Posts

Active RFID: Real Time Location Tracking (RTLs)

The word “Real time location tracking (RTLS)” was created to describe and differentiate the technology that not only provided the automatic identification capabilities of active RFID tags, but also added the ability to view the location of the tagged objects.  It is a system used to automatically identify and track the location of objects or people in real time, usually within a building or other contained area.  Wireless RFID tags are attached to objects or worn by people, and fixed reference points receive wireless signals from RFID tags to determine their location.  

How it works

RTLS solutions comprise active RFID tags, technology platforms (Wi-Fi, Infrared, Bluetooth Low Energy, Low Frequency, ultrasound and others), hardware infrastructure (readers & exciters) and other components (servers, middleware & end-user software).  RTLS tag which is active RFID tag is affixed to mobile items to be tracked.  RTLS reference points, which can be either transmitters or receivers, are spaced throughout a building (or similar area of interest) to provide the desired tag coverage.

ID signals from a RFID tag is received by a multiplicity of readers and a position is estimated using one or more locating algorithms, such as   Angle of Arrival (AoA), Angle of Departure (AoD), Time of arrival (ToA), Multilateration (Time difference of arrival) (TDoA) or etc.  Localization with multiple reference points requires that distances between reference points in the network in order to precisely locate a RFID tag, and the determination of the location

Real Time Location Systems for Personnel and Assets

Identify has partnered with Extronics to provide real time location system for personnel and asset in hazardous area.  The system consists of

  • Active RFID tags
  • Tag Exciters
  • Software
  • Wireless access points

 

Active RFID tags

Active RFID tags contain their own batteries and transmit their ID signal at regular intervals, without needing external prompting.  The tags are certified with ATEX and IECEx  so they can be used in hazardous area.

Tag Exciters

Tag exciters use LF to trigger tags as they pass through, go into or out of a tightly defined area (e.g. a chokepoint, entrance point, room, sub-room, bridge, stairwell). The tag exciters help our RTLS pinpoint the exact location of people or assets, and even raise alarms if needed.  The exciters are also available in ATEX, IECEx, and North American hazardous area certified models

Software

The MobileView visibility platform enables you to track, locate, monitor, and manage your assets and personnel from a single platform. With purpose-built applications for personnel and asset management, evacuation monitoring, and condition monitoring is the industry’s most advanced end-user application for Real-time Visibility Solutions,

Wireless access points

We employs the standard Wi-Fi networks as a core infrastructure to pass wireless signals from tags to the network.  The same Wi-Fi networks can also be used for other Internet of Things solutions, such as data and voice services.

Using RFID technology to reduce Covit-19 contamination

Presently, many universities have worked with banks to use of ATM/debit cards as student ID cards. The current student ID in Thai-Nichi Institute of Technology is also ATM card which is issued by Bank of Ayudhaya.   Since the ATM card is embedded with RFID technology, Identify, being an RFID expert, has worked with Bank of Ayudhaya to maximize the usage of this RFID card.   

During Covit-19 pandemic, it is essential to record the timeline of individual student without any contact.  One key advantage of RFID technology is contactless ability.  Therefore, we have developed a self class attendance checking station.  The station is embedded with RFID reader and bar code scanner.  Students just simply place their student RFID cards on the station.  The station will automatically capture student ID which is in bar code format.  Simultaneously, the station will also record their RFID UIDs in order to ensure that this record is processed with the student card.  With the benefits of RFID technology, the station can totally eliminate any contact activity in order to Covit-19 contamination.

RFID Returnable Container Tracking

CHALLENGE

Returnable container is widely used in logistics activity.  However, managing this asset is one of the challenging tasks.  It is critical to have adequate quantity of this asset otherwise it can easily impact operation, but having this asset means investment.  The more you have this asset, the more investment you put on this.  Therefore, it is essential to balance the stock and the demand on this asset.  Most companies still employ manual to handle this asset, which leads to tracking errors and mishandling.   These assets have low level of ownership.  The assets are filled with products when they are shipped or delivered to the clients.  Once the products in the containers have been consumed, these assets are emptied and left in the site without proper management.  Identify has employs RFID technology to develop a solution to manage returnable asset.

SOLUTION

The RFID readers are installed at key strategic areas such as entrance and exit of warehouse or etc.  Each container is embedded with RFID tag.  When the containers are passed the RFID readers, the readers will automatically scan the RFID tag and send their information into database.  Our system will record the time and status of the container such as IN or OUT of warehouse without human intervention.  With the unique ID of RFID tag, we can effectively differentiate each container.  Our system can identify the usage time of each container, and the containers in client site.

RESULTS

  • Eliminate human operation on scanning individual container.
  • Reduce work force on data entry because information is automatically recorded into the system
  • Increase the visibility of returnable container.
RFID Tag
RFID Gate Reader

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) กับระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)

แนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS) จะให้ความสำคัญในการลดทรัพยากร  รวมทั้งเวลาที่ใช้ในกิจกรรมการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดพฤติกรรมใดใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต (non value added activities) หรือก่อให้เกิดความสูญเสีย (waste)  และกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต  ในแนวคิดของการผลิตแบบลีนนั้น กิจกรรมดังกล่าวได้แก่

  1. การผลิตสินค้ามากเกินไป (overproduction)  การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการจะก่อให้เกิดความสูญเสียในทุกกิจกรรมของการผลิต  รวมถึงเวลาที่ต้องจัดเก็บสินค้าเหล่านั้น
  2. การหยุดรอ  (waiting) การที่จะต้องหยุดรอชิ้นส่วน หรืองานต่าง ๆ จากการกระบวนการผลิตขั้นก่อนหน้า  จะทำให้เกิดความสูญเสียในด้านเวลาที่เสียไป
  3. การขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า (transport)  การที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น  ทำให้เกิดความสูญเสียในกิจกรรมการขนย้าน   
  4. กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)  กระบวนการทำงานในลักษณะนี้จะเกิดจากขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อนเกินความจำเป็น  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งในด้านการขนส่ง และแรงงานที่ต้องทำงานในกระบวนการดังกล่าว
  5. สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  ประกอบด้วยองค์ประกอบการผลิตที่ไม่ได้ใช้งาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในหลายด้าน ได้แก่  ต้นทุนในการจัดเก็บ คุณภาพของสินค้าที่เสียไปตามระยะเวลาในการจัดเก็บ
  6. กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)   การที่คนทำงานจำเป็นตัองเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต
  7. สินค้ามีตำหนิ (defect) การผลิตสินค้าที่มีตำหนิมีผลโดยตรงต่อความสูญเสีย ในด้านต้นทุนการผลิต และต่อเนื่องไปถึงรายได้ที่จะได้รับ

จากแนวคิดข้างต้น จะเห็นได้ว่า  กระบวนกการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลนั้น จะก่อให้เกิดความสูญเสียในหลายส่วนตามตารางด้านล่าง

ชนิดของความสูญเสียลักษณะของความสูญเสียหน่วยนับของความสูญเสีย
การผลิตมากเกินไป (Over production)เกิดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องถูกบันทึกเข้าสู่ระบบ  ซึ่งกรณีนี้สามารถทำให้เกิดการผลิตมากเกินไป  เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในระบบ และปริมาณสินค้าที่มีอยู่จริงไม่ตรงกัน ปริมาณสินค้าที่ผลิตเกิน
การหยุดรอ (Waiting)การเก็บข้อมูลด้วยบาร์โค้ดต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มาทำการอ่านบาร์โค้ด  จะใช้เวลามากกว่าในการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติเวลา
การเคลื่อนย้ายของสินค้า (Transport)ในกรณีที่มีการอ่านบาร์โค้ดผิด อาจจะมีผลทำให้สินค้าดังกล่าวต้องถูกเคลื่อนย้ายมาให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดทำการอ่านได้เวลา
กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้เสียเวลาในการทำงาน  เพราะเจ้าหน้าที่ต้องหยุดงานในการผลิตมาทำการอ่านบาร์โค้ดเวลา
สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะลดน้อยลง ปริมาณสินค้าที่ผลิต
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)กระบวนการทำงานที่เจ้าหน้าที่ต้องหยุดการทำงานในการผลิต เพื่อทำการอ่านบาร์โค้ดเพื่อทำการบันทึกข้อมูลเวลา
สินค้ามีตำหนิ (defects)สินค้าที่ผลิตแล้วมีตำหนิ ไม่สามารถใช้งานได้  ทำให้เกิดความสูญเสียวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปริมาณสินค้าที่เสียหาย

จากข้อจำกัดของเทคโนโลยีบาร์โค้ดที่ใช้ในการผลิตในปัจจุบัน  ทำให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เข้ามีบทบาทในการลดความสูญเสีย และช่วยให้ระบบการผลิตสามารถปรับตัวเป็นระบบการผลิตแบบลีน  (Lean Production, LPS)  ประโยชน์ของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ในการผลิตแบบลีน (Lean Production System LPS)  สามารถแยกพิจารณาได้เป็นสามประเด็น ได้แก่

  • การเก็บข้อมูล (Data collection)  จากที่เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถอ่านข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยคนมาทำงานอ่านเหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ทำให้การเก็บข้อมูลในขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ สามารถทำการเก็บข้อมูลแบบอัตโนมัติได้  ซึ่งมีผลโดยตรงทำให้ลดการสูญเสีย (waste) ในการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)  เจ้าหน้าที่ไม่ต้องมาหยุดการผลิตสินค้า  เพื่อทำการอ่านแถบบาร์โค้ด และทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นอกจากนั้นยังช่วยในการลดการเคลื่อนย้ายของสินค้าที่ไม่จำเป็น (transport waste) เจ้าหน้าที่ไม่ต้องยก (เคลื่อนย้าย) สินค้ามาทำการอ่านด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด  เมื่อสินค้าหรือวัสดุ มาถึงจุดที่ติดตั้งเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะทำการข้อมูลจาก RFID Tag ที่ติดมากับสินค้าอย่างอัตโนมัติ  โดยที่เจ้าหน้าที่ต้องมีการเคลื่อนไหวใดใด
  • การเชื่อมโยงของข้อมูล (Data Dependency)  หากการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างสินค้า และข้อมูลการผลิตมีความผิดพลาด มีผลให้เกิดความสูญเสียได้หลายประการ เช่น ความสูญเสียในการรอคอย (waiting) หากมีการอ่านบาร์โค้ดผิดพลาด  เจ้าหน้าที่อาจจะต้องเสียเวลาในการรอ  เพื่อทำการแก้ไขระบบ  หากมีการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดเข้าสู่ระบบ  เช่น การอ่านบาร์โค้ดผิด  หรือการรายงานจำนวนสินค้าที่กำลังผลิตแตกต่างไปจากความเป็นจริง  จะทำให้เกิดความสูญเสียในหลายด้าน  ได้แก่  ความสูญเสียในการเกิดสินค้าเสียหาย (defects) ความสูญเสียด้านการผลิตเกินจำนวน (overproduction) หรือความสูญเสียที่เกิดจากจำนวนสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ทำการอ่านข้อมูลเป็นอัตโนมัติ  ซึ่งผลให้ความผิดพลาดต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น  ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ให้คนทำการอ่านและบันทึกข้อมูลลดหายไป
  • เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) จะมีส่วนช่วยในการลดความสูญเสียในกระบวนการทำงาน  จากเดิมที่ใช้การเก็บข้อมูลแบบโดยอาศัยเจ้าหน้าที่จดลงในเอกสาร  แล้วนำมาบันทึกเข้าสู่ระบบส่วนกลางเพื่อประมวล  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ทำให้การเก็บข้อมูลทั้งระบบมีลักษณะอัตโนมัติ 
  • ความสามารถที่จะได้รับข้อมูลที่ทันเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการตัดสินใจในการผลิต  หากได้รับข้อมูลไม่ทันเวลา  อาจจะทำให้ความสูญเสียในการผลิตได้สองประการ  คือ การผลิตสินค้ามากเกินไป  (overproduction) หรือการมีสินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ของข้อมูลได้  ทำให้สามารถที่จะรับรู้ถึงข้อมูลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น  โดยสามารถที่จะรับทราบสถานะของสินค้าที่ทำการผลิต  ได้ตั้งแต่ระดับล๊อตการผลิต จนถึงระดับสินค้าหลายชิ้น และสามารถที่จะติดตามสถานะได้ไปตลอดทุกขั้นตอนการผลิต  นอกจากนั้นระบบยังสามารถที่ให้ข้อมูลในทันทีทันใดได้  การให้ข้อมูลในลักษณะนี้  ทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่พร้อมในการตัดสินใจใดใด  เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในสองลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น

สรุป

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS) โดยประโยชน์ที่จะได้รับสามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่าง

การบริหารสินค้าระหว่างการผลิต (WIP)การบริหารสินค้าคงคลังการบำรุงรักษาเครื่องจักรในการผลิตการควบคุมการผลิต
การผลิตมากเกินไป (Overproduction)ทราบถึงปริมาณสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตแต่ละขั้นรับทราบถึงปริมาณสินค้า/วัตถุดิบคงคลังส่งเสริมการบริหารการผลิตแบบ Just in Time
การรอคอย (Waiting)ทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหนทราบว่าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบอยู่ทีไหนทราบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรอยู่ที่ใด และมีสภาพอย่างไรเพิ่มความสามารถสินค้า หรือวัตถุดิบให้ตอบสนองต่อการผลิตได้มากยิ่งขึ้น
การขนส่ง (Transport)ทราบว่าสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตควรจะเคลื่อนย้ายไปที่ใดทราบว่าสินค้าที่ผลิตเสร็จที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ใดทราบว่าตำแหน่งของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่อยู่ใกล้ที่สุดสามารถทำการปรับสายการผลิตได้อ้ตโนมัติ
กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Inappropriate processing)ทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใดทราบว่าวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใดลดการผลิตที่ผิดพลาด จากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ผิดพลาดทราบว่าสินค้าหรือวัตถุดิบใดที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการทำงานขั้นใด
การเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary inventory)ลดข้อผิดพลาดในการจัดเก็บสินค้าระหว่างการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary motion)ลดขั้นตอนการทำงานแบบ Manualลดการนับแบบ Manualลดการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาแบบ Manual
เสียหาย (Defects)ลดความเสียหาย เนื่องจากสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทราบว่า  สินค้าหรือวัตถุดิบใดใกล้วัดหมดอายุ

แหล่งที่มา

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Report: Methodology for manufacturing process analysis for RFID implementation, BRIDGE Project, March 2008

Brintrup A, Roberts P, and Astle M. Definition of RFID Decision Support System for Manufacturing Applications, BRIDGE Project, June 2008

Werable RFID/Barcode Reader (HyWEAR Compact)

Description  

HyWEAR compact is a hybrid Barcode and RFID Wearable device that makes manual materials handling process more efficient by freeing both hands to perform work.  The device is installed on a comfortable handcuff, leaving the user’s fingers, hand and arm to work freely. The worker’s hands are completely to pick up and move items while doing warehouse or logistic operations. 

The device can read 1D barcode, 2D barcode and UHF RFID tag.  It provides the connectivity via Bluetooth and Wifi.  For the Wifi roaming, it can automatically switch from one radio cell to the next without logging in.  It has a high capacity, long-life rechargeable battery.  Should the battery require replacement during a work period, it can easily be replaced.

      Key Technical Data

  • Dimensions:  60 mm x 50 mm x 23 mm
  • Weight : 70 g
  • Computer Interface:
    • Wifi 2.4 Ghz with roaming function
    • Bluetooth 5.0
  • RFID technology support: UHF
  • Supported transponders: EPCglobal UHF Class 1 Gen 2
  • Barcode:
    • 1D: EAN-8, EAN-13, UPC-A, UPC-E, Code 128, Code 39, Code 93
    •  2D: DataMatrix, QR Code, Micro QR, Aztec Code, Maxi Code, PDF417, Micro PDF
  • Power:  Battery 1000mAh, Lithium-Polymer; 3.7 V
  • Operating temperature: -20 °C to 55 °C
  • Drop test: 1.5 M
  • Drop resistance : 500 rollovers from a height 50 cm
Wearable RFID Reader

การวิเคราะห์การลงทุนระบบอาร์เอฟไอดี (Cost and Benefit Analysis – RFID Implementation)

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขได้ (Quantiafiable cost and benefits)

  • ค่าใช้จ่าย
    • ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost)  ในการติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในด้านซอฟท์แวร์ ซึ่งรวมถึง Middleware และค่าใช้จ่ายในด้านฮาร์ดแวร์  ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นประกอบด้วย  อุปกรณ์ในระบบอาร์เอฟไอดีได้แก่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในกรณีของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น จะครอบคลุมเฉพาะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ใช้หมุนเวียนเท่านั้น (Reusable RFID Tag)  เนื่องจากว่าเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว   นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ทางด้านไอทีอื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ที่ต้องต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นต้น  และในท้ายที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ
    • ค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable cost) ค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  คือ ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งการที่จะสรุปว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้ค่าใช้จ่ายแปรผันหรือไม่นั้น  จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน  เป็นการใช้งานแบบระบบปิด (Close Loop)  หรือระบบเปิด (Open Loop)   ในกรณีของระบบปิด หมายความว่า  จำนวนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   จะคงที่เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถนำกลับมาใช้อีกได้   ดังนั้นในลักษณะนี้ ค่าใช้จ่ายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในระบบปิดจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่  แต่ค่าใช้จ่ายผันแปรผันสำหรับระบบปิด  ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่  ค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับวัสดุที่จะนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติด  เพราะว่าการนำกลับมาใช้หมายถึงว่า  การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เดิมไปติดกับวัสดุหรือชิ้นงานใหม่  จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลใหม่ทุกครั้งในการใช้งาน   สำหรับการใช้งานแบบระบบเปิด (Open Loop)  ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   และค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายแปรผัน   เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะติดไปกลับสินค้าหรือวัสดุดังกล่าว  ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกได้    ในส่วนนี้ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้
  • ประโยชน์ที่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้
    • ขั้นตอนการสแกนมีความเร็วขึ้น  เหตุผลพื้นฐานในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้คือ  เพิ่มความรวดเร็วการสแกน/การอ่านสิ่งของต่าง  ๆ  หรือต้องการให้การทำงานในขั้นตอนนี้เป็นอัตโนมัติ  เนื่องจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้อัตโนมัติ  ซึ่งในส่วนนี้อาร์เอฟไอดี (RFID) ช่วยลดเวลาการทำงาน  และค่าใช้จ่ายแรงงานที่ต้องสแกนวัสดุต่าง ๆ   การประเมินเป็นตัวเลขสามารถที่จะทำได้  โดยการคำนวนจากแรงงานและเวลาที่ลดไปเป็นเงินเท่าไร
    • ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาดจากการทำงาน จากการที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ทำงานอย่างอัตโนมัติ  ทำให้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยคน เช่น  การสแกนสินค้าผิด  การลืมบันทึกข้อมูล  หรือการส่งสินค้าผิดเป็นต้น  ทำให้สามารถที่จะประเมินได้ว่า  ข้อผิดพลาดที่ลดไปเป็นมูลค่าเงินเท่าไร  ซึ่งจะรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่ทำให้ถูกต้องด้วย  เช่นการส่งสินค้าไปใหม่ ในกรณีส่งสินค้าผิด  หรือการหาสินค้าเพื่อมาทำการสแกนย้อนหลัง  เป็นต้น
    • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสาร  เนื่องจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติไม่มีการใช้เอกสารในการจดบันทึก ทำการการทำงานทั้งหมดเป็นลักษณะไร้เอกสาร (Paperless)  ทำให้ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการจ้างเจ้าหน้าที่มาทำการบันทึกข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเอกสาร
    • ค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบข้อมูล  เนื่องจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้  โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลส่วนกลางตลอดเวลาเหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด   การที่การทำงานสามารถที่จะดึงข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊กได้โดยตรง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ (Non quantifiable cost and benefits)

  • ความเสี่ยง
    • ตามที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ประกอบด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์  โดยฮาร์ดแวร์นั้นจะประกอบด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถประเมินได้  เช่น  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่สามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ครบตามที่ต้องการ  เพราะว่าสภาพแวดล้อมการทำงานมีวัสดุที่มีผลต่อการอ่านเช่น โลหะหรือความชื้น  เป็นต้น  ในส่วนของซอฟท์แวร์  เพื่อให้การใช้อาร์เอฟไอดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซอฟท์แวร์อาร์เอฟไอดีจำเป็นต้องต่อเชื่อมกับซอฟท์แวร์อื่น ๆ เช่น ERP เป็นต้น  ประเด็นสำคัญในส่วนชองซอฟท์แวร์คือคุณภาพของข้อมูล  จากการที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อัตโนมัติ  ดังนั้นข้อมูลที่เข้ามาในระบบจะมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง  จึงเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  จะต้องประมวลผลและส่งเฉพาะข้อมูลถูกต้องเข้าสู่ระบบเท่านั้น  มิฉะนั้นข้อมูลที่ส่งเข้าไปสู่ระบบอื่น ๆ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้  
    • ความปลอดภัยของข้อมูลในอาร์เอฟไอดี  เนื่องจาก UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะอ่านได้ด้วยเครื่องอ่าน (RFID Reader) ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   ดังนั้นจึงเกิดความเสี่ยงที่ว่า  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ใดใดก็สามารถอ่าน UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ของเราได้
    • ความเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี   ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสาร   ดังนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรฐานคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   นอกเหนือจากมาตรฐานในด้านคลื่นความถี่แล้ว   มาตรฐานอีกด้านที่ต้องพิจารณาถึงคือ  มาตรฐานในการสื่อสารระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   จำเป็นต้องอย่างยิ่งต้องให้สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้อาร์เอฟไอดีได้อย่างทั่วถึง    
  • ประโยชน์
    • การวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ   ในกรณีที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาช่วยในกระบวนการผลิต   จะทำให้ได้ข้อมูลของกระบวนการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็ว    จากที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขึ้น  ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งในส่วนนี้อาจทำให้ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตได้
    • ปรับปรุงกระบวนการทำงาน การนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาใช้งาน  จะควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน  กระบวนการทำงานใหม่ที่เกิดจากการนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ไม่จำเป็นต้องเกิดจากความสามารถในการเก็บข้อมูลอย่างอัตโนมัติ  แต่สามารถเกิดจาการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน   ทำให้ลดการทำงานบางขั้นตอน หรือทำงานบางขั้นตอนได้มีประสิทธิภาพมากขั้น
    • ปรับปรุงคุณภาพในการบริการ  จากประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีในขั้นต้น  ได้แก่ความรวดเร็วในการทำงานและการผิดพลาดน้อยลง  ย่อมมีผลทำให้การบริการดีขึ้นตามไปด้วย  ตัวอย่างเช่นการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาช่วยในการจัดส่งสินค้า มีผลทำให้ส่งสินค้าที่ผิดพลาดน้อยลง   เป็นต้น   ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น
    • เพิ่มชื่อเสียงให้แก่บริษัท  ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ในปัจจุบันถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีของอนาคต  ทำให้หน่วยงานที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้ก็จะถูกมองว่าเป็นบริษัทที่นำสมัยไปพร้อมกันด้วย
    • เพิ่มความร่วมมือกันระหว่างบริษัท  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจะมีการใช้ทั้งห่วงโซ่การผลิต  ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงปลายทาง  จะเห็นได้ว่า  มีหลายบริษัทที่ให้ผู้ผลิตของตนติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตั้งแต่โรงงานที่ผลิตสินค้า  เพื่อให้แต่ละบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน  สามารถที่จะใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ร่วมกันได้    

การประเมินการลงทุน

หลังจากที่ได้ทำการแจกแจงรายละเอียดทั้งหมด  ผู้ใช้งานจำเป็นต้องการประเมินค่าใช้จ่าย  และผลประโยชน์ที่ได้รับ  อย่างไรก็ตามประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ ย่อมมีความสำคัญที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร  ในการประเมินค่าปัจจัยเหล่านี้ อันดับแรกต้องทำการจัดอันดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยก่อน  หลังจากนั้นให้ทำการให้คะแนนในแต่ละปัจจัย  โดยปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงทำการให้คะแนนเป็นลบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น   ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นประโยชน์ให้ทำการให้คะแนนเป็นบวกถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ  หลังจากนั้นให้ทำการคำนวนค่าทั้งหมด โดยการนำคะแนนที่ได้รับคูณอันดับความสำคัญ  และทำการรวมผลทั้งหมด  จะทำให้ทราบว่า การลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดีให้ผลเช่นไร  เมื่อได้คะแนนทั้งหมดให้นำมาเปรียบเทียบกับการประเมินทางด้านการเงิน (ในส่วนของปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถประเมินเป็นเงินได้)   เพื่อนำมาตัดสินใจในการลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดี  อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจนั้น  สามารถที่จำดำเนินการในลักษณะเปรียบเทียบได้  โดยการนำแนวทางการคำนวนดังกล่าวไปใช้กับเทคโนโลยีอื่น เช่น เทคโนโลยีบาร์โค้ด  หรือ OCR  เพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นว่า  การลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันอย่างไร

Source: RFID and Internet of Things: Technology, Applications and Security Challenges (Jan 2010), Benjamin Fabian, Oliver Gunther and Holger Ziekow,

Outdoor RFID Label – Metal Products

RFID and metal product is always challenging work. RFID on metal hard tag can be used but its cost is not justified for one time used application. However, on-metal label cannot withstand outdoor environment. Identify proposed new outdoor RFID label for metal identification which requires one time used and be able to work in outdoor environment. The key features of label are:

  • Frequency: UHF
  • Mounting method: Industrial adhesive, 150g/SQM Glue
  • Material: PET
  • Environment: Outdoor, Weather and water resistance
Outdoor On Metal RFID Label

การเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID TAG SELECTION)

  • คลื่นความถี่   ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ทำงานด้วยคลื่นวิทยุ  ที่ใช้ในการสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เปรียบเสมือนสถานีวิทยุที่ทำการส่งคลื่นความถี่วิทยุออกมา  ในขณะที่เครื่องวิทยุของเราก็เหมือนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   การที่จะทำให้สถานีวิทยุสามารถสื่อสารกับวิทยุของเราได้  ก็จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เดียวกัน  ในกรณีของอาร์เอฟไอดี (RFID System) ก็เช่นเดียวกัน   จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ใช้คลื่นความถี่อะไร   เพื่อที่จะได้เลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่อยู่ในความถี่เดียวกัน   ในปัจจุบันคลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  จะมีสามคลื่นความถี่ประกอบด้วย
    • Low Frequency (LF) อยู่ในช่วง 30-300 kHz
    • High Frequency (HF) อยู่ในช่วง 3-30 MHz
    • Ultra High Frequency (UHF) อยู่ในช่วง 300-3000 MHz

คลื่นความถี่ของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะเป็นตัวกำหนดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่จะเลือกใช้  ตัวอย่างเช่น  ในกรณีที่ผู้ผลิตจะต้องติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สำหรับสินค้าของตนที่ส่งออกไปที่ Walmart  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ต้องใช้  คือ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่ทำงานในช่วงคลื่น UHF ระหว่าง 902-928 MHz เพราะเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ใช้งานในที่ Walmart ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว

นอกเหนือจากคลื่นความถี่  อีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือมาตรฐานในการส่งข้อมูล (Air Interface Protocol) ระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   ในกรณีของการทำงานในคลื่น UHF มาตรฐานกลางที่ใช้ได้แก่  EPC C1G2  เป็นต้น  เพื่อให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สามารถสื่อสารกันได้  จำเป็นต้องมีมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกัน  หรือกรณีอาร์เอฟไอดี (RFID) ในช่วงคลื่นความถี่ 13.56 Mhz.  ประกอบมาตรฐาน ISO14443A,  ISO14443B, ISO14443C และ ISO15693 เป็นต้น  จำเป็นอย่างยิ่งต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่มาตรฐานเดียวกัน  

  • ระยะการอ่าน   ระยะการอ่านหมายถึง  ระยะทางระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะสื่อสารกันได้ ปัจจัยดังกล่าวมีผล อย่างมากต่อระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ที่ทำงานในคลื่นความถี่ UHF เนื่องจากการสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในคลื่นดังกล่าวมีระยะการอ่านที่หลากหลายมาก  ตั้งแต่ระยะการ 1-2 ซม  จนถึง 5-6 เมตร  ซึ่งอาร์เอฟไอดี แท๊ก (RFID Tag) แต่ละประเภทจะส่งผลการอ่านไม่เท่ากัน   ถึงแม้ว่าจะทำงานในคลื่นความถี่เดียวกัน  และในมาตรฐานเดียวกันก็ตาม  เพราะว่าความสามารถหรือระยะในการอ่านเกิดจากรูปแบบเสาอากาศที่อยู่ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามารถสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้ในระยะที่ระบบต้องการ      
  • สภาพแวดล้อมที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) พื้นผิววัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีผลอย่างมากต่อการทำงานของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  องค์ประกอบที่จะต้องคำนึงถึงประกอบด้วยลักษณะการใช้งานของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  หากการใช้งานเป็นลักษณะกลางแจ้ง  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกควรได้รับการออกแบบให้สามารถทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้ง  อาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Label) อาจจะไม่สามารถทำงานในสภาพดังกล่าวได้ นอกจากนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิในการทำงานในบางกรณีต้องผ่านความร้อนสูง  ดังนั้นควรจะเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามารถทำงานในอุณหภูมิความร้อนสูงได้  มิฉะนั้นแล้วความร้อนอาจทำให้ IC ชิป หรือเสาอากาศของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เสียหายได้   ในท้ายที่สุดคือสภาพแวดล้อมที่ใช้งานรบกวนการส่งคลื่นวิทยุหรือไม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพแวดล้อมที่เป็นโลหะ  ทั้งความชื้นและโลหะมีผลการต่อส่งคลื่นวิทยุ  โดยความชื้นจะทำการดูดซึบคลื่นวิทยุ  ในขณะที่โลหะจะหักเหคลื่นวิทยุ  ดังนั้นควรจะเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามาถทำงานบนสภาพดังกล่าวได้  ในกรณีที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดบนกล่องพลาสติก อาร์เอฟไอดีแท๊ก ธรรมดาที่เป็นสติกเกอร์ (RFID Label) สามารถใช้งานได้  ในทางตรงกันข้ามหากการใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนสภาพแวดล้อมที่เป็นโลหะ อาร์เอฟไอดีแท๊กแบบสติกเกอร์ (RFID Label) ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้  ในกรณีดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ได้รับออกแบบเป็นพิเศษที่สามารถติดบนโลหะและทำงานได้เป็นต้น
  • ข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ตามที่ทราบอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นส่วนที่ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  โดยข้อมูลที่กล่าวถึงนี้ประกอบด้วยข้อมูลสองประเภทได้ ข้อมูลที่บันทึกเข้าไปใน IC ชิปของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และข้อมูลที่จำเป็นต้องมองเห็น ข้อมูลที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ส่งให้เครื่องอ่านจะเป็นข้อมูลที่บันทึกใน IC ชิป  ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกจำเป็นต้องมีขนาดความจำใน IC ชิปที่เพียงพอต่อความต้องการของระบบ  การใช้งานในบางกรณีผู้ใช้งานต้องการให้บันทึกข้อมูลเป็นที่เป็นรหัสสากลต่าง ๆ  เช่น  Serialized Global Trade Item Number (SGTIN) หรือ  EPC Global Standard เป็นต้น  ในการบันทึกรหัสดังกล่าว  หน่วยความจำในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  96 bits ก็น่าจะเพียงพอ  อย่างไรก็ตามในบางอุตสาหกรรมเช่นอุตสาหกรรมการบิน  จำเป็นต้องมีบันทึกข้อมูลมากขึ้น  ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกใช้ก็ต้องมีหน่วยความจำมากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากข้อมูลที่บันทึกลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แล้ว  การเลือกใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จำเป็นต้องคำนึงข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการมองเห็นด้วย  เช่น  บาร์โค้ด  ในกรณีที่ต้องการใช้งานเป็นการใช้ร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีบาร์โค้ด  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่เลือกจำเป็นต้องรองรับทั้งสองเทคโนโลยี  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกจำเป็นต้องสามารถพิมพ์รหัสบาร์โค้ดด้วย  โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เป็นสติกเกอร์จะรองรับการพิมพ์อยู่แล้ว  ผู้ใช้งานสามารถที่จะพิมพ์รหัสบาร์โค้ดไปบนอาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Label) ได้  ด้วยเครื่องพิมพ์สติกเกอร์  แต่ถ้าเป็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) รูปแบบอื่น เช่น RFID Hard Tag เป็นต้น  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะนี้ไม่สามารถที่จะพิมพ์ ด้วยเครื่องพิมพ์ได้  อาจจะต้องใช้เทคโนโลยี อื่นในการพิมพ์บาร์โค้ด  เช่นการยิงเลเซอร์ เป็นต้น 

  • ขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พื้นที่ที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะติดเป็นอีกปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง  ตัวอย่างเช่นหากนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดบนรถขนสินค้า ก็จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะมีขนาดเท่าใดก็ได้  เพียงแค่ทำงานได้ตามที่ระบบต้องการ  ในทางตรงกันข้ามหากนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปติดบนอุปกรณ์การแพทย์  หรือเครื่องมือช่างต่าง ๆ  ขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ก็จำเป็นต้องมีขนาดเล็ก  เพราะอุปกรณ์เหล่ามีพื้นที่จำกัด  อย่างไรก็ตามอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีขนาดเล็กลง  ก็จะมีผลทำให้ระยะการอ่านสั้นลงไปด้วย 
  • วิธีการยึดติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับอุปกรณ์หรือชิ้นงานต่าง ๆ มีรูปแบบอย่างไรบ้าง    โดยทั่วไปการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก มีรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • การรัดด้วย Cable Ties  การใช้ Cable Ties รัดจะรูปแบบที่ง่ายและรวดเร็ว  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ยึดติดแบบนี้  จะมีสาย Cable  ในตัว  วัตถุประสงค์ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้นอกเหนือจากการยึดติด  ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
    • การฝังเข้าไปในอุปกรณ์ที่จะติด  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะฝังเข้าไปชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่จะติดเลย 
    • การยึดติดด้วยกาว  การติดด้วยกาวเป็นวิธีพื้นฐานในการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีการใช้การยึดติดแบบนี้สำหรับสินค้าทั่วไป  อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการพัฒนากาวที่ใช้ติดไปค่อนข้างมาก  มีการนำกาวอุตสาหกรรมมาใช้ในการยึดติด ทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ยึดติดด้วยกาวอุตสาหกรรม  สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมตามไปด้วย จากเดิมที่เคยใช้ได้เฉพาะสินค้าทั่วไป 
    • การยึดติดด้วยการยึดด้วยตะปู   ในกรณีที่ต้องการให้การยึดติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีความแน่นหนา  เพื่อการใช้งานอย่างถาวร  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  บางประเภทมีการออกแบบให้รูเพื่อการยึดติดด้วยตะปู เป็นต้น
    • การเชื่อม อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บางประเภทออกแบบมาให้ยึดติดด้วยการเชื่อมเพื่อความแน่นหนา  โดยปกติแล้ว อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะใช้งานสำหรับการยึดติดที่เป็นภาคอุคตสาหกรรมหรือเครื่องจักรต่าง เป็นต้น

สรุป  ในปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีค่อนข้างหลากหลายประเภท  ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เหมาะสมการลักษณะการทำงาน เพื่อให้ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

NFC Network RFID Reader

Description  

This network reader a cost effective alternative to traditional access control solutions. The fast Ethernet interface (10BASE-T / 100BASE-TX) allows an easy integration into IP-based network infrastructures with CAT-5 cables.   It combines the functions of an intelligent controller with Ethernet interface and a RFID smart card reader in one compact device.  This reader supports passive transponder according to ISO / IEC 14443 type A and type B, ISO / IEC 15693 and communicates with NFC devices (ISO / IEC 18092).

Key Technical Data

  • Dimensions: 84 mm x 84 mm x 22 mm  
  • Housing: Plastic ASA / Front panel: acrylic glass
  • Weight approx. 150 g
  • Interface: TCP/IP
  • Protection class: IP 54
  • RF Transmitting power 250 mW ± 2 dB
  • Supply voltage Power over Ethernet (PoE), IEEE802.3af; alternative: ext. power supply 24V up to 48 V DC ± 10%
  • Current consumption maximum 2.6 W (IEEE802.3af  Powered Devices Class: 1)
  • Operating frequency 13.56 MHz
  • Supported transponders: ISO 14443-A, ISO 14443-B, ISO 15693, and NFC tags  
    • Mifare® classic (mini,1k,4k), Mifare® UltraLight, Mifare® DESfire, Smart MX, my-dTM proximity, my-dTM move
    • I-CODE SLI, my-dTM vicinity, STM LRI512, Tag-it HFI, etc.
    • NFC Type 1, 2 and 4
  • Reading / Writing distance typical: 3 up to 5 cm
  • Operating temperature:  –20 °C up to +55 °C
  • Storage temperature: –40 °C up to +85 °C
  • Relative air humidity: 95 % (non condensing)
  • Standard conformity:
    • Radio license: Europe EN 300 330   USA FCC 47 CFR Part 15   Canada IC RSS-GEN, RSS-210, RSS-212 EMC EN 300 489
    • Safety   Low voltage EN 60950  
    • Human Exposure EN 50364 Environment RoHS-2002/95/EC  WEEE-2002/96/EC
NFC Network Reader

New Sony NFC Reader

Description  

RC-S300/S1 is a USB Reader/Writer that can communicate with various cards such as Felica cards and ISO/IEC14443 cards. This reader newly supports max OS while maintaining compatibility with RC-S380/S. Also, a new LED shows the communication status between the card and the reader.

Key Technical Data

  • Dimensions: 59.5 10.5 x 96 mm  
  • Weight approx. 33 g
  • Interface: USB
  • Operating frequency 13.56 MHz
  • Supply voltage: DC 5V Max, 200 mA during operation
  • Supported transponders: ISO 14443-A, ISO 14443-B, ISO 18092, ISO15693
    • FeliCa standard, FeliCa Lite-S, FeliCa Link, FeliCa Plug (NFC Dynamic Tag), Mobile FeliCa IC mobile phone
    •  Mifare Classic, Mifare Ultralight/Ultralight C, Mifare DESFire/DESFire eV1, Mifare Plus
  • Reading / Writing distance typical: 20 mm
  • Operating temperature:  5 °C up to 35 °C
  • Storage temperature: –20 °C up to +60 °C
Sony
NFC Reader RCS300-S1