อาร์เอฟไอดี

Posts

โครงสร้างของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)

ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  เป็นระบบที่ประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้

o       อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นส่วนประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)

o       เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)

o       เสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ในปัจจุบันเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) บางรุ่นมีการสร้างเสาอากาศรวมในตัวเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

o       กล่องควบคุม   ส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ในปัจจุบันกล่องควบคุมนี้จะถูกสร้างรวมเข้าไปอยู่กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

o       เซ็นเซอร์  หรืออุปกรณ์แสดงผล  อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ส่วนเสริมของระบบ

o       ระบบซอฟท์แวร์  ในทางทฤษณีระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบส่วนนี้  แต่ในทางปฏิบัติแล้ว  ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) แทบจะไร้ความหมาย ถ้าไม่มีระบบส่วนนี้

o       โครงสร้างการติดต่อสื่อสาร   ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) ซึ่งอาจจะเป็นโครงสร้างสื่อสารแบบสายหรือไร้สายก็ได้  โครงสร้างการสื่อสารนี้เป็นส่วนที่จะเชื่อมต่อส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้ส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

  1. อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล  และส่งข้อมูลไปให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยผ่านคลื่นวิทยุ  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

·         อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ  Passive

·         อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ Active

·         อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ  Semi-active/Semi-passive

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ  Passive

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) ชนิด  Passive  ไม่มีแหล่งพลังงานในตัวเอง  ในการส่งข้อมูลนั้น  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่านอาร์อ่านเอฟไอดี (RFID Reader)  เพื่อให้ตนเองมีพลังงานในการส่งข้อมูลกลับไปให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เนื่องจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้ไม่มีแผงวงจรใดใด  และพลังงานใด  ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานานไม่มีการหมดอายุ   โดยทั่วไปอาร์เอฟไอดี (RFID Tag)  ลักษณะนี้ เหมาะสมกับการใช้งานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยสำหรับการอ่าน ข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ด  เช่น  ในอุณหภูมิสูง 2040C  หรือสภาพน้ำกรด

ในการส่งข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) ชนิดนี้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะเป็นส่วนที่เริ่มส่งข้อมูลก่อน  เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ได้รับข้อมูลจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ก็จะส่งข้อมูลกลับไป  Passive RFID Tag จะมีขนาดเล็ก   และราคาถูกว่า  Active RFID Tag   โดยหลัก  Passive  RFID Tag จะประกอบด้วย  ไมโครชิป  และเสาอากาศ

ไมโครชิป จะประกอบด้วย ส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ส่วนแรกคือ ส่วนที่เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมีหน้าที่ในการแปลงไฟแบบ AC จากเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  มาเป็นไฟแบบ DC เพื่อใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ส่วนที่สองคือส่วนที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ ที่เรียกว่า  Modulator  ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และส่งข้อมูลกลับให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) อีกส่วนคือส่วนที่ทำหน้าที่ในการกำหนด  Protocol  ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เรียกว่า  ส่วน  Logic  และท้ายที่สุดคือส่วนที่เป็นหน่วยความจำ  เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล  ซึ่งโดยปกติจะมีการเก็บข้อมูลเป็น  Block  

เสาอากาศเป็นส่วนที่ใช้การนำพลังงาน (ไฟฟ้า) จากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เพื่อให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีพลังงานในการส่งและรับข้อมูลจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) เสาอากาศของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มีขนาดใหญ่กว่าชิปอย่างมาก  ดังนั้นจะเห็นได้ว่า  การออกแบบเสาอากาศของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เป็นปัจจัยสำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อระยะการอ่าน  และมุมในการอ่าน  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเสาอากาศมีหลายปัจจัย  ตัวอย่างเช่น

·         ระยะการอ่านระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่าน (RFID Reader)

·         มุมในการอ่านระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่าน (RFID Reader)

·         วัสดุที่ใช้ในการทำ

·         ความเร็วในการอ่าน

·         สภาพแวดล้อมในการอ่าน

·         ลักษณะเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ  Active

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ชนิด Active   ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

·         ไมโครชิป

·         เสาอากาศ

·         แหล่งพลังงาน  หน้าที่หลักของอุปกรณ์นี้คือ  การจ่ายพลังงานให้แก่อุปกรณ์อิเลคทรอนิค  และการส่งข้อมูล  โดยส่วนใหญ่  Active RFID Tag  จะมีอายุการทำงานประมาณ 2 ถีง  7 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของแบตตอรี่   ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการอายุการใช้งานของแบตตอรี่คือ  ความถี่ในการส่งข้อมูล  หากความถี่ต่ำในการส่งข้อมูลนาน Active RFID  Tag นั้นก็จะมีอายุในการใช้งานนาน

·         อุปกรณ์อิเลคทอรนิค  โดยส่วนใหญ่หน้าที่ของอุปกรณ์ส่วนนี้จะใช้งานเหมือน  Transmitter  หรือทำหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น การคำนวน หรือ แสดงค่าต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์  เป็นต้น  ทำให้ขอบเขตการทำงานของ Active RFID  Tag  หลากหลายมากขึ้น

ในการติดต่อกันระหว่าง Active RFID  Tag  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สำหรับ  Active RFID Tag  ประเภทนี้  Active RFID Tag  จะเป็นส่วนที่เริ่มการติดต่อก่อน  เนื่องจาก Active RFID Tag  ประเภทนี้มีแหล่งพลังงานของตนเอง  ดังนั้น Active RFID Tag  ประเภทนี้จึงไม่ต้องอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในการส่งข้อมูล  ยังมี Active RFID Tag  อีกประเภทที่สามารถส่งข้อมูลได้  โดยไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในระยะของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เรียกว่า  Transmitter  Tag ประเภทนี้สามารถส่งข้อมูลให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้ไกลถึง 30 เมตร  Active RFID Tag  อีกประเภทที่จะหยุดการทำงาน  (sleep mode) หรือทำงานโดยใช้พลังงานน้อยมาก  เมื่อไม่อยู่ในระยะของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) Active RFID Tag  ประเภทนี้  เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก  (RFID Tag)  ทำงานเมื่อเข้ามาอยู่ในระยะที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านข้อมูลได้  การทำงานในลักษณะนี้ทำให้ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้มีอายุการใช้งานกว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  ที่เป็นลักษณะ  Transmitter   

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  แบบ  Semi Active

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag) ชนิด  Semi Active ในบางกรณีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ลักษณะนี้จะเรียกว่า  Battery-Assisted Tag เป็น อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ที่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง  และอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ในการทำงาน  แหล่งพลังงานดังกล่าวจะทำหน้าที่ให้พลังงานแก่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Active tag  

ในการส่งข้อมูลนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  มีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้แทน  Passive RFID Tag  เนื่องจากว่า  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้ สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า  เพราะการส่งข้อมูลไม่ต้องรอให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของขดลวดทองแดงเหมือน  Passive RFID Tag   ถึงแม้ว่า วัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  ประเภทนี้จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว  วัสดุที่มีผลต่อคลื่นวิทยุ  การส่งข้อมูลก็ยังสามารถทำงานได้ดี

ในการแบ่งประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ยังสามารถที่จะแบ่งได้ตามความสามารถในการบันทึกข้อมูล  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น  3 ประเภท คือ

1.        ประเภทที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว (RO)

2.        ประเภทที่บันทึกข้อมูลได้เพียงครั้ง  และสามาถอ่านข้อมูลได้ตลอด (WORM)

3.        ประเภทที่สามารถบันทึกและอ่านข้อมูลได้ตลอด (RW)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อ่านได้อย่างเดียว (RO)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะถูกโปรแกรมเพียงครั้งเดียว  ข้อมูลนั้นจะบันทึกลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ระหว่างการผลิต  โดยการบันทึกข้อมูลนั้นจะบันทึกลงไปในไมโครชิป   เมื่อบันทึกข้อมูลนี้ลงไปแล้ว  ข้อมูลไม่สามารถที่จะเขียนข้อมูลอื่น ๆ ลงไปได้    อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้  ในบางครั้งก็จะเรียกว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่โปรแกรมด้วยโรงงาน (Factory Programme) อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้ใช้ได้ดีสำหรับนำไปใช้งานที่มีขนาดเล็กไม่มีความซับซ้อน  แต่ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีความซับซ้อนมาก

อาร์เอฟไอดีแท๊ก้ RFID Tagที่บันทึกข้อมูลเพียงครั้งเดียว  และสามารถอ่านข้อมูลได้ตลอด (WORM)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะถูกโปรแกรมหรือเขียนบันทึกข้อมูลเพียงครั้งเดียว  ซึ่งการบันทึกข้อมูลนี้จะบันทึกโดยผู้ใช้  เมื่อต้องการที่จะใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น  ถ้าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ถูกเขียนโปรแกรมมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้   อาร์ฺเอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้อาจจะเสียหายได้   อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้เรียกว่า  Field Programmable

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามารถอ่านและเบียนได้ตลอด (RW)

อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะถูกบันทึกซ้ำได้ตลอด  โดยปกติแล้ว  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้สามารถที่บันทึกซ้ำได้ประมาณ 10,000 ถึง 100,000 ครั้ง หรือมากกว่า  ความสามารถในการบันทึกซ้ำได้ตลอดลักษณะนี้  ทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้มีประโยชน์อย่างมาก   อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้มีหน่วยความจำที่เรียกว่า   Flash  ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล  ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะเรียกว่า   Field programmable  หรือ reprogrammable  Tag  ประเภทนี้

คลื่นวิทยุมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. Low Frequency (LF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 30 Khz  ถึง 300 Khz.  ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะใช้คลื่น 125 KHz ถึง 134 KHz  ความสามารถในการส่งข้อมูลในคลื่นนี้ค่อนข้างช้า  แต่สามารถใช้งานได้ดีในวัสดุที่เป็นของเหลว  หรือโลหะ  จะเห็นได้จากตารางข้างต้น  วัสดุที่เป็นโลหะ หรือน้ำจะมีลักษณะเป็น   RF-friendly ต่อคลื่นความถี่นี้

2. High Frequency (HF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  ความถี่  13.56 Mhzจะเป็นความถี่ที่มีการใช้งานมากทีสุดในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)   เหมือนเช่นกับความถี่ LF ความถี่นี้จะใช้กับ  Passive tag  เป็นส่วนมาก  ความถี่นี้ใช้งานได้ปานกลางในวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว  และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล  เพราะความถี่นี้ไม่รบกวนอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

3. Ultra High Frequency (UHF)

ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  300 MHz ถึง 1 GHz.  โดยปกตินี้ความถี่ที่นิยมจะใช้ในความถี่ช่วงนี้คือ 915 MHz ในอเมริกา  และ 868 MHz ในยุโรป  ส่วนประเทศไทยความถี่ที่อนุญาตให้ใช้คือ  920-925 Mhz  

ความถี่ในช่วงนี้สามารถที่จะส่งข้อมูลได้ค่อนข้างเร็ว  แต่จะใช้งานไม่ดีในวัสดุที่เป็นโลหะ และของเหลว  (ยกเว้น Active RFID)  อย่างไรก็ตาม  ความถี่นี้ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย  เพราะว่ามีหลายหน่วยงานนำคลื่นความถี่มาใช้  หรือบังคับให้นำความถี่นี้มาใช้งาน   เช่น  กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา

4. Microwave Frequency

ความถี่นี้คือความถี่ที่สูงกว่า 1 GHzขึ้นไป  ช่วงความถี่ที่นิยมนำมาใช้ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) คือ 2.45 GHz และ 5.8 GHz  แต่ความถี่ 2.45 GHzจะได้รับความนิยมมากว่า  ความถี่นี้สามารถนำมาใช้ทั้ง   Passive RFID Tag และ Active RFID Tagความถี่นี้สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว  แต่ทำงานได้แย่มากเมื่อไปใช้กับวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว

โดยสรุป  ลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติของคลื่นความถี่แต่ละประเภทสามารถที่จะสรุปได้ดังตารางด้านล้างนี้

RFID (อาร์เอฟไอดี) คืออะไร

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID – Radio frequency identification) คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  โดยอาศัยคลื่นวิทยุ  ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ  เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง  หรือการสแกนลายนิ้วมือ  เป็นต้น  ในส่วนนี้จะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้

คลื่นวิทยุกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency and RFID Technology)

จากที่กล่าวในขั้นต้นว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) อาศัยคลื่นวิทยุในการทำงาน  ดังนั้นเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง  คือคลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุ  (Radio frequency) เป็นคลื่น Electromagnetic ประเภทหนึ่ง  ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 0.1  ซม. ถึง 1,000 กม. หรืออยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hzและ 300 GHz    เมื่อเป็นคลื่นวิทยุจะเห็นได้ว่า  วัสดุที่นำใช้กับคลื่นวิทยุย่อมมีผลต่อการใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในวัสดุประเภทที่ที่คลื่นวิทยุสามารถผ่านได้สะดวกโดยไม่มีการสูญเสียพลังงาน ใด  วัสดุเหล่านี้เรียกว่า  RF-lucent  หรือ RF-friendly  หากนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) มาใช้กับวัสดุเหล่านี้จะไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน  อย่างไรก็ตามยังมีวัสดุบางประเภทที่เป็นอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology)  มาใช้งาน  วัสดุประเภทแรกเรียกว่า RF-opaque  วัสดุประเภทนี้จะหักเหคลื่นวิทยุ  หรือทำให้คลื่นวิทยุกระจัดกระจายออกไป  ส่วนวัสดุอีกประเภทเรียกว่า  RF-absorbent  คลื่นวิทยุสามารถที่จะผ่านวัสดุประเภทนี้ได้  แต่อย่างไรก็ตามคลื่นที่ผ่านมานั้นจะถูกดูดซับไว้หมด  หรือต้องสูญเสียพลังงานมากในการที่จะทะลุผ่านได้

ถึงแม้ว่า  วัสดุแต่ละประเภทจะมีผลต่อคลื่นวิทยุ  อย่างไรก็ตามวัสดุประเภทหนึ่งจะมีผลคลื่นวิทยุแต่ละช่วงความถี่ที่แตกต่าง กัน  กล่าวคือ  วัสดุนั้นอาจจะมีลักษณะเป็น  RF-lucent  ในคลื่นความถี่หนึ่ง  ในขณะที่วัสดุเดียวกันนี้อาจจะเป็น  RF-opaque หรือRF-absorbent ในคลื่นความถี่ในช่วงอื่นก็ได้   ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วัสดุLFHFUHFMicrowave
ผ้าRF-lucentRF-lucentRF-lucentRF-lucent
ไม้แห้งRF-lucentRF-lucentRF-lucentRF-absorbent
GraphiteRF-lucentRF-lucentRF-opaqueRF-opaque
ของเหลว (แล้วแต่ประเภท)RF-lucentRF-lucentRF-absorbentRF-absorbent
โลหะRF-lucentRF-lucentRF-opaqueRF-opaque
น้ำมันเครื่องRF-lucentRF-lucentRF-lucentRF-lucent
วัสดุที่ประกอบด้วยกระดาษRF-lucentRF-lucentRF-lucentRF-lucent
พลาสติก (แล้วแต่ประเภท)RF-lucentRF-lucentRF-lucentRF-lucent
แชมพูRF-lucentRF-lucentRF-absorbentRF-absorbent
น้ำRF-lucentRF-lucentRF-absorbentRF-absorbent
ไม้ชื้นRF-lucentRF-lucentRF-absorbentRF-absorbent

จากที่กล่าวในขั้นต้นว่า เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) ใช้คลื่นวิทยุ  (Radio frequency) ในการทำงาน  และคลื่นวิทยุที่ใช้ในเทคโนโลยีอาร์เอไอดี (RFID) จะอยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hzและ 300 GHz  จากช่วงความถี่ดังกล่าวทำให้สามารถแบ่งคลื่นวิทยุได้เป็น 4 ประเภท โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทถัดไปครับ  

อย่างไรก็ตาม  ปัจจบันเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมาก   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยี  UHF   RFID Tag สำหรับคลื่นความถี่ UHF  ได้มีการพัฒนาให้สามารถทำงานบนพื้นผิวโลหะหรือคววมชื้นได้มากขึ้น