จาก แผ่นซิลิคอนหนึ่งแผ่น จะต้องตัดเป็น IC ขนาดเล็ก ๆ เนื่องจากแผ่นซิลิคอนจะมีขนาดเท่ากัน ดังนั้นราคาของ IC ชิป จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิต IC ชิป ว่าสามารถตัดแผ่นซิลิคอนหนึ่งแผ่นได้จำนวน IC ชิปจำนวนเท่าไร โดยปกติหลังจากที่ตัดแผ่นซิลิคอนเป็น IC ชิปขนาดเล็ก ๆ ราคาของ IC แต่ละชิ้นจะมีราคาประมาณ 0.029-0.04
· ผู้ผลิต RFID Inlay
ขั้นตอนต่อไปคือ การทำ RFID Inlay โดยการต่อเชื่อม IC ชิปดังกล่าว กับเสาอากาศ เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมาก หาก IC อยู่ห่างจากเสาอากาศเพียง 1 มิลลิเมตร ก็มีผลทำให้การอ่านไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขั้นแรก ผู้ผลิตจะทำการเตรียมแผ่นฟิล์มเพื่อใช้ติด IC และเสาอากาศ แผ่นฟิล์มดังกล่าวต้องมีความทนทานเพียงพอ ต่อการนำ RFID Inlay ดังกล่าวไปทำการขึ้นรูปเป็นป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ในอันดับต่อไป นอกเหนือจากความคงทน ในการเลือกวัสดุเพื่อทำเป็นแผ่นฟิล์มนั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากวัสดุบางประเภทเช่น โพลีเอสเตอร์บางชนิด จะมีผลต่อไฟฟ้าสถิตซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้งาน
· ความสามารถในการบันทึกมีมากกว่าบาร์โค้ด อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Active Tag สามารถที่จะบรรจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหลายเท่าตัว
· ความสามารถในการอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลาย Tag พร้อมกัน เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มากกว่าหนึ่ง Tag ในขณะเดียวกัน ซึ่งความสามารถนี้เรียกว่า Anti-Collision ซึ่งความสามารถนี้บาร์โค้ดไม่สามารถที่จะทำได้
โดยปกติ Passive RFID Tag สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเริ่มจากไม่กี่ตัวอักษรจนไปถึงจำนวนหลายพันตัวอักษร อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มี Passive Tag บางประเภทสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่านั้น เช่น Passive Tag ของ Maxell สามารถที่จะบันทึกข้อมูลได้มากถึง 4K bytes
การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ก่อนที่กล่าวถึงรายละเอียดของการสื่อสารในแต่ละแบบ อาณาเขตระหว่างเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถส่งสัญญาณคลื่นวิทยุได้ระยะสั้นเรียกว่า Near Field ส่วนบริเวณที่ไกลออกไปเรียกว่า Far Field โดยปกติ Passive RFID ที่ใช้คลื่นความถี่ LF และ HF จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณที่เรียกว่า Near Field ในขณะที่คลื่นความถี่ UHF หรือสูงกว่า จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณ Far Field ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สื่อสารในบริเวณ Far Field สามารถที่จะติดต่อสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า
ลักษณะการสื่อสารข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีสามลักษณะคือ Modulated backscatter, Transmitter type และ Transponder type
ในการทำงานแบบ Autonomous เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตลอดเวลา ทุก ๆ ครั้งที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ถูกอ่านจะเก็บข้อมูลไว้ในรายการที่เรียกว่า Tag List รายการที่อยู่ใน Tag List จะสอดคล้องกับเวลาในการอ่าน หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่กำหนดไว้ไม่ถูกอ่านในเวลาที่ ก็จะถูกลบออกไปจากรายการ ในรายการ Tag list จะประกอบด้วย
o รหัสของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)
o เวลาในการอ่าน
o อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ถูกอ่านบ่อยแค่ไหน
o เสาอาการที่ใช้ในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)
ในการส่งข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ชนิดนี้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะเป็นส่วนที่เริ่มส่งข้อมูลก่อน เมื่ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้รับข้อมูลจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็จะส่งข้อมูลกลับไป Passive RFID Tag จะมีขนาดเล็ก และราคาถูกว่า Active RFID Tag โดยหลัก Passive RFID Tag จะประกอบด้วย ไมโครชิป และเสาอากาศ
อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ชนิด Active ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
· ไมโครชิป
· เสาอากาศ
· แหล่งพลังงาน หน้าที่หลักของอุปกรณ์นี้คือ การจ่ายพลังงานให้แก่อุปกรณ์อิเลคทรอนิค และการส่งข้อมูล โดยส่วนใหญ่ Active RFID Tag จะมีอายุการทำงานประมาณ 2 ถีง 7 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของแบตตอรี่ ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการอายุการใช้งานของแบตตอรี่คือ ความถี่ในการส่งข้อมูล หากความถี่ต่ำในการส่งข้อมูลนาน Active RFID Tag นั้นก็จะมีอายุในการใช้งานนาน
· อุปกรณ์อิเลคทอรนิค โดยส่วนใหญ่หน้าที่ของอุปกรณ์ส่วนนี้จะใช้งานเหมือน Transmitter หรือทำหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเติมเช่น การคำนวน หรือ แสดงค่าต่าง ๆ เช่น เซนเซอร์ เป็นต้น ทำให้ขอบเขตการทำงานของ Active RFID Tag หลากหลายมากขึ้น
ในการติดต่อกันระหว่าง Active RFID Tag กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สำหรับ Active RFID Tag ประเภทนี้ Active RFID Tag จะเป็นส่วนที่เริ่มการติดต่อก่อน เนื่องจาก Active RFID Tag ประเภทนี้มีแหล่งพลังงานของตนเอง ดังนั้น Active RFID Tag ประเภทนี้จึงไม่ต้องอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในการส่งข้อมูล ยังมี Active RFID Tag อีกประเภทที่สามารถส่งข้อมูลได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในระยะของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เรียกว่า Transmitter Tag ประเภทนี้สามารถส่งข้อมูลให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้ไกลถึง 30 เมตร Active RFID Tag อีกประเภทที่จะหยุดการทำงาน (sleep mode) หรือทำงานโดยใช้พลังงานน้อยมาก เมื่อไม่อยู่ในระยะของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) Active RFID Tag ประเภทนี้ เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ทำงานเมื่อเข้ามาอยู่ในระยะที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถอ่านข้อมูลได้ การทำงานในลักษณะนี้ทำให้ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้มีอายุการใช้งานกว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เป็นลักษณะ Transmitter
อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แบบ Semi Active
อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ชนิด Semi Active ในบางกรณีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะนี้จะเรียกว่า Battery-Assisted Tag เป็น อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง และอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ในการทำงาน แหล่งพลังงานดังกล่าวจะทำหน้าที่ให้พลังงานแก่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Active tag
ในการส่งข้อมูลนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะอาศัยพลังงานจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้แทน Passive RFID Tag เนื่องจากว่า อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้ สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า เพราะการส่งข้อมูลไม่ต้องรอให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของขดลวดทองแดงเหมือน Passive RFID Tag ถึงแม้ว่า วัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว วัสดุที่มีผลต่อคลื่นวิทยุ การส่งข้อมูลก็ยังสามารถทำงานได้ดี