การเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID TAG SELECTION)
- คลื่นความถี่ ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ทำงานด้วยคลื่นวิทยุ ที่ใช้ในการสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เปรียบเสมือนสถานีวิทยุที่ทำการส่งคลื่นความถี่วิทยุออกมา ในขณะที่เครื่องวิทยุของเราก็เหมือนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) การที่จะทำให้สถานีวิทยุสามารถสื่อสารกับวิทยุของเราได้ ก็จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เดียวกัน ในกรณีของอาร์เอฟไอดี (RFID System) ก็เช่นเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ใช้คลื่นความถี่อะไร เพื่อที่จะได้เลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่อยู่ในความถี่เดียวกัน ในปัจจุบันคลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) จะมีสามคลื่นความถี่ประกอบด้วย
- Low Frequency (LF) อยู่ในช่วง 30-300 kHz
- High Frequency (HF) อยู่ในช่วง 3-30 MHz
- Ultra High Frequency (UHF) อยู่ในช่วง 300-3000 MHz
คลื่นความถี่ของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะเป็นตัวกำหนดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่จะเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ผลิตจะต้องติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สำหรับสินค้าของตนที่ส่งออกไปที่ Walmart อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ต้องใช้ คือ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ทำงานในช่วงคลื่น UHF ระหว่าง 902-928 MHz เพราะเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ใช้งานในที่ Walmart ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
นอกเหนือจากคลื่นความถี่ อีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือมาตรฐานในการส่งข้อมูล (Air Interface Protocol) ระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในกรณีของการทำงานในคลื่น UHF มาตรฐานกลางที่ใช้ได้แก่ EPC C1G2 เป็นต้น เพื่อให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถสื่อสารกันได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือกรณีอาร์เอฟไอดี (RFID) ในช่วงคลื่นความถี่ 13.56 Mhz. ประกอบมาตรฐาน ISO14443A, ISO14443B, ISO14443C และ ISO15693 เป็นต้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่มาตรฐานเดียวกัน
- ระยะการอ่าน ระยะการอ่านหมายถึง ระยะทางระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สามารถที่จะสื่อสารกันได้ ปัจจัยดังกล่าวมีผล อย่างมากต่อระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ที่ทำงานในคลื่นความถี่ UHF เนื่องจากการสื่อสารระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในคลื่นดังกล่าวมีระยะการอ่านที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ระยะการ 1-2 ซม จนถึง 5-6 เมตร ซึ่งอาร์เอฟไอดี แท๊ก (RFID Tag) แต่ละประเภทจะส่งผลการอ่านไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะทำงานในคลื่นความถี่เดียวกัน และในมาตรฐานเดียวกันก็ตาม เพราะว่าความสามารถหรือระยะในการอ่านเกิดจากรูปแบบเสาอากาศที่อยู่ในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามารถสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ได้ในระยะที่ระบบต้องการ
- สภาพแวดล้อมที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) พื้นผิววัสดุที่ติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีผลอย่างมากต่อการทำงานของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) องค์ประกอบที่จะต้องคำนึงถึงประกอบด้วยลักษณะการใช้งานของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หากการใช้งานเป็นลักษณะกลางแจ้ง อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกควรได้รับการออกแบบให้สามารถทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้ง อาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Label) อาจจะไม่สามารถทำงานในสภาพดังกล่าวได้ นอกจากนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิในการทำงานในบางกรณีต้องผ่านความร้อนสูง ดังนั้นควรจะเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามารถทำงานในอุณหภูมิความร้อนสูงได้ มิฉะนั้นแล้วความร้อนอาจทำให้ IC ชิป หรือเสาอากาศของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เสียหายได้ ในท้ายที่สุดคือสภาพแวดล้อมที่ใช้งานรบกวนการส่งคลื่นวิทยุหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพแวดล้อมที่เป็นโลหะ ทั้งความชื้นและโลหะมีผลการต่อส่งคลื่นวิทยุ โดยความชื้นจะทำการดูดซึบคลื่นวิทยุ ในขณะที่โลหะจะหักเหคลื่นวิทยุ ดังนั้นควรจะเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สามาถทำงานบนสภาพดังกล่าวได้ ในกรณีที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดบนกล่องพลาสติก อาร์เอฟไอดีแท๊ก ธรรมดาที่เป็นสติกเกอร์ (RFID Label) สามารถใช้งานได้ ในทางตรงกันข้ามหากการใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนสภาพแวดล้อมที่เป็นโลหะ อาร์เอฟไอดีแท๊กแบบสติกเกอร์ (RFID Label) ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ในกรณีดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ได้รับออกแบบเป็นพิเศษที่สามารถติดบนโลหะและทำงานได้เป็นต้น
- ข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตามที่ทราบอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นส่วนที่ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยข้อมูลที่กล่าวถึงนี้ประกอบด้วยข้อมูลสองประเภทได้ ข้อมูลที่บันทึกเข้าไปใน IC ชิปของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) และข้อมูลที่จำเป็นต้องมองเห็น ข้อมูลที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ส่งให้เครื่องอ่านจะเป็นข้อมูลที่บันทึกใน IC ชิป ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกจำเป็นต้องมีขนาดความจำใน IC ชิปที่เพียงพอต่อความต้องการของระบบ การใช้งานในบางกรณีผู้ใช้งานต้องการให้บันทึกข้อมูลเป็นที่เป็นรหัสสากลต่าง ๆ เช่น Serialized Global Trade Item Number (SGTIN) หรือ EPC Global Standard เป็นต้น ในการบันทึกรหัสดังกล่าว หน่วยความจำในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) 96 bits ก็น่าจะเพียงพอ อย่างไรก็ตามในบางอุตสาหกรรมเช่นอุตสาหกรรมการบิน จำเป็นต้องมีบันทึกข้อมูลมากขึ้น ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกใช้ก็ต้องมีหน่วยความจำมากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากข้อมูลที่บันทึกลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) แล้ว การเลือกใช้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จำเป็นต้องคำนึงข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการมองเห็นด้วย เช่น บาร์โค้ด ในกรณีที่ต้องการใช้งานเป็นการใช้ร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีบาร์โค้ด อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกจำเป็นต้องรองรับทั้งสองเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เลือกจำเป็นต้องสามารถพิมพ์รหัสบาร์โค้ดด้วย โดยปกติแล้วอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เป็นสติกเกอร์จะรองรับการพิมพ์อยู่แล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะพิมพ์รหัสบาร์โค้ดไปบนอาร์เอฟไอดีสติกเกอร์ (RFID Label) ได้ ด้วยเครื่องพิมพ์สติกเกอร์ แต่ถ้าเป็นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) รูปแบบอื่น เช่น RFID Hard Tag เป็นต้น อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ลักษณะนี้ไม่สามารถที่จะพิมพ์ ด้วยเครื่องพิมพ์ได้ อาจจะต้องใช้เทคโนโลยี อื่นในการพิมพ์บาร์โค้ด เช่นการยิงเลเซอร์ เป็นต้น
- ขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) พื้นที่ที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะติดเป็นอีกปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง ตัวอย่างเช่นหากนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดบนรถขนสินค้า ก็จะไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) จะมีขนาดเท่าใดก็ได้ เพียงแค่ทำงานได้ตามที่ระบบต้องการ ในทางตรงกันข้ามหากนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไปติดบนอุปกรณ์การแพทย์ หรือเครื่องมือช่างต่าง ๆ ขนาดของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ก็จำเป็นต้องมีขนาดเล็ก เพราะอุปกรณ์เหล่ามีพื้นที่จำกัด อย่างไรก็ตามอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่มีขนาดเล็กลง ก็จะมีผลทำให้ระยะการอ่านสั้นลงไปด้วย
- วิธีการยึดติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) การติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับอุปกรณ์หรือชิ้นงานต่าง ๆ มีรูปแบบอย่างไรบ้าง โดยทั่วไปการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก มีรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การรัดด้วย Cable Ties การใช้ Cable Ties รัดจะรูปแบบที่ง่ายและรวดเร็ว อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ยึดติดแบบนี้ จะมีสาย Cable ในตัว วัตถุประสงค์ของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้นอกเหนือจากการยึดติด ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
- การฝังเข้าไปในอุปกรณ์ที่จะติด อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะฝังเข้าไปชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่จะติดเลย
- การยึดติดด้วยกาว การติดด้วยกาวเป็นวิธีพื้นฐานในการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีการใช้การยึดติดแบบนี้สำหรับสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการพัฒนากาวที่ใช้ติดไปค่อนข้างมาก มีการนำกาวอุตสาหกรรมมาใช้ในการยึดติด ทำให้อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ยึดติดด้วยกาวอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมตามไปด้วย จากเดิมที่เคยใช้ได้เฉพาะสินค้าทั่วไป
- การยึดติดด้วยการยึดด้วยตะปู ในกรณีที่ต้องการให้การยึดติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีความแน่นหนา เพื่อการใช้งานอย่างถาวร อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บางประเภทมีการออกแบบให้รูเพื่อการยึดติดด้วยตะปู เป็นต้น
- การเชื่อม อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บางประเภทออกแบบมาให้ยึดติดด้วยการเชื่อมเพื่อความแน่นหนา โดยปกติแล้ว อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ประเภทนี้จะใช้งานสำหรับการยึดติดที่เป็นภาคอุคตสาหกรรมหรือเครื่องจักรต่าง เป็นต้น
สรุป ในปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มีค่อนข้างหลากหลายประเภท ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่เหมาะสมการลักษณะการทำงาน เพื่อให้ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!