Entries by

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  ก่อนที่กล่าวถึงรายละเอียดของการสื่อสารในแต่ละแบบ  อาณาเขตระหว่างเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถส่งสัญญาณคลื่นวิทยุได้ระยะสั้นเรียกว่า Near Field  ส่วนบริเวณที่ไกลออกไปเรียกว่า   Far Field  โดยปกติ Passive RFID ที่ใช้คลื่นความถี่  LF และ  HF จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณที่เรียกว่า  Near Field   ในขณะที่คลื่นความถี่  UHF หรือสูงกว่า  จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณ  Far Field   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สื่อสารในบริเวณ  Far Field สามารถที่จะติดต่อสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า ลักษณะการสื่อสารข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีสามลักษณะคือ  Modulated […]

โครงสร้างของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ในการเขียนข้อมูลนั้นสามารถเรียกว่า  เป็นกระบวนการเริ่มตั้งค่าในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เรียกว่า  Commissioning Tag  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันการเขียนก็สามารถใช้เป็นการลบค่าได้เหมือนกัน  หรือการบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งเรียกว่า   Decommissioning tag   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี (RFID)  และในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีประกอบด้วย ·         ส่วนการส่งข้อมูล  ส่วนนี้จะรับผิดชอบในการส่งสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และรับสัญญาณจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ส่งกลับให้กับเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ·         ส่วนการรับข้อมูล  ส่วนนี้จะรับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้แล้ว  ส่วนนี้จะส่งข้อมูลต่อไปให้แก่ส่วนไมโครโปรเซสเซอร์ […]

โครงสร้างของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)

ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  เป็นระบบที่ประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้ o       อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นส่วนประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) o       เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) o       เสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ในปัจจุบันเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) บางรุ่นมีการสร้างเสาอากาศรวมในตัวเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) o       กล่องควบคุม   ส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ในปัจจุบันกล่องควบคุมนี้จะถูกสร้างรวมเข้าไปอยู่กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) o       เซ็นเซอร์  หรืออุปกรณ์แสดงผล  อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ส่วนเสริมของระบบ o       ระบบซอฟท์แวร์  ในทางทฤษณีระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบส่วนนี้  แต่ในทางปฏิบัติแล้ว  ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) แทบจะไร้ความหมาย ถ้าไม่มีระบบส่วนนี้ o       โครงสร้างการติดต่อสื่อสาร   ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) […]

คลื่นวิทยุมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. Low Frequency (LF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 30 Khz  ถึง 300 Khz.  ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะใช้คลื่น 125 KHz ถึง 134 KHz  ความสามารถในการส่งข้อมูลในคลื่นนี้ค่อนข้างช้า  แต่สามารถใช้งานได้ดีในวัสดุที่เป็นของเหลว  หรือโลหะ  จะเห็นได้จากตารางข้างต้น  วัสดุที่เป็นโลหะ หรือน้ำจะมีลักษณะเป็น   RF-friendly ต่อคลื่นความถี่นี้ 2. High Frequency (HF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  ความถี่  13.56 Mhzจะเป็นความถี่ที่มีการใช้งานมากทีสุดในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)   เหมือนเช่นกับความถี่ LF ความถี่นี้จะใช้กับ  Passive tag  เป็นส่วนมาก  ความถี่นี้ใช้งานได้ปานกลางในวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว  และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล  เพราะความถี่นี้ไม่รบกวนอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน 3. Ultra High Frequency (UHF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  […]

RFID (อาร์เอฟไอดี) คืออะไร

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID – Radio frequency identification) คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  โดยอาศัยคลื่นวิทยุ  ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ  เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง  หรือการสแกนลายนิ้วมือ  เป็นต้น  ในส่วนนี้จะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ คลื่นวิทยุกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency and RFID Technology) จากที่กล่าวในขั้นต้นว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) อาศัยคลื่นวิทยุในการทำงาน  ดังนั้นเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง  คือคลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุ  (Radio frequency) เป็นคลื่น Electromagnetic ประเภทหนึ่ง  ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 0.1  ซม. ถึง 1,000 กม. หรืออยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hzและ 300 GHz    เมื่อเป็นคลื่นวิทยุจะเห็นได้ว่า  วัสดุที่นำใช้กับคลื่นวิทยุย่อมมีผลต่อการใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในวัสดุประเภทที่ที่คลื่นวิทยุสามารถผ่านได้สะดวกโดยไม่มีการสูญเสียพลังงาน […]