เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligence) ได้มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ปี 1950  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) เป็นการสื่อสารแบบไร้สายด้วยการใช้คลื่นวิทยุ  โดยจะมีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) บนชิ้นงานหรือสิ่งของต่าง ๆ   ทันทีที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ผ่านเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการบันทึกไว้ในอาร์เอฟไอดีแท็ก (RFID Tag)  ก็จะถูกส่งเข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติ  ส่วนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent)  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนคนหรือใกล้เคียง  โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะรวมถึงการเรียนรู้  การวิเคราะห์ และแก้ปัญหา  เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, Artificial Intelligent) มีการนำอัลกอลิธัมต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ  เพื่อการทำคาดการณ์อนาคต  และทำการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี AI ไปใส่ไว้ในกล้อง เพื่อทำการคาดการณ์ลักษณะการเดิน หรือการเคลื่อนไหวของลูกค้าในร้าน  หรือการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, […]

ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี RTLS และ RFID

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีในการติดตามหรือค้นหาสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ สองเทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงเป็นประจำคือ  RTLS (Real Time Location Tracking) และ RFID (Radio Frequency Identification) และในหลายครั้งที่มีกล่าวถึงเทคโนโลยีทั้งสองสลับกัน  เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองมีการใช้ในการติดตามหรือระบุตัวตนของสิ่งต่าง ๆ เหมือนกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองก็มีความแตกต่างกันในหลายประการ เทคโนโลยี RTLS เป็นการนำเทคโนโลยี Bluetooth, Ultra-wideband (UWB), หรือ Zigbee มาใช้ในการติดตาม  โดยวัตถุหรือสิ่งของที่จะติดตามต้อง Tag, iBeacon หรืออุปกรณ์ใดใด เช่น โทรศัพท์มือถือที่มี Bluetooth เป็นต้น โดย Tag ดังกล่าวจะส่งข้อมูลไปที่เครื่องรับ นอกจากนั้นในพื้นที่ที่ต้องการติดตามก็มีการติดเครื่องรับเพื่อรับสัญญาณจาก Tag ซึ่งอาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป  เช่น Anchor, Receiver เป็นต้น  นอกเหนือจากองค์ประกอบสองส่วนข้างต้น  ก็จะมีส่วนของซอฟท์แวร์ในการประมวลผลเพื่อระบุตำแหน่ง    ทันทีที่ Tag ส่งค่าไปที่เครื่องรับ  ซอฟท์แวร์ที่ต่อกับเครื่องรับจะทำการคำนวนค่าที่ได้รับ  […]

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และ IOT (Internet of Things)

IOT (Internet of Things) หมายถึงการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้  เหมือนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน  เช่น คอมพิวเตอร์  หรือโทรศัพท์มือถือเป็นต้น  ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยี IOT ไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท  และมีการนำไปใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   มีการประมาณการณ์ว่า  ปลายปี 2020 จะมีอุปกรณ์ IOT มากถึง 31,000 ล้านชิ้น  ในขณะเดียวกัน เครือข่ายอินเตอร์เนตก็มีการใช้งานแพร่พลายมากขึ้น  พร้อมทั้งอุปกรณ์ wifi ทั้งหลายก็จะมีราคาที่ถูกลง  ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยี IOT มาใช้มากขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์สามารถต่อเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี IOT ได้อย่างง่ายดาย  เพียงเพราะว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีแหล่งจ่ายไฟในตัว  ซึ่งอาจจะเป็นแบตเตอรรี่ในตัว  หรือแหล่งจ่ายไฟบ้านตามปกติ   ทันทีที่มีการจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์เหล่านี้  อุปกรณ์เหล่านี้สามารถที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนทได้  ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย  หรือการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิ้ล  และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง IOT ได้อย่างง่ายดาย จากที่กล่าวข้างต้น  IOT หมายถึงการทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างสามารถที่จะเชื่อมต่อกันผ่านระบบอินเตอร์เนทได้ […]

ประเภทอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สำหรับรถยนต์

เนื่องจากรถยนต์มีลักษณะการใช้งานที่เฉพาะตัว  ดังนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่นำมาใช้กับรถยนต์ จำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพการใช้งานของรถยนต์ด้วย เช่น  ต้องทนต่อแสงแดด  ทนความร้อน เป็นต้น   จากประสบการณ์ของบริษัทไอเดนทิไฟจำกัด  พบว่า ปัจจุบันอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ที่ใช้สำหรับรถยนต์ มีรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาร์เอฟไอดีแท๊กสำหรับกระจกมองหลัง (RFID Windshield Tag)  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ประเภทนี้จะติดอยู่ที่ด้านในหรือด้านนอกของตัวรถยนต์ก็ได้  แต่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  จำเป็นต้องออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษสำหรับการอ่านบนวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นกระจก  นอกเหนือจากความสามารถในการอ่านแล้ว  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวจำเป็นต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวติดนอกรถ  อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ต้องทนต่อความร้อน และรังสียูวีจากแสงแดด  รวมทั้งความชื้น  นอกจากนั้นอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ดังกล่าวจำเป็นระบบความปลอดภัย  เช่นป้องกันไม่ให้ลอกหรือแกะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID […]

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) กับระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS)

แนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Production System, LPS) จะให้ความสำคัญในการลดทรัพยากร  รวมทั้งเวลาที่ใช้ในกิจกรรมการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดพฤติกรรมใดใดที่ไม่ได้ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต (non value added activities) หรือก่อให้เกิดความสูญเสีย (waste)  และกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิต  ในแนวคิดของการผลิตแบบลีนนั้น กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ การผลิตสินค้ามากเกินไป (overproduction)  การผลิตสินค้ามากเกินความต้องการจะก่อให้เกิดความสูญเสียในทุกกิจกรรมของการผลิต  รวมถึงเวลาที่ต้องจัดเก็บสินค้าเหล่านั้น การหยุดรอ  (waiting) การที่จะต้องหยุดรอชิ้นส่วน หรืองานต่าง ๆ จากการกระบวนการผลิตขั้นก่อนหน้า  จะทำให้เกิดความสูญเสียในด้านเวลาที่เสียไป การขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้า (transport)  การที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น  ทำให้เกิดความสูญเสียในกิจกรรมการขนย้าน    กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม (inappropriate processing)  กระบวนการทำงานในลักษณะนี้จะเกิดจากขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อนเกินความจำเป็น  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งในด้านการขนส่ง และแรงงานที่ต้องทำงานในกระบวนการดังกล่าว สินค้าคงเหลือที่ไม่จำเป็น (unnecessary inventory)  ประกอบด้วยองค์ประกอบการผลิตที่ไม่ได้ใช้งาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสีย ในหลายด้าน ได้แก่  ต้นทุนในการจัดเก็บ คุณภาพของสินค้าที่เสียไปตามระยะเวลาในการจัดเก็บ กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (unnecessary motion)   การที่คนทำงานจำเป็นตัองเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในการผลิต สินค้ามีตำหนิ […]

การวิเคราะห์การลงทุนระบบอาร์เอฟไอดี (Cost and Benefit Analysis – RFID Implementation)

ปัจจัยที่ประเมินเป็นตัวเลขได้ (Quantiafiable cost and benefits) ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost)  ในการติดตั้งระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในด้านซอฟท์แวร์ ซึ่งรวมถึง Middleware และค่าใช้จ่ายในด้านฮาร์ดแวร์  ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นประกอบด้วย  อุปกรณ์ในระบบอาร์เอฟไอดีได้แก่เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในกรณีของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้น จะครอบคลุมเฉพาะอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ใช้หมุนเวียนเท่านั้น (Reusable RFID Tag)  เนื่องจากว่าเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว   นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ทางด้านไอทีอื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ที่ต้องต่อเชื่อมกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นต้น  และในท้ายที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ ค่าใช้จ่ายแปรผัน (Variable cost) ค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  คือ ค่าใช้จ่ายของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID […]

การเลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID TAG SELECTION)

คลื่นความถี่   ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) ทำงานด้วยคลื่นวิทยุ  ที่ใช้ในการสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) และอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เปรียบเสมือนสถานีวิทยุที่ทำการส่งคลื่นความถี่วิทยุออกมา  ในขณะที่เครื่องวิทยุของเราก็เหมือนอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   การที่จะทำให้สถานีวิทยุสามารถสื่อสารกับวิทยุของเราได้  ก็จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เดียวกัน  ในกรณีของอาร์เอฟไอดี (RFID System) ก็เช่นเดียวกัน   จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบว่าเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ใช้คลื่นความถี่อะไร   เพื่อที่จะได้เลือกอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่อยู่ในความถี่เดียวกัน   ในปัจจุบันคลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  จะมีสามคลื่นความถี่ประกอบด้วย Low Frequency (LF) อยู่ในช่วง 30-300 kHz High Frequency (HF) อยู่ในช่วง 3-30 MHz Ultra High Frequency (UHF) อยู่ในช่วง 300-3000 MHz […]

NFC คืออะไร

NFC คืออะไร                  Near Field Communication (NFC) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์  เทคโนโลยีไร้สายที่นำมาใช้ใน NFC คือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ใช้คลื่นความถี่ 13.56 Mhz.  ซึ่งเทคโนโลยี NFC จะรองรับกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีตามรายละเอียดด้านล่าง NFC Forum Platform RFID Compatible NFC Forum Type 1 tag Innovision Topaz NFC Forum Type 2 tag Mifare UltralightMifare Ultralight C NFC Forum Type 3 tag Sony Felica NFC Forum Type 4 tag DESfireSmartMX Source: NFC […]

คุณลักษณะสำคัญของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) สำหรับงานอุตสาหกรรม

ปัจจุบันมีการนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น   อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่จะนำมาใช้งานในด้านนี้  นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่  คลื่นความถี่  มาตรฐานคลื่นวิทยุ   หน่วยความจำ  รูปแบบของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  และวิธีการติดอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นต้น   จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงความคงทนของ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เช่น อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ทนต่อสารเคมี  ความร้อนสูง  หรือ ป้องกันการติดไฟ  เป็นต้น  เนื่องจากว่า การนำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการความทนทานสูงนั้น  เช่นอุตสาหกรรมก่อสร้าง   พลังงาน  หรือการขนส่ง  เป็นต้น    จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงมาตรฐานความคงทนในด้านต่าง ๆ  เพิ่มเติม  โดยมาตรฐานหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย ATEX/IECEx certification มาตรฐานดังกล่าว  เป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในบริเวณที่มีความเสี่ยงอันตรายจากการระเบิด   ตามมาตรฐาน ATEX  จะแบ่งพื้นที่เป็น […]

ข้อคิดการตัดสินใจเลือกซื้ออาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

ตามที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีผู้ผลิตและจำหน่ายป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) อยู่มากมาย แต่มิได้หมายความว่า ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น จะมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน จะเห็นได้ว่า ผู้ใช้งานหลายรายจะพบปัญหาว่า ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) แต่ละอัน ได้ระยะการอ่านที่ไม่เท่ากัน ปัญหาข้างต้นทำให้ผู้ใช้งานไม่มีความมั่นใจในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID System) ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้รายละเอียดและความเข้าใจเกี่ยวกับป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) การผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) จะประกอบด้วบริษัทดังต่อไปนี้ คือ 1) ผู้ผลิต IC (Integrated Circuit)2) ผู้ผลิต RFID Inlay3) ผู้ผลิตป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label)4) ตัวจำหน่ายป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID Label) ต้นทุนของการทำแผ่นฟิล์มอาร์เอฟไอดี ในขั้นตอนสามารถแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้ IC ราคาประมาณ USD 0.029-0.04 แผ่นฟิล์ม ราคาประมาณ USD 0.01 ขั้นตอนการติด IC […]

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และบาร์โค๊ด

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) และบาร์โค้ด ในปัจจุบันมีการกล่าวกันอย่างแพร่หลายว่า   เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาแทนที่บาร์โค้ดในอนาคตอันใกล้  เนื่องจากว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) มีจุดดีกว่าบาร์โค้ดอยู่หลายประการ  แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีบาร์โค้ดก็มีจุดดีอยู่มากมายที่อาร์เอฟไอดี (RFID) ไม่สามารถที่จะทำได้  ดังนั้นความคิดว่าอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมาแทนที่บาร์โค้ด  จึงเป็นไปได้ยาก  บทนี้จะอธิบายให้เห็นถึงจุดดีและจุดเสียของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  และบาร์โค้ด  เพื่อชี้ให้เห็นว่า  เทคโนโลยีทั้งสองต่างมีจุดดีของตนเอง  และความเหมาะสมในการใช้งานแต่ละประเภท  แตกต่างกัน เทคโนโลยีบาร์โค้ด บาร์โค้ดคือ การพิมพ์สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงข้อความต่าง ๆ   โดยปกติการพิมพ์จะพิมพ์สัญลักษณ์เป็นเส้นตรง สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือจุด  โดยระยะห่างของแต่ละจุดจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง  เทคนิคในการแปลสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นข้อความต่าง ๆ เรียกว่า  Symbology   ซึ่งจะมีลักษณะหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ ·         การถอดรหัส  เทคนิคที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งต้องสามารถถอดรหัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และไม่มีข้อผิดพลาดในการถอดรหัส ·          ความเข้มของตัวอักษร  ถ้าตัวอักษรแต่ละตัวมีความเข้มมาก  ก็สามารถที่จะแสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย ·         ความสามารถในการตรวจสอบข้อผิดพลาด  ระบบ  Symbology ที่ดีจะต้องสามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้อง  […]

ข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี

ข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ถึงแม้ว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะมีจุดเด่นหลายประการตามที่กล่าวข้างต้น  อย่างไรก็ตาม  การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ  เนื่องจากว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสาร  ดังนั้นในการนำมาใช้งานย่อมมีข้อจำกัดต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะของคลื่นวิทยุ  ซึ่งสามารถแยกพิจารณาเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้ ·         ด้านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  o    วัตถุที่นำอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไปใช้งาน  วัสดุต่างชนิดกันย่อมมีผลต่อการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ต่างกัน  หากระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) นั้นใช้คลื่น  UHF หรือ  Microwave  และนำไปใช้กับวัตถุที่มีลักษณะดูดซับ  หรือสะท้อนคลื่นวิทยุ  เช่น น้ำ หรือวัสดุที่เป็นโลหะ  จะมีผลให้ความสามารถในการอ่านย่อมลดลงอย่างแน่นอน o    จำนวนของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในการอ่านแต่ละครั้ง  ถึงแม้ว่า เทคโนโลยีนี้สามารถที่จะอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  มากกว่าหนึ่งอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ในขณะเดียวกัน  แต่ถึงอย่างไรก็ตาม  การอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก […]

จุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technoogy)

จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) เมื่อมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงเทคโนโลยีบาร์โค้ด  ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีทั้งสองต่างก็มีจุดเด่นของตนเอง  ในกรณีของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) นั้น  จุดเด่นของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถที่จะแบ่งได้เป็นประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้ o         การไม่ต้องสัมผัส (Contactless) ลักษณะพื้นฐานอันหนึ่งของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) คือการที่อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลได้  ด้วยจุดเด่นนี้   ทำให้เทคโนโลยีนี้มีข้อได้เปรียบหลายประการ  ได้แก่ oเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ไม่มีการสึกหรอ  เนื่องจากไม่มีการสัมผัสระหว่างระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  ดังนั้นการสึกหรอของอุปกรณ์ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสจะไม่เกิดขึ้น oความเร็วในการทำงานไม่ลดลง  ในการทำงานปัจจุบันจะเห็นได้ว่า  หากใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการสัมผัส  บ่อยครั้งที่ทำให้กระบวนการทำงานช้าลง   ตัวอย่างเช่น การทำงานบนสายพาน  ซึ่งอุปกรณ์  หรือสินค้ามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด  การอ่านหรือบันทึกข้อมูลโดยการสัมผัสไม่สามารถที่จะเป็นไปได้ oความสามารถในการอ่านอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  พร้อมกันหลายอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) […]

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับ อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)

การสื่อสารกันระหว่างเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) กับอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID  Tag)  ก่อนที่กล่าวถึงรายละเอียดของการสื่อสารในแต่ละแบบ  อาณาเขตระหว่างเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) สามารถส่งสัญญาณคลื่นวิทยุได้ระยะสั้นเรียกว่า Near Field  ส่วนบริเวณที่ไกลออกไปเรียกว่า   Far Field  โดยปกติ Passive RFID ที่ใช้คลื่นความถี่  LF และ  HF จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณที่เรียกว่า  Near Field   ในขณะที่คลื่นความถี่  UHF หรือสูงกว่า  จะติดต่อสื่อสารกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ในบริเวณ  Far Field   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่สื่อสารในบริเวณ  Far Field สามารถที่จะติดต่อสื่อสารได้ในระยะที่ไกลกว่า ลักษณะการสื่อสารข้อมูลระหว่างอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) มีสามลักษณะคือ  Modulated […]

โครงสร้างของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)   ในการเขียนข้อมูลนั้นสามารถเรียกว่า  เป็นกระบวนการเริ่มตั้งค่าในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  เรียกว่า  Commissioning Tag  ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันการเขียนก็สามารถใช้เป็นการลบค่าได้เหมือนกัน  หรือการบันทึกข้อมูลใหม่ลงไปในอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ซึ่งเรียกว่า   Decommissioning tag   เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์อาร์เอฟไอดี (RFID)  และในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีประกอบด้วย ·         ส่วนการส่งข้อมูล  ส่วนนี้จะรับผิดชอบในการส่งสัญญาณจากเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader)  และรับสัญญาณจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) ที่ส่งกลับให้กับเสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) ·         ส่วนการรับข้อมูล  ส่วนนี้จะรับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) หลังจากได้รับข้อมูลจากอาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag)  นี้แล้ว  ส่วนนี้จะส่งข้อมูลต่อไปให้แก่ส่วนไมโครโปรเซสเซอร์ […]

โครงสร้างของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)

ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID)  เป็นระบบที่ประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้ดังต่อไปนี้ o       อาร์เอฟไอดีแท๊ก (RFID Tag) เป็นส่วนประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) o       เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) เป็นส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System) o       เสาอากาศของเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี  (RFID Reader) ในปัจจุบันเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) บางรุ่นมีการสร้างเสาอากาศรวมในตัวเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) o       กล่องควบคุม   ส่วนประกอบหลักอีกส่วนหนึ่งในระบบอาร์เอฟไอดี (RFID System)  ในปัจจุบันกล่องควบคุมนี้จะถูกสร้างรวมเข้าไปอยู่กับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID Reader) o       เซ็นเซอร์  หรืออุปกรณ์แสดงผล  อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ส่วนเสริมของระบบ o       ระบบซอฟท์แวร์  ในทางทฤษณีระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบส่วนนี้  แต่ในทางปฏิบัติแล้ว  ระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) แทบจะไร้ความหมาย ถ้าไม่มีระบบส่วนนี้ o       โครงสร้างการติดต่อสื่อสาร   ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบหลักของระบบอาร์เอฟไอดี (RFID) […]

คลื่นวิทยุมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. Low Frequency (LF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง 30 Khz  ถึง 300 Khz.  ในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) จะใช้คลื่น 125 KHz ถึง 134 KHz  ความสามารถในการส่งข้อมูลในคลื่นนี้ค่อนข้างช้า  แต่สามารถใช้งานได้ดีในวัสดุที่เป็นของเหลว  หรือโลหะ  จะเห็นได้จากตารางข้างต้น  วัสดุที่เป็นโลหะ หรือน้ำจะมีลักษณะเป็น   RF-friendly ต่อคลื่นความถี่นี้ 2. High Frequency (HF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  3 MHz ถึง 30 MHz  ความถี่  13.56 Mhzจะเป็นความถี่ที่มีการใช้งานมากทีสุดในเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)   เหมือนเช่นกับความถี่ LF ความถี่นี้จะใช้กับ  Passive tag  เป็นส่วนมาก  ความถี่นี้ใช้งานได้ปานกลางในวัสดุที่เป็นโลหะและของเหลว  และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล  เพราะความถี่นี้ไม่รบกวนอุปกรณ์ที่โรงพยาบาลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน 3. Ultra High Frequency (UHF) ความถี่นี้จะอยู่ในช่วง  […]

RFID (อาร์เอฟไอดี) คืออะไร

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID – Radio frequency identification) คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ  โดยอาศัยคลื่นวิทยุ  ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ  เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง  หรือการสแกนลายนิ้วมือ  เป็นต้น  ในส่วนนี้จะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID Technology) และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ คลื่นวิทยุกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency and RFID Technology) จากที่กล่าวในขั้นต้นว่า  เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) อาศัยคลื่นวิทยุในการทำงาน  ดังนั้นเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID)  สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง  คือคลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุ  (Radio frequency) เป็นคลื่น Electromagnetic ประเภทหนึ่ง  ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 0.1  ซม. ถึง 1,000 กม. หรืออยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hzและ 300 GHz    เมื่อเป็นคลื่นวิทยุจะเห็นได้ว่า  วัสดุที่นำใช้กับคลื่นวิทยุย่อมมีผลต่อการใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในวัสดุประเภทที่ที่คลื่นวิทยุสามารถผ่านได้สะดวกโดยไม่มีการสูญเสียพลังงาน […]