANPR) เป็นระบบการอ่านป้ายทะเบียนรถ ซึ่งใช้เทคนิค OCR (Optical Character Recognition)   โดยการใช้ระบบกล้อง Infrared ทำการถ่ายภาพป้ายทะเบียน  และใช้ระบบซอฟท์แวร์ทำการแปลงภาพที่อ่านได้เป็นข้อมูล  ในขณะที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID, Radio Frequency Identification)  เป็นอีกเทคโนลียีที่มีการนำมาใช้งาน  เพื่อใช้ในการบริหารจัดการรถ  โดยจะมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ติดที่ตัวรถ  และมีการติตตั้งเครื่องอ่าน (RFID Reader) ในจุดที่ต้องการเพื่อทำการส่งข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เมื่อมีการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้ในการบริหารรถ  แต่ทั้งสองใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน  ทั้งสองเทคโนโลยีมีความได้เปรียบและเสียเปรียบในแต่ละด้านดังต่อไปนี้

ความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

การรับส่งข้อมูลของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)  จะมี Protocol ในการสื่อสารระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ซึ่ง Protocol นี้จะลดข้อผิดพลาดต่าง ๆในการสื่อสาร และมีตรวจสอบข้อมูล (CRC) ว่า  ข้อมูลที่สื่อสารกันถูกต้องหรือไม่  ในขณะที่ระบบ ANPR จะใช้วิธีการถ่ายภาพข้อมูลที่ป้ายทะเบียน  และใช้ซอฟท์แวร์ทำการแปลค่าที่ถ่ายได้  ตัวอย่างเช่น  เมื่อได้ภาพจากป้ายทะเบียน  ระบบซอฟท์แวร์จะทำการประมวลผลว่า  ภาพที่ถ่ายได้มีความน่าจะเป็นที่เป็นตัวเลขใดโดยการเทียบข้อมูลที่มีอยู่  เช่น  97% เป็นเลข “1”  และ 80% เป็นเลข “7”  จากการประมวลผลดังกล่าว  ระบบ ANPR ก็จะแปลความหมายตัวเลขที่อ่านได้ว่า  เป็นเลข “1” เพราะความน่าจะเป็นมากกว่า  จากการที่ระบบ ANPR ใช้วิธีการแปลความจากภาพที่ถ่ายได้  ทำให้สภาพแวดล้อมมีผลต่อข้อมูลที่ได้รับ  ตัวอย่างเช่น  ป้ายทะเบียนที่เปียกชื้น หรือสกปรก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อภาพถ่ายที่กล้องจะจับภาพได้  ในขณะที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)  ใช้การเก็บข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุ  ดังนั้นสภาพแวดล้อมย่อมไม่มีผลการส่งข้อมูล

ความปลอดภัย

เนื่องจากเทคโนโลยี ANPR ใช้เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อนำมาประมวลผล  จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ  หากป้ายที่นำมาอ่าน เป็นภาพถ่ายทะเบียนรถที่มีความคมชัดสูง  ระบบ ANPR  ก็จะทำการแปลความหมายว่าเป็นทะเบียนรถ  ต่างจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)  ที่ข้อมูลที่เครื่องอ่าน (RFID Reader) นำมาประมวลผลนั้น  ต้องเกิดจากการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เท่านั้น  นอกจากนั้นระบบอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ยังรองรับการตั้งระดับความปลอดภัยในการอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  โดยปกติการตั้งระดับความปลอดภัยในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มีตั้งแต่การตั้งรหัสผ่าน  หรือการใส่รหัส  นอกเหนือจากการเพิ่มความปลอดภัยด้วยซอฟท์แวร์  ปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ยังมีการป้องการการปลอมแปลง  โดยอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะฉีกขาด  เมื่อมีความพยายามที่จะลอกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปติดที่รถคันอื่น

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) ได้มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี 1950  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยการใช้คลื่นวิทยุ  โดยจะมีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนชิ้นงานหรือสิ่งของต่าง ๆ   ทันทีที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ในอาร์เอฟไอดีแท็ก (RFID Tag)  ก็จะถูกส่งเข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติ 

ส่วนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent)  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนคนหรือใกล้เคียง  โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะรวมถึงการเรียนรู้  การวิเคราะห์ และแก้ปัญหา  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent) มีการนำอัลกอลิธัมต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ  เพื่อการทำคาดการณ์อนาคต  และทำการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี AI ไปใส่ไว้ในกล้อง เพื่อทำการคาดการณ์ลักษณะการเดิน หรือการเคลื่อนไหวของลูกค้าในร้าน  หรือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent) มาทำการคาดการณ์พฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าเป็นต้น

การทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เกี่ยวข้องโดยตรงกับความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล  และความเร็วในการระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ  ในขณะที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) จะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการคาดการณ์ และการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ตามข้อมูลที่ได้รับ   เมื่อมีการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้งานร่วมกัน   จะพบว่าเทคโนโลยีทั้งสองจะเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน   ตัวอย่าง เช่น

 เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)
ภาคการผลิต การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนชิ้นงานการผลิต  ผู้ผลิตสามารถที่จะรับรู้ได้ว่า กระบวนการผลิตแต่ละขั้นโดยอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องเสียเวลาให้เจ้าหน้าที่ที่หน้างานทำการอ่านข้อมูล   เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ  เพื่อที่จะระบุขั้นตอนการทำงานที่เป็นคอขวด และทำการวางแผนเพื่อจัดสรรทรัพยากรการผลิตให้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคการจัดส่ง การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่พาเลท หรือคอนเทนเนอร์การขนส่ง (Shipping container) ทำให้เราสามารถติดตาม  และคอยตรวจสอบการขนส่งเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ  ลดความผิดพลาดในการขนส่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)  จะทำการวิเคราะห์ที่ เพื่อกำหนดเส้นทางในการจัดส่งสินค้า ด้วยข้อมูลจากการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก เป็นต้น  
ภาคการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling)   การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เช่น รถ Forklift เป็นต้น  ช่วยทำให้ ทราบถึงตำแหน่งของอุปกรณ์เหล่านั้น  และสถานะว่าอุปกรณ์เหล่านั้นว่ามีการใช้งานอยู่หรือไม่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)  จะทำการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการใช้อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และช่วยนำข้อมูลไปวางแผนเพื่อการบำรุงรักษา

โดยสรุป เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต้องการข้อมูลเพื่อช่วยวิเคราะห์ปัญหา  และการคาดการณ์ต่าง ๆ  ในขณะที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง   และสามารถส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปที่ระบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นการนำเทคโนโลยีทั้งสองมาใช้งานร่วมกันทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการการทำงานเป็นอย่างมาก  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถวางแผนและคาดการณ์ได้แม่นยำเพิ่มมากขึ้น

RFID Technology For Item Unable To Attach RFID Tag

Attaching RFID tag to individual item can be trouble for some items such as screw or liquid product.  However, this is not an obstacle for using RFID technology.  Identify has development a RFID solution for those items that are unable to attach RFID tag.  We employ RFID sensor to manage the inventory of these items via the pressure.  Using the level of pressure on RFID sensor tag, our software will calculate the quantity of such product and translate this into inventory level.  The inventory of such item can be monitored in real time with minimum human input.

RFID Middleware On Cloud

Besides RFID reader and RFID tags, one essential factor for a successful RFID project is RFID middleware. RFID middleware plays significant part in any RFID projects. The key function of this software is to control RFID reader, to manage RFID reader reading function and to filter RFID tags. This software will filter and send the clean data to any software applications.


With the extensive experience in RFID technology, we found that many RFID projects fail because of RFID middleware. Some RFID middleware cannot manage RFID reader effectively. In addition, some projects need to invest a lot on the development of RFID middleware. This can be a key obstacle for SMEs.


To overcome above limitation, we have developed a RFID middleware on cloud solution. This middleware can work with multiple readers. Now our RFID middleware supports Speedway, Thingmagic (Jadak) and FEIG RFID readers. This middleware is in cloud based so it can connect with any RFID readers as long as they are in the same network. This will reduce the cost on middleware development and also reduce the cost on IT infrastructure.

Thai version https://www.thaipr.net/it/3408544.

Integrated UHF RFID Reader

Description  

The Kathrein ARU 2000 reader family is a basic RAIN RFID reader with an integrated antenna for indoor applications in logistics, manufacturing and supply chain applications. Its best in class 27-dBm UHF RF unit and connectivity interface PoE and the basic level processing unit allow for a flexible integration into Industry 4.0 and IoT solutions. Based on the latest RFID standards, such as EPC Gen2v2/ISO 18000-63, Kathrein ARU 2000 series support all market leading transponder chip features

Key Technica Data

  • Dimensions: 300 mm x 300 mm x 49 mm  
  • Computer Interface: TCP/IP
  • RF Interface: Internal antenna with 3 additional external antenna port
  • GPIO: 2 inputs and 2 outputs
  • DC Power: 10 to 30 VDC
  • Operating frequency: 920-925  MHz
  • Supported transponders: EPC C1 Gen 2
  • Reading distance typical: Up to 3-5 M
  • Operating temperature:  –20 °C up to +55 °C
  • Storage temperature: –40 °C up to +85 °C
  • Protection standard: IP40

RFID Battery-less Weight Scale

Identify has introduced a new solution to manage stock for small items such as screw, nut or etc. As it is widely known, it is impossible to attach RFID tag for these small items. However, this is not the limitation for applying RFID technology. We have employed RFID + Sensor technology as a RFID Battery-Less Weight Scale. Our system will calculate the inventory of item by weighting. See the VDO for detailhttps://www.youtube.com/watch?si=z8EEVOSCXTJSLh-6&v=DGoK0HdsyAY&feature=youtu.be

UHF Mobile RFID Reader

Description

CS108 is UHF Mobile RFID Reader that can work with all Androids, iOS and Windows operating systems.  This reader is a hybrid AutoID technology which provides both barcode and UHF RFID technology.  The reader enables fast reading than other UHD RFID Sled readers in the market.

Key Technical Data

  • Dimensions:  161 mm x 90 mm x 161 mm (LXWXH)
  • Weight : 639 g (without bar code)
  • RFID technology support: 
    • EPC global UHF Class 1 Gen 2
    • Reading distance: 5-10 M (tag and environment dependent)
  • Integrated antenna: Linear and circular polarized
  • Barcode: 2D barcode
  • Computer Interface: Bluetooth 5.0
  • Sealing: IP 54
  • Drop test: 1.2 M
  • Support OS: Win 7/Win 8/Win 10 (32 and 64 bits)/ Server 2003/2000
  • Power:  Battery 1250mAh, Lithium-Polymer; 3.7 V
  • Operating temperature: -20 °C to 55 °C
  • OS supports: Android, iOS, Window PC, Linux PC
  • Battery capacity: 3,400 mAh (standard battery)

Desk Top RFID Printer

Description 

Desktop RFID Printer is designed to encode RFID label at the competitive price.  With its integrated antenna, the RFID printer can encode short-pitch smart tags (16mm spacing).  This printer supports UHF EPC Gen2 (IEC 18000-63).

 Key Technica Data

  • Dimensions: 270x170x240 mm
  • Computer Interface: USB
  • Resolution: 300 DPI
  • Print Method: Thermal Transfer/Direct Thermal
  • Print Speed: 101.6 mm/second
  • Print Width: 106 mm
  • Print Length: Min 5 mm, Max 4000 mm
  • Core side: Max 215 mm
  • Thickness: Min 0.06 mm Max 0.25 mm
  • Types: Continuous form, Gap Label, Black Mark, Punching Hole
  • Ribbon Material: Wax, Wax/Resin, Resin
  • RFID Standard: EPC C1G2
  • RFID Frequency: UHF 920-925 Mhz.
  • Barcode: Code 39, Code 93, EAN 8/13, UPC A/E, Codabar, Code 128, QR code
  • Operation temperature: 5C to 40C

UHF USB RFID Reader

Description 

This RFID reader is integrated with circular polarized antenna and is powered directly by an USB cable, thus allowing to read RAIN RFID tags in an easy desktop environment.  It is designed for medium and short reading distance, which is the perfect choice for various applications such as points-of-sale, document tracking, tag programming stations, access control and so on.  The RFID reader supports the HID profile (native keyboard emulation) allowing to interact directly with legacy applications, office automation SW or any other generic solution requiring manual input.

Key Technical Data

  • Dimensions: 125 mm x 125 mm x 25 mm  
  • Computer Interface: USB
  • RF Interface: Internal antenna with an average gain of 0.7 dBi
  • DC Power: 5V +/- 5% – DC bus posered from USB
  • Operating frequency: 920-925  MHz
  • Supported transponders: EPC Class 1 Gen 2
  • RF Power Output: Configurable 18 levels from 8.56 dBm to 25.5 dBm
  • Operating temperature:  –10 °C up to +55 °C
  • Others: HID profile available

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี RTLS และ RFID

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีในการติดตามหรือค้นหาสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สองเทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงเป็นประจำคือ  RTLS (Real Time Location Tracking) และ RFID (Radio Frequency Identification) และในหลายครั้งที่มีกล่าวถึงเทคโนโลยีทั้งสองสลับกัน  เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองมีการใช้ในการติดตามหรือระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองก็มีความแตกต่างกันในหลายประการ

เทคโนโลยี RTLS เป็นการนำเทคโนโลยี Bluetooth, Ultra-wideband (UWB), หรือ Zigbee มาใช้ในการติดตาม  โดยวัตถุหรือสิ่งของที่จะติดตามต้อง Tag, iBeacon หรืออุปกรณ์ใดใด เช่น โทรศัพท์มือถือที่มี Bluetooth เป็นต้น โดย Tag ดังกล่าวจะส่งข้อมูลไปที่เครื่องรับ นอกจากนั้นในพื้นที่ที่ต้องการติดตามก็มีการติดเครื่องรับเพื่อรับสัญญาณจาก Tag ซึ่งอาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป  เช่น Anchor, Receiver เป็นต้น  นอกเหนือจากองค์ประกอบสองส่วนข้างต้น  ก็จะมีส่วนของซอฟท์แวร์ในการประมวลผลเพื่อระบุตำแหน่ง    ทันทีที่ Tag ส่งค่าไปที่เครื่องรับ  ซอฟท์แวร์ที่ต่อกับเครื่องรับจะทำการคำนวนค่าที่ได้รับ  และระบุตำแหน่งของ Tag  โดยปกติซอฟท์แวร์จะไปเชื่อมต่อกับแผนที่ของบริเวณที่ต้องการติดตาม  เพื่อที่จะให้สามารถแปลผลได้ว่า  Tag ดังกล่าว  อยู่ส่วนไหนของแผนที่  เช่นห้องประชุม หรือห้องอาหารเป็นต้น  เทคโนโลยีดังกล่าวตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวจะคำนวนด้วยซอฟท์แวร์

ในส่วนของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ก็จะมีอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกัน  คือวัตถุหรือสิ่งของที่ต้องการจะติดตามก็จะต้องมี Tag หากเป็น Passive RFID ก็จะเป็น Tag แบบไม่มีแบตตอรี่  ในกรณีที่เป็น Active RFID ก็จะเป็น Tag แบบมีแบตตอรี่  และก็จะมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่คอยรับค่าจาก RFID Tag  โดยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) จะติดตั้งในจุดที่ต้องการจะอ่าน RFID Tag เช่นประตูเข้าออก เป็นต้น   ส่วนสุดท้ายคือส่วนซอฟท์แวร์  ซึ่งซอฟท์แวร์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งของ RFID Tag ได้   เพียงแค่สามารถบอกได้ว่า  ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่าน (RFID Reader) ดังกล่าวหรือยัง  ตัวอย่างเช่น  ในกรณีที่ RFID Tag ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่ห้องประชุมเวลา 9.00   ซอฟท์แวร์สามารถที่จะบอกได้ว่า  RFID Tag อยู่บริเวณห้องประชุมในเวลาดังกล่าว  หากมีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์เพิ่มเติม  ก็จะสามารถบอกได้ว่า  RFID Tag ดังกล่าวเข้าหรือออกห้องประชุม  แต่ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า  อยู่ในบริเวณไหนของห้องประชุม      

เทคโนโลยีทั้งสองต่างก็มีการนำมาใช้เพื่อติดตามวัตถุหรือบุคคลทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตามการจะเลือกเทคโนโลยีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสำคัญของสิ่งของที่เราทำการติดตาม  หากเราต้องการรู้ถึงตำแหน่งของวัตถุดังกล่าวในลักษณะ Real time และต้องการทราบถึงตำแหน่งของวัตถุดังกล่าว  เทคโนโลยี RTLS ก็จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม  ในทางตรงกันข้ามหากต้องการทราบถึงการเคลื่อนไหว  ว่าวัตถุดังกล่าวผ่านจุดใดมาบ้าง  โดยไม่จำเป็นต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนในลักษณะ Real time เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ก็จะเป็นทางเลือกได้