การวิเคราะห์การลงทุนระบบอาร์เอฟไอดี (Cost and Benefit Analysis – RFID Implementation)

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขได้ (Quantiafiable cost and benefits)

  • ค่าใช้จ่าย
    • ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost)  ในการติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในด้านซอฟท์แวร์ ซึ่งรวมถึง Middleware และค่าใช้จ่ายในด้านฮาร์ดแวร์  ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นประกอบด้วย  อุปกรณ์ในระบบอาร์เอฟไอดีได้แก่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในกรณีของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น จะครอบคลุมเฉพาะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ใช้หมุนเวียนเท่านั้น (Reusable RFID Tag)  เนื่องจากว่าเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว   นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ทางด้านไอทีอื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ที่ต้องต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นต้น  และในท้ายที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ
    • ค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable cost) ค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  คือ ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งการที่จะสรุปว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้ค่าใช้จ่ายแปรผันหรือไม่นั้น  จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน  เป็นการใช้งานแบบระบบปิด (Close Loop)  หรือระบบเปิด (Open Loop)   ในกรณีของระบบปิด หมายความว่า  จำนวนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   จะคงที่เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถนำกลับมาใช้อีกได้   ดังนั้นในลักษณะนี้ ค่าใช้จ่ายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในระบบปิดจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่  แต่ค่าใช้จ่ายผันแปรผันสำหรับระบบปิด  ส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้ใหม่  ค่าแรงงานที่ต้องใช้ในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับวัสดุที่จะนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติด  เพราะว่าการนำกลับมาใช้หมายถึงว่า  การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เดิมไปติดกับวัสดุหรือชิ้นงานใหม่  จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลใหม่ทุกครั้งในการใช้งาน   สำหรับการใช้งานแบบระบบเปิด (Open Loop)  ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   และค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายแปรผัน   เพราะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จะติดไปกลับสินค้าหรือวัสดุดังกล่าว  ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีกได้    ในส่วนนี้ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กลับมาใช้
  • ประโยชน์ที่สามารถประเมินเป็นตัวเลขได้
    • ขั้นตอนการสแกนมีความเร็วขึ้น  เหตุผลพื้นฐานในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้คือ  เพิ่มความรวดเร็วการสแกน/การอ่านสิ่งของต่าง  ๆ  หรือต้องการให้การทำงานในขั้นตอนนี้เป็นอัตโนมัติ  เนื่องจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถที่จะอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้อัตโนมัติ  ซึ่งในส่วนนี้อาร์เอฟไอดี (RFID) ช่วยลดเวลาการทำงาน  และค่าใช้จ่ายแรงงานที่ต้องสแกนวัสดุต่าง ๆ   การประเมินเป็นตัวเลขสามารถที่จะทำได้  โดยการคำนวนจากแรงงานและเวลาที่ลดไปเป็นเงินเท่าไร
    • ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาดจากการทำงาน จากการที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ทำงานอย่างอัตโนมัติ  ทำให้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยคน เช่น  การสแกนสินค้าผิด  การลืมบันทึกข้อมูล  หรือการส่งสินค้าผิดเป็นต้น  ทำให้สามารถที่จะประเมินได้ว่า  ข้อผิดพลาดที่ลดไปเป็นมูลค่าเงินเท่าไร  ซึ่งจะรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่ทำให้ถูกต้องด้วย  เช่นการส่งสินค้าไปใหม่ ในกรณีส่งสินค้าผิด  หรือการหาสินค้าเพื่อมาทำการสแกนย้อนหลัง  เป็นต้น
    • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสาร  เนื่องจากเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติไม่มีการใช้เอกสารในการจดบันทึก ทำการการทำงานทั้งหมดเป็นลักษณะไร้เอกสาร (Paperless)  ทำให้ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการจ้างเจ้าหน้าที่มาทำการบันทึกข้อมูล และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเอกสาร
    • ค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบข้อมูล  เนื่องจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สามารถที่จะบันทึกข้อมูลในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้  โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลส่วนกลางตลอดเวลาเหมือนเทคโนโลยีบาร์โค้ด   การที่การทำงานสามารถที่จะดึงข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊กได้โดยตรง  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ (Non quantifiable cost and benefits)

  • ความเสี่ยง
    • ตามที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ประกอบด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์  โดยฮาร์ดแวร์นั้นจะประกอบด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถประเมินได้  เช่น  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่สามารถอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ครบตามที่ต้องการ  เพราะว่าสภาพแวดล้อมการทำงานมีวัสดุที่มีผลต่อการอ่านเช่น โลหะหรือความชื้น  เป็นต้น  ในส่วนของซอฟท์แวร์  เพื่อให้การใช้อาร์เอฟไอดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซอฟท์แวร์อาร์เอฟไอดีจำเป็นต้องต่อเชื่อมกับซอฟท์แวร์อื่น ๆ เช่น ERP เป็นต้น  ประเด็นสำคัญในส่วนชองซอฟท์แวร์คือคุณภาพของข้อมูล  จากการที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) อ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อัตโนมัติ  ดังนั้นข้อมูลที่เข้ามาในระบบจะมีทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง  จึงเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งที่ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  จะต้องประมวลผลและส่งเฉพาะข้อมูลถูกต้องเข้าสู่ระบบเท่านั้น  มิฉะนั้นข้อมูลที่ส่งเข้าไปสู่ระบบอื่น ๆ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้  
    • ความปลอดภัยของข้อมูลในอาร์เอฟไอดี  เนื่องจาก UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะอ่านได้ด้วยเครื่องอ่าน (RFID Reader) ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   ดังนั้นจึงเกิดความเสี่ยงที่ว่า  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ใดใดก็สามารถอ่าน UID ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ของเราได้
    • ความเป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี   ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสาร   ดังนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรฐานคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   นอกเหนือจากมาตรฐานในด้านคลื่นความถี่แล้ว   มาตรฐานอีกด้านที่ต้องพิจารณาถึงคือ  มาตรฐานในการสื่อสารระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)   จำเป็นต้องอย่างยิ่งต้องให้สิ่งเหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  เพื่อให้สามารถใช้อาร์เอฟไอดีได้อย่างทั่วถึง    
  • ประโยชน์
    • การวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ   ในกรณีที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาช่วยในกระบวนการผลิต   จะทำให้ได้ข้อมูลของกระบวนการผลิตที่ถูกต้องและรวดเร็ว    จากที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขึ้น  ทำให้สามารถวางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งในส่วนนี้อาจทำให้ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตได้
    • ปรับปรุงกระบวนการทำงาน การนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาใช้งาน  จะควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน  กระบวนการทำงานใหม่ที่เกิดจากการนำระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  ไม่จำเป็นต้องเกิดจากความสามารถในการเก็บข้อมูลอย่างอัตโนมัติ  แต่สามารถเกิดจาการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน   ทำให้ลดการทำงานบางขั้นตอน หรือทำงานบางขั้นตอนได้มีประสิทธิภาพมากขั้น
    • ปรับปรุงคุณภาพในการบริการ  จากประโยชน์ของอาร์เอฟไอดีในขั้นต้น  ได้แก่ความรวดเร็วในการทำงานและการผิดพลาดน้อยลง  ย่อมมีผลทำให้การบริการดีขึ้นตามไปด้วย  ตัวอย่างเช่นการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  มาช่วยในการจัดส่งสินค้า มีผลทำให้ส่งสินค้าที่ผิดพลาดน้อยลง   เป็นต้น   ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น
    • เพิ่มชื่อเสียงให้แก่บริษัท  ตามที่ทราบเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ในปัจจุบันถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีของอนาคต  ทำให้หน่วยงานที่นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มาใช้ก็จะถูกมองว่าเป็นบริษัทที่นำสมัยไปพร้อมกันด้วย
    • เพิ่มความร่วมมือกันระหว่างบริษัท  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจะมีการใช้ทั้งห่วงโซ่การผลิต  ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงปลายทาง  จะเห็นได้ว่า  มีหลายบริษัทที่ให้ผู้ผลิตของตนติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตั้งแต่โรงงานที่ผลิตสินค้า  เพื่อให้แต่ละบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน  สามารถที่จะใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ร่วมกันได้    

การประเมินการลงทุน

หลังจากที่ได้ทำการแจกแจงรายละเอียดทั้งหมด  ผู้ใช้งานจำเป็นต้องการประเมินค่าใช้จ่าย  และผลประโยชน์ที่ได้รับ  อย่างไรก็ตามประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขได้ ย่อมมีความสำคัญที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร  ในการประเมินค่าปัจจัยเหล่านี้ อันดับแรกต้องทำการจัดอันดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยก่อน  หลังจากนั้นให้ทำการให้คะแนนในแต่ละปัจจัย  โดยปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงทำการให้คะแนนเป็นลบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น   ในขณะที่ปัจจัยที่เป็นประโยชน์ให้ทำการให้คะแนนเป็นบวกถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ  หลังจากนั้นให้ทำการคำนวนค่าทั้งหมด โดยการนำคะแนนที่ได้รับคูณอันดับความสำคัญ  และทำการรวมผลทั้งหมด  จะทำให้ทราบว่า การลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดีให้ผลเช่นไร  เมื่อได้คะแนนทั้งหมดให้นำมาเปรียบเทียบกับการประเมินทางด้านการเงิน (ในส่วนของปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถประเมินเป็นเงินได้)   เพื่อนำมาตัดสินใจในการลงทุนในระบบอาร์เอฟไอดี  อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจนั้น  สามารถที่จำดำเนินการในลักษณะเปรียบเทียบได้  โดยการนำแนวทางการคำนวนดังกล่าวไปใช้กับเทคโนโลยีอื่น เช่น เทคโนโลยีบาร์โค้ด  หรือ OCR  เพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นว่า  การลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันอย่างไร

Source: RFID and Internet of Things: Technology, Applications and Security Challenges (Jan 2010), Benjamin Fabian, Oliver Gunther and Holger Ziekow,
0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *