ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และ IOT (Internet of Things)
IOT (Internet of Things) หมายถึงการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้ เหมือนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นต้น ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท และมีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีการประมาณการณ์ว่า ปลายปี 2020 จะมีอุปกรณ์ IOT มากถึง 31,000 ล้านชิ้น ในขณะเดียวกัน เครือข่ายอินเตอร์เนตก็มีการใช้งานแพร่พลายมากขึ้น พร้อมทั้งอุปกรณ์ wifi ทั้งหลายก็จะมีราคาที่ถูกลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยี IOT มาใช้มากขึ้น
ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์สามารถต่อเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี IOT ได้อย่างง่ายดาย เพียงเพราะว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีแหล่งจ่ายไฟในตัว ซึ่งอาจจะเป็นแบตเตอรรี่ในตัว หรือแหล่งจ่ายไฟบ้านตามปกติ ทันทีที่มีการจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์เหล่านี้ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนทได้ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิ้ล และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง IOT ได้อย่างง่ายดาย
จากที่กล่าวข้างต้น IOT หมายถึงการทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างสามารถที่จะเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้ ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่มีแหล่งจ่ายไฟในตัว เช่น เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ หนังสือ เสื้อผ้า หรือยา เป็นต้น เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มีบทบาทอย่างยิ่งที่จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบ IOT ตัวอย่างเช่น การทำให้ตู้เก็บยาสามารถแจ้งเตือนผ่านบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตัวเองว่า มียาใดบ้างในตู้ที่ใกล้หมดอายุ เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) คือ การระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ประกอบด้วย อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และระบบซอฟท์แวร์ เพียงแค่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ติดบนอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนต และสามารถกำหนดหมายเลข IP ให้แก่ระบบได้ ดังนั้นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีก็สามารถส่งข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ เข้ากับระบบอินเตอร์เนต ตัวอย่างเช่นตู้ยาอัจฉริยะที่กล่าวมาข้างต้น ในกรณีที่ฉลากยาที่เก็บในตู้มีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในตู้ยาสามารถที่อ่านฉลากยาเหล่านั้นได้ และระบบซอฟท์แวร์ก็จะส่วนประมวลผลว่า ยาใดหมดอายุ เป็นต้น
ด้วยจุดเด่นของระบบอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ที่สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบ real time และทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูล ทำให้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มีบทบาทสำคัญในระบบ IOT
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!