โครงสร้างของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในการเขียนข้อมูลนั้นสามารถเรียกว่า เป็นกระบวนการเริ่มตั้งค่าในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เรียกว่า Commissioning Tag ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันการเขียนก็สามารถใช้เป็นการลบค่าได้เหมือนกัน หรือการบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งเรียกว่า Decommissioning tag
เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี (RFID) และในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีประกอบด้วย
· ส่วนการส่งข้อมูล ส่วนนี้จะรับผิดชอบในการส่งสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และรับสัญญาณจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ส่งกลับให้กับเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
· ส่วนการรับข้อมูล ส่วนนี้จะรับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นี้แล้ว ส่วนนี้จะส่งข้อมูลต่อไปให้แก่ส่วนไมโครโปรเซสเซอร์
· ไมโครโปรเซสเซอร์ รับผิดชอบในการสื่อสารกันระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ส่วนนี้จะเป็นตัวแปลงโปรโตคอล แปลงข้อมูล และทำการตรวจสอบหลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แปลงข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลดิจิตอลสัญญาณอะนาล๊อก (Analog) ยิ่งไปกว่านั้นไมโครโปรเซสเซอร์นี้ยังประกอบด้วย Logic ต่าง ๆ ในการกรองข้อมูลและอ่านข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)
· ส่วนความจำ ส่วนนี้ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ในการทำงานบางครั้ง เมื่อส่วนที่ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และคอนโทรลเลอร์ (Controller) หรือส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์ มีปัญหาในการทำงาน ส่วนที่ทำหน้าที่ในการเก็บความจำนี้จะทำให้ข้อมูลที่อ่านจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ไม่สูญหาย การเก็บความจำนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำ อย่างไรก็ตามหน่วยความจำในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ก็มีขนาดจำกัด หากระบบในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) หยุดการทำงานเป็นเวลานาน หน่วยความจำในเครื่องจำอาจจะไม่มากพอ ทำให้ข้อมูลบางส่วนหายไปได้
· ส่วนการรับและส่งออกข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น การรับข้อมูลจากเซนเซอร์ เป็นต้น ในความเป็นจริง เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่จำเป็นต้องเปิดทำงานตลอดเวลา เนื่องจากว่า อาร์เอฟไอดี (RFID Tag) อาจจะเข้ามาในบริเวณเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่บ่อยเท่าที่ควร ซึ่งลักษณะนี้หากเปิดเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไว้ตลอดเวลา อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ดังนั้นการทำงานส่วนนี้ จะเป็นการเปิด/ปิดเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เมื่อมีอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เข้ามาในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ส่วนที่เป็นเซนเซอร์จะส่งข้อมูลไปกระตุ้นให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทำงาน นอกจากนี้ ส่วนนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งออกข้อมูลด้วย การส่งออกข้อมูลสามารถที่จะกำหนดได้ให้ส่งข้อมูลออกตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น การเปิดและปิดประตู เป็นต้น
· อุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ คอนโทรลเลอร์นี้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่น นอกจากนั้น ยังเป็นส่วนควบคุมการทำงานของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
· ส่วนการสื่อสาร ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ส่วนนี้จะต่อเชื่อมระหว่างคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอก อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารนั้น อาจจะทำได้หลายรูปแบบเช่น การสื่อสารแบบ Serial หรือ แบบ Network เป็นต้น ในการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ จะทำงานโดยผ่านการสั่งงานของคอนโทรลเลอร์ ซึ่งการติดต่อสื่อสารนั้น อาจจะเป็นการเก็บข้อมูล การรับคำสั่ง และส่งข้อมูลกลับ
· ส่วนแหล่งพลังงาน ส่วนนี้ทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยปกติส่วนนี้จะรับพลังงานจากภายนอก และส่งผ่านเข้ามาเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) โดยผ่านส่วนแหล่งพลังงานนี้
ประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
ในการจำแนกประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถแยกได้ตามการต่อเชื่อม และการใช้งาน หากแยกประเภทเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ตามลักษณะการต่อเชื่อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การต่อเชื่อมแบบ Serial และ Network หากแยกประเภทของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ตามการใช้งาน สามารถแยกเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบติดตั้งอยู่กับที่ และเครื่องอ่านแบบมือถือ
1. การแบ่งแยกตามลักษณะการต่อเชื่อม
1.1. เครื่องอ่านอาร์เอฟไดี (RFID Reader) แบบ Serial เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Serial นั้นติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกโดยผ่านทาง Serial ซึ่งปกติแล้วจะต่อเชื่อมโดยผ่าน RS232 หรือ RS485 โดย RS485 จะสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า จุดดีของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้คือ การสื่อสารสามารถเชื่อถือไว้มากกว่าเครื่องอ่านแบบ Network ทำให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะนำมาใช้งานพื่อทีจะลดปัญหาในการสื่อสาร แต่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้ก็มีจุดเสีย คือ ความยาวของสายเคเบิล นอกเหนือจากนั้น Serial Port มีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่อเชื่อมมากตามไปด้วย ปัญหาต่อมาคือปัญหาการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทีละเครื่อง นอกเหนือจากปัญหาเหล่านี้แล้ว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูและรักษาสูงขึ้น
1.2. เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Network นั้นติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบสาย หรือไร้สาย จุดเด่นของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับความยาวของสายเคเบิ้ล ที่ใช้ในการต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ ในการ Update firmware สามารถทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องไปตรวจที่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เหมือนเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Serial ประเด็นนี้ทำให้การบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ ข้อเสียของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้ คือ การต่อเชื่อมมีความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบ Serial แต่อย่างไรก็ตามหากระบบโครงสร้างเครือข่ายมีปัญหา ซึ่งอาจมีผลให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีปัญหาไปด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะมีหน่วยความจำในตัว ซึ่งสามารถแก้ปัญหาของเครือข่ายได้ในบางส่วน
2. การแบ่งแยกตามลักษณะการใช้งาน
2.1. เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบติดตั้งอยู่กับที่ เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะติดตั้งไว้ที่ใดที่หนึ่ง เช่นติดไว้ที่กำแพง หรือติดอยู่บนรถ ในบริเวณที่กำหนดไว้ให้เป็นอาณาเขตของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ราคาของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะถูกกว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบมือถือ ทำให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบนี้มีการใช้งานที่แพร่หลายกว่า เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้มีหลากหลายชนิด ตัวอย่างเช่น Agile Reader ซึ่งเป็นเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่สามารถใช้ได้หลายคลื่น และสามารถใช้ได้กับอาร์เอฟไอดี (RFID Tag) หลายประเภท นอกจากนี้ยังมีเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ที่สามารถพิมพ์บาร์โค้ด และบันทึกข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ได้ในขณะเดียวกัน เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้สามารถทำงานได้ในสองลักษณะคือ Autonomous และ Interactive
ในการทำงานแบบ Autonomous เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ตลอดเวลา ทุก ๆ ครั้งที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ถูกอ่านจะเก็บข้อมูลไว้ในรายการที่เรียกว่า Tag List รายการที่อยู่ใน Tag List จะสอดคล้องกับเวลาในการอ่าน หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่กำหนดไว้ไม่ถูกอ่านในเวลาที่ ก็จะถูกลบออกไปจากรายการ ในรายการ Tag list จะประกอบด้วย
o รหัสของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)
o เวลาในการอ่าน
o อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ถูกอ่านบ่อยแค่ไหน
o เสาอาการที่ใช้ในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)
o ชื่อของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)
สำหรับการทำงานแบบ Interactive เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง หรือจากผู้ใช้ หลังจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ทำงานตามคำสั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) จะหยุดรอคำสั่งต่อไป
2.2 เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบมือถือ เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้จะมีเสาอากาศฝังอยู่ในตัว ทำให้ระยะการอ่านค่อนข้างสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) แบบแรกที่กล่าวมา เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูง
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!